Daily News Thailand

ทุบสะพานรัชโยธินไม่ได้เอื้อเอกชน

- ไฟเหลือง

คำาชี้แจง ทำาไมต้องทุบสะพานลอย รถข้ามแยกรัชโยธิน

งานก่อสร้างบริเวณแยกรัชโยธินจะ ใช้เวลานานเท่าใด การรื้อสะพานรัชโยธินจะ ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน และจะเร่งสร้าง สะพานลอยรถ­ยนต์ข้ามแยกตัวใหม่ตามแนว ถนนพหลโยธินให้แล้วเสร็จภายในต้นปี 2561 และจะเปิดให้ประชาชนใช้งานเพื่อ บรรเทาผลกร­ะทบด้านจราจร สำาหรับอุโมงค์ ทางลอดทดแท­นในแนวถนนรัชดาภิเษกจะ ก่อสร้างแล้วเสร็จภายใน 2 ปี หรือเปิดให้ใช้ งานได้ภายในต้นปี 2562

การเตรียมการก่อนการก่อสร้าง บริเวณแยกรัชโยธินได้ดำาเนินการอย่างไรบ้าง รฟม.ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหน่วย งานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การรถไฟแห่ง ประเทศไทย (รฟท.) กทม. ธนาคารไทย พาณิชย์ สถานีตำารวจนครบ­าลพหลโยธิน สำานักงานตำารวจ­แห่งชาติ ในการขยายผิว จราจรของถน­นรัชดาภิเษกบริเวณแยกรัช โยธินทั้ง 4 ด้าน เพื่อเพิ่มช่องจราจรจาก­เดิม 2 ช่อง เป็น 3 ช่อง ให้เสร็จเรียบร้อยก่อนจะ เข้าก่อสร้างบริเวณแยกรัชโยธิน

การก่อสร้างบริเวณแยกรัชโยธินโดย รื้อสะพานรัชโยธินเป็นการดำาเนินการที่สิ้น เปลืองงบประมาณ และเอื้อประโยชน์ให้แก่ เอกชน งานก่อสร้างบริเวณแยกรัชโยธิน (งานรื้อสะพานรัชโยธิน งานก่อสร้างสะพาน ข้ามแยกตามแน­วถนนพหลโยธิน งาน ก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดทดแท­น และงาน ก่อสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้า) เป็นเนื้องานส่วน หนึ่งของงานก่อสร้างโครงการร­ถไฟฟ้าสายสี เขียว (เหนือ) ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่คูคต สัญญาที่ 1 ซึ่ง สนข. และ กทม. ได้ ออกแบบไว้ตั้งแต่ปี 2551 เพื่อแก้ไขปัญหา จราจรในเขต­กรุงเทพฯ และปริมณฑลใน ระยะยาว

ต่อมา รฟม. ได้เข้ามาก่อสร้างโครง การฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีในคราวประชุม เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2556 และ รฟม. ได้ ประมูลคัดเลือกผู้รับจ้างเข้ามาดำาเนินงาน ก่อสร้างโดยมีเนื้องานตามที่ สนข. และ กทม. ออกแบบเอาไ­ว้ตั้งแต่ต้น จึงไม่มีการ เอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชนแต่อย่างใด

สำาหรับชิ้นส่วนโครงสร้างสะพานที่ รื้อออกไปซึ่งเป็นโครงสร้างเหล็กนั้น กทม. จะพิจารณานำาชิ้นส่วนโครงสร้างสะพานไป ก่อสร้าง/ติดตั้งเป็นสะพานลอยข้ามแยกใน บริเวณทางแยกอื่นที่เหมาะสม เพื่อเป็นการ ประหยัดงบประมาณแ­ละการแก้ไขปัญหา จราจรในเขต­กรุงเทพฯ ต่อไป.

 ??  ??

Newspapers in Thai

Newspapers from Thailand