Daily News Thailand

เลี่ยงภาษี

-

หลีกเลี่ยงยื่นแบบเสียภาษีทุกประเภท จำาคุก 3 เดือน 7 ปี ปรับ 2 พันถึง 2 แสนบาท จากเดิม ปรับไม่เกิน 5 พันบาท จำาคุกไม่เกิน 6 เดือน ครอบคลุมถึงการยื่นขอคืนภาษีอันเป็นเท็จ หวัง สร้างมาตรฐานค­วามเท่าเทียมทางภาษี

ที่ทำาเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 16.30 น. วันที่ 17 มี.ค. พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำาเนิด รอง โฆษกประจำา­สำานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่าง แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (แก้ไขเพิ่มเติม เกี่ยวกับความผิดทางอาญา) เพื่อแก้ไขเพิ่มเติม บทบัญญัติที่มีเนื้อหาไม่สอดรับกับสภาพปัญหา ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และสร้างความไม่เป็น ธรรมเกี่ยวกับสภาพบังคับทางกฎหมาย รวมทั้ง แก้ไขบทบัญญัติบางมาตราที่ขาดความชัดเจน จนทำาให้เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมและกา­ร บังคับใช้ตามกฎหมาย

ทั้งนี้ มีรายงานข่าวจากทำาเนียบรัฐบาล แจ้งด้วยว่า สำาหรับสาระสำาคัญของการแก้ไข กฎหมายดังกล่าว จะเป็นการเพิ่มโทษของผู้ เจตนาละเลย­ไม่ไปยื่นแบบแสดงรา­ยการ หลีก เลี่ยงภาษีอากรทุกประเภท เพื่อให้เป็นโทษ เดียวกับมาตรการ 37 คือ ต้องระวางโทษ­จำาคุก ตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 2 แสนบาทจากเ­ดิมที่กำาหนดอยู่ใน มาตรา 37 ทวิ ระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือจำาคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งจำาทั้ง ปรับ รวมทั้งยังกำาหนดให้ผู้ขอคืนภาษีอากรที่ เป็นเท็จหรือไม่ถูกต้อง จะต้องถูกระวางโทษ ตามมาตรา 37 ด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ยังได้แก้ไขเพิ่มเติมบท กำาหนดโทษเ­กี่ยวกับการหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่า เพิ่ม เพื่อให้ครอบคลุมถึงการขอคืนภาษีมูลค่า เพิ่มอันเป็นเท็จด้วยเช่นกัน จากเดิมที่ตาม มาตรา 90/4 (6) ระบุให้ลงโทษสำาหรับผู้ ประกอบการจ­ดทะเบียน โดยเจตนาหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ กระทำาการใ­ดโดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรือ อุบายหรือโดย วิธีการอื่นใดโดยทำาน­องเดียวกัน ซึ่งคำาว่าเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยง ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นถ้อยคำาที่อาจให้ความหมาย ได้อย่างกว้างขวางและไ­ม่ครอบคลุมถึงความ ผิดสำาหรับการทุจริตในการขอคืนภาษีมูลค่า เพิ่มที่เป็นเท็จ

ขณะเดียวกันยังแก้ไขเพิ่มเติมกรณีไม่ ปฏิบัติตามมาตรา 69 โดยการฝ่าฝืนหน้าที่ใน การแนบเอกส­าร พร้อมการยื่นแบบแสดง รายการภาษี ต้องระวางโทษ­ปรับ เนื่องจาก มาตรา 69 บัญญัติให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลยื่นแบบแสดงรา­ยการภาษีพร้อมด้วย บัญชีงบดุลบัญชีทำาการ บัญชีกำาไรขาดทุน บัญชีรายรับ รายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหัก รายจ่ายที่มีผู้สอบบัญชีภาษีอากรตามมาต­รา 3 สัตต ทำาการตรวจ­สอบและรับรอง แต่ไม่มี บทบัญญัติใดในประมวล­รัษฎากรกำาหน­ด มาตรการบังคับ สำาหรับการไม่ปฏิบัติตาม เงื่อนไขดังกล่าว จึงทำาให้มาตรา 69 ขาดสภาพ บังคับในทางกฎหม­าย.

Newspapers in Thai

Newspapers from Thailand