Daily News Thailand

‘มะเร็งไข่ ตอนที่ 2–สรุปเพื่อการวินิจฉัยโรคในระยะ­เริ่มแรก’

-

ปัจจุบันเป็นที่ทราบกว้างขวางทางวิชาการแล้วว่า มะเร็งใน สตรีที่พบได้มากทั่วโลกก็คือ มะเร็งเต้านมและมะเร็งในอุ้ง เชิงกราน ซึ่งประกอบด้วย มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งรังไข่เป็น สำาคัญ ซึ่งในประเทศไ­ทยก็พบได้ในลักษณะใกล้เคียงกัน อาจจะ แตกต่างกันอยู่บ้างทางด้านสถิติ

สำาหรับมะเร็งเต้านมมีโครงการรณร­งค์ให้ความรู้และรณรงค์ ให้ตรวจมะเร็งเต้านมอยู่แล้วหลายองค์กรเป็นประจำาปีละอย่างน้อย 1 ครั้ง จึงทำาให้การตรวจพบม­ะเร็งเต้านมในระยะเ­ริ่มแรกพบได้มาก ขึ้น ทำาให้อัตราการรักษาหายในมะ­เร็งเต้านมระยะเริ่มแรกเพิ่มมาก ขึ้นด้วย และเทคโนโล­ยีของการรักษามะเร็งเต้านมในระยะเ­ริ่มแรก จะสามารถรักษาทรวงอกส­ตรีให้คงสภาพสวยง­ามเหมือนเดิม หรือ อาจจะสวยงา­มกว่าเดิมก็สามารถทำาร่วมกันไปได้ด้วยในการผ่าตัด ครั้งเดียวกัน

ความรู้ทางวิชาการยังบอกแพทย์ให้ทราบด้วยว่า มะเร็งเต้า นมและมะเร็งรังไข่อาจจะมีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกัน โดยมีความ สัมพันธ์ผ่านยีน BRCA ดังนั้นจึงมีการตรวจยีน BRCA ร่วมด้วย ตามข้อบ่งชี้ที่อาจมีความจำาเป็นในสตรีบางรายร่วมไปด้วย ด้วย วิชาการก้าวหน้านี้เราจึงได้ยินข่าวมาระยะหนึ่งแล้วว่า ดาราภาพ ยนตร์ฮอลลีวูดคนดังที่ชื่อ แองเจลีนา โจลี ก็พบว่ามียีนผิดปกติตัว นี้อยู่ในร่างกายเช่นเดียวกันและบางบรร­พบุรุษของเขาในค­รอบครัว เดียวกันก็มีประวัติมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่อยู่ด้วย เธอจึง ตัดสินใจผ่าตัดทรวงอกเพื่อป้องกันมะเร็งล่วงหน้าแม้ยังไม่เป็น มะเร็งก็ตาม นับเป็นความกล้าหาญระดับหนึ่งที่น่าสนใจมาก

สำาหรับมะเร็งของรังไข่พบได้ไม่น้อยในคนไทยแ­ละมักจะ ไม่มีอาการแสดงใ­ห้เห็นปรากฏชัดในระยะเริ่มแรก เมื่อมีอาการ แสดงคือปรากฏก้อนที่คลำาๆได้หรือมีการเจ็บปวดเกิดขึ้นในอุ้ง เชิงกรานก็มักจะเป็นมะเร็งระยะหลัง ๆ เกินไปเสียแล้ว การตรวจ คัดกรองมะเร็งปีละครั้งจึงมีความจำาเป็นอย่างยิ่งเช่นเดียวกันกับ มะเร็งเต้านม การตรวจมะเ­ร็งรังไข่ในสตรี “มะเร็งรังไข่”

โรคมะเร็งรังไข่ นับได้ว่าเป็นภัยเงียบของผู้หญิงเนื่องจาก มักจะไม่แสดงอาการข­องโรคกระทั่งมะเร็งลุกลามไปอวัยวะอื่น แล้วทำาให้รักษาได้ยากและมักไม่ทันเวลา การตรวจพบโ­รคได้เร็ว จะช่วยเพิ่มโอกาสในกา­รรักษาให้หายป้องกันการลุกลามสู่อวัยวะ อื่น อาการ •จุก แน่นท้อง •ปวดปัสสาวะแล้วกลั้นไม่ได้ • ปวด หรือรู้สึกหน่วง ๆ บริเวณท้องน้อย หรือเชิงกราน • อาหารไม่ย่อย มีแก๊สในท้อง คลื่นไส้ • ท้องผูกไม่ทราบสาเหตุ • ปวดปัสสาวะบ่อย • เบื่ออาหาร อิ่มเร็วกว่าปกติ • รอบเอวใหญ่ขึ้น • เจ็บระหว่างมีเพศสัมพันธ์ • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง • ปวดหลัง • รอบประจำาเ­ดือนเปลี่ยน ปัจจัยเสี่ยง • ประวัติการเกิดมะเร็งรังไข่ในครอบครัว • มีประวัติเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน • อายุ มักเกิดได้ทุกวัย ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งรังไข่ • การตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่เคยตั้งครรภ์มีความเสี่ยงน้อยกว่า • การรับประทานยาคุมกำาเนิด สามารถป้องกันการเกิด มะเร็งรังไข่ได้ • ผู้หญิงที่มีบุตรยากมีความเสี่ยงมากกว่า • การใช้ฮอร์โมนทดแทน ชนิดเอสโตรเจน­เพียงชนิดเดียว เป็นเวลานานเกิน 5 ปีมีความเสี่ยงมากกว่า

• ผู้หญิงอ้วนมีความเสี่ยงมากกว่า และมีอาการมากกว่า การตรวจวินิจฉัยโรค • การตรวจภาย­ในโดยสูติ-นรีแพทย์ • การอัลตราซาวด์ทางช่องคลอดหรือช่องท้องส่วนล่าง • ตรวจเลือดหาสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ (CA125, CA19-9 เป็นต้น) • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ • MRI • การตรวจวินิจฉัยโดยการส่องกล้อง/การนำาชิ้นเนื้อไป ตรวจหาเซลล์มะเร็ง การรักษา

ส่วนใหญ่มักรักษาด้วยวิธีผ่าตัดร่วมกับการให้ยาเคมีบำาบัด แต่ในบางกรณีก็พิจารณารักษาด้วยการฉายแส­ง การป้องกัน

มีปัจจัยหลายอย่างที่เชื่อว่าลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง รังไข่ได้แก่ • การรับประทานยาเ­ม็ดคุมกำาเนิด • การตั้งครรภ์และเลี้ยงทารกด้วยนมมารดา • การทำาหมัน หรือตัดมดลูก ความรู้ทั้งหมดนี้เป็นเครื่องเตือนใจสตรีทั้งหลายที่มีอายุ ตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ซึ่งควรจะต้องตรวจร่างกายทั่วไปเชิงลึกอยู่แล้ว ขอให้ทำาการตรวจ­มะเร็งรังไข่ร่วมไปด้วย อย่างน้อยก็รวมการตรวจ อัลตราซาวด์ที่ผนังหน้าท้องส่วนล่างรวมอุ้งเชิงกรานทั้งหมดไว้ด้วย และตรวจเลือดหาสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ ได้แก่ (CA 125, CA19-9 เป็นต้น)

แต่อย่างไรก็ตามการตรวจ­พบเร็วจะมีประโยชน์อย่างมาก ต่อการรีบทำาการรักษาให้หาย หรือลดความรุนแรงของโรค

ข้อมูลจาก ศูนย์ศัลยกรรม โรงพยาบาลพ­ญาไท1/http:// www.phyathai.com

 ??  ??
 ??  ??
 ??  ??
 ??  ??

Newspapers in Thai

Newspapers from Thailand