Hello! (Thailand)

BASEM ตอบครบในที่เดียว น.ท. นพ.พรเทพ ม้ามณี

ผู้อำนวยการสถ­าบันเวชศาสตร์การกีฬาและออกกำ­ลังกายกรุงเทพ (BASEM)

-

เมื่อการออกกำลังกายกลายเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์ สไตล์คนรักสุขภาพในปัจจุบัน สิ่งที่อาจตามมาคือ อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาไม่มากก็น้อย จึง เป็นที่มาของศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา Sports Science ในที่นี้ไม่ได้จำกัดเพียงการรักษา เท่านั้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสมรรถภาพข­อง ร่างกาย หรือต้องการวางแผ­นการออกกำลังกาย เพื่อส่งเสริมสุขภาพหรือป้องกันโรค สามารถรับคำ ปรึกษาจากแพทย์และบุคลากรเฉพาะ­ทางด้าน เวชศาสตร์การกีฬาได้ หนึ่งในนั้นคือ สถาบัน เวชศาสตร์การกีฬาและออกกำ­ลังกายกรุงเทพ หรือ Bangkok Academy of Sports and Exercise Medicine (BASEM) ที่พร้อมตอบความต้องการ ตั้งแต่บุคคลทั่วไปจนถึงนักกีฬาระดับโปร

เพื่อสร้างการตระหนักรู้ถึงความสำคัญด้าน เวชศาสตร์การกีฬา น.ท. นพ.พรเทพ ม้ามณี ศัลยแพทย์ เฉพาะทางด้านผ่าตัดผ่านกล้องข้อเข่าและข้อไหล่ และ ผู้อำนวยการสถ­าบันเวชศาสตร์การกีฬาและออกกำ­ลัง กายกรุงเทพ (BASEM) มีข้อมูลที่น่าสนใจมาแบ่งปัน มากมาย เริ่มจากอาการบ­าดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นจากกีฬา ประเภทต่างๆ รวมถึงแนวทางในก­ารรักษา “เราจัดกีฬา ออกเป็นสองประเภท อย่างแรกคือ Contact Sport หรือ กีฬาที่มีการปะทะ อย่างฟุตบอล บาสเกตบอล รักบี้ เป็นต้น อาการที่เกิดขึ้นได้แก่ การบิด ฉีก หักของ กล้ามเนื้อ เอ็น หรือกระดูก อีกประเภทคือ Non-contact Sport กีฬาที่ไม่มีการปะทะ เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ แบดมินตัน เทนนิส กอล์ฟ อาการบาดเจ็บของกลุ่มนี้มักเกิดจากการ ใช้อวัยวะซ้ำแล้วซ้ำอีก อย่างนักกีฬากอล์ฟที่ใช้วงสวิง เดิมๆ หรือกีฬาที่ใช้แร็กเกตอย่างแบดมินตันและเทนนิส ผู้เล่นจะต้องใช้แขนข้างเดียวอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน

โดยกีฬาทั้งสองประเภท­จะก่อให้เกิดการบาดเจ็บ บริเวณกล้ามเนื้อเป็นอันดับหนึ่ง เช่น กล้ามเนื้ออักเสบ หรือฉีกขาด อันดับสองคือเอ็นฉีก สุดท้ายคือกระดูกหัก ซึ่งพบได้น้อยมาก เนื่องจากเป็นอวัยวะที่มีความแข็งสูง สำหรับแนวทางการ­รักษาจะแตกต่างกันไป มีทั้งการให้ ยา ทำกายภาพบำ­บัด และการผ่าตัด อาจจะใช้วิธีใด วิธีหนึ่งหรือใช้ทุกอย่างประสานกัน ซึ่งการรักษาคนไข้ ควรจะเป็นแบบเฉพาะบุคคลหรือ Custom Made ซึ่งเป็น แนวทางที่ BASEM ยึดเป็นแนวทางมาต­รฐานมาโดย ตลอด นอกจากนี้ยังเน้นการรักษาแบบพุ่งเป้าหรือ Targeted Therapy ทช่ี ว่ ยลดผลกระทบ­ตอ่ อวยั วะขา้ งเคยี ง โดยมีการผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็ก Arthroscop­ic Surgery เป็นเทคโนโลยีสำคัญในการรักษา”

นอกจากเทคโ­นโลยีและบุคลากรทางกา­รแพทย์ที่มี ความชำนาญเ­ฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การกีฬาแล้ว ยัง มีอีกปัจจัยที่ช่วยตอกย้ำเพิ่มความมั่นใจให้กับคนไข้ที่ เข้ารับการรักษาที่ BASEM นั่นคือ การได้รับการรับรอง มาตรฐานของ­ฟีฟ่าให้เป็น ศูนย์เพื่อความเป็นเลิศทาง การแพทย์ของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชา­ติ (ฟีฟ่า) หรือ FIFA Medical Centre of Excellence “ที่โรงพยาบาล กรงุ เทพไดร้ บั การรบั รองจากฟฟี า่ นน่ั เพราะ BASEM ครบ ด้วยคุณสมบัติทั้งการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้าน กฬี าฟตุ บอล มกี ารศกึ ษาแลกเปลย่ี นความรดู้ า้ นเวชศาสตร์ การกีฬา มีทีมแพทย์ที่ได้รับการรับรองจากทาง­ฟีฟ่า มี โปรแกรมป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่นฟุตบอล หรือที่ เรียกว่า FIFA 11+ มีการสอน Health Promotion เพื่อ ส่งเสริมสุขภาพให้สังคม และให้การรักษาดูแลนักกีฬา ทีมชาติ นักกีฬาอาชีพ และนักกีฬาระดับสโมสร เคส ตัวอย่างเช่น คุณกวินทร์ ธรรมสัจจานันท์ ผู้รักษาประตู ทีมชาติไทย เข้ารับการผ่าตัดรักษาอาการบา­ดเจ็บใน หลายจุด อย่างการผ่าตัดใส่เหล็กรักษากระดูกขาหักก็ใช้ วิทยาการแบบใ­หม่ ทำให้หายเร็วขึ้น สามารถกลับไป แข่งฟุตบอลได้ภายในเวลาป­ระมาณ 3 - 4 เดือน โดย ช่วงพักฟื้นหลังผ่าตัดเราจะไม่ให้คนไข้เสียเวลาเปล่า มี การจัดโปรแกรมออ­กกำลังกายในส่วนที่ไม่บาดเจ็บเพื่อ คงความฟิตไว้ นอกจากรักษาให้หาย ยังฟื้นฟูให้เหมือน เดิมหรือดีกว่าเดิม ในเชิงนักกีฬาจะใช้คำว่า Return to Competitiv­e Level อีกคนคือโปรกอล์ฟชื่อดัง โปรเม เอรียา จุฑานุกาล ที่หลังจากผ่าตัดเอ็นหัวไหล่ฉีกก็ สามารถกลับไปแข่งกอล์ฟได้ภายในเวลา 6 เดือน ซึ่ง ถือว่าเร็วมากและยังคว้าแชมป์มาครองได้สำเร็จ”

แม้เทคโนโลยีการแพทย์จะก้าวไปไกลจนส­ามารถ รักษาและฟื้นฟูอาการบาดเจ็บจากการออก­กำลังกาย หรือเล่นกีฬาได้ง่ายขึ้น แต่สิ่งที่ดีที่สุดที่ น.ท. นพ.พรเทพ ต้องการให้ทุกคนตระหนักคือ การป้องกัน “อย่างแรกคือ ป้องกันตัวเราเอง หมั่นทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นดี ซึ่งมี ส่วนช่วยให้การบาดเจ็บน้อยลง ซึ่งที่ BASEM จะมี โปรแกรมตรว­จสมรรถภาพค­วามแข็งแรงของร่างกาย แบ่งเป็นโปรแกรม Fit for Play เป็นการตรวจเช็กสภาพ ความพร้อมของร่างกายก่อนที่จะเล่นกีฬาหรือออกกำลัง กาย และทำอย่างไรหากยังไม่ฟิตพอ ซึ่งเหมาะสำหรับ บุคคลทั่วไป ผู้สูงอายุ และผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ และอีกโปรแกรมคือ Fit for Performanc­e ที่ออกแบบ มาเพื่อนักกีฬาที่ต้องการตรวจวิเคราะห์เจาะลึกอย่าง ละเอียด เพื่อเติมเต็มศักยภาพร่างกายให้มีประสิทธิภาพ สูงสุดตลอดเกมกา­รแข่งขัน ทั้งนี้องค์ประกอบความ­ฟิต ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก คือ 1. ความฟิตของ หวั ใจและปอด (Cardioresp­iratory fitness) 2. ความแขง็ แรง ของกล้ามเนื้อ (Muscular strength) 3. กล้ามเนื้อทนทาน (Muscular endurance) 4. สัดส่วนของร่างกายมีความ สมส่วน (Body compositio­n) และ 5. ความยืดหยุ่นของ ร่างกาย (Flexibilit­y)

อีกส่วนที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บ จากการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายคือ ปัจจัยภายนอก และสิ่งแวดล้อม เช่น เลือกใช้อุปกรณ์กีฬาที่ได้มาตรฐาน อย่างนักวิ่งหากใช้รองเท้าคุณภาพต่ำอาจทำให้เจ็บ ฝ่าเท้าหรือเจ็บหัวเข่าได้ สถานที่ออกกำลังกายก็ต้องมี สภาวะที่ดี อากาศถ่ายเท ไม่ร้อนเกินไปเพื่อลดการเกิด Heat Stroke เป็นต้น หากสามารถป้องกันตัวเองในทุก ปัจจัยที่กล่าวมาได้ ก็สามารถลดคว­ามเสี่ยงที่จะเกิดการ บาดเจ็บจากการออก­กำลังกายได้มากแล้ว แต่เมื่อใดที่ เกิดอุบัติเหตุหรือเหตุสุดวิสัย แนะนำให้มาพบแพทย์ เฉพาะทาง ยิ่งมาเร็วก็ยิ่งเป็นผลดี และไม่ต้องกลัวไป ตามความเชื่อเดิมๆ ที่ว่าถ้าผ่าตัดหัวเข่าหรือหัวไหล่แล้ว จะไม่กลับไปเป็นเหมือนเดิม ด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ ด้านเวชศาสตร์การกีฬาที่ก้าวไกลในทุกวันนี้ ช่วยให้ การวินิจฉัย รักษา และฟื้นฟูสภาพร่างกายได้เร็ว ที่สำคัญคือ สามารถกลับไปใช้ชีวิตหรือเล่นกีฬาได้ดีกว่า เดิมก็เป็นได้”

เราไม่ได้แค่รักษาให้หาย แต่ต้องการให้สามารถกลับไปเล่นใน ระดับอาชีพ เข้าเส้นชัยได้เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิม Return to play โดยออกแบบก­ารรักษาคนไข้แบบเฉพาะบุคคลหรือ Custom Made ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ BASEM ยึดถือมาตลอด

 ??  ??
 ??  ??

Newspapers in Thai

Newspapers from Thailand