Hello! (Thailand)

THE YOUNG ACHIEVERS 2019:

ธนพนธ์ เบญจรงคกุล กับภารกิจนำพาธุรกิจให้อยู่ต่อไปอีก 100 ปี

-

ใน พ.ศ.2563 ธุรกิจของครอบครัว ‘เบญจรงคกุล’ ภายใต้กลุ่มบริษัท ‘เบญจจินดา’ จะก้าวเข้าสู่ ทศวรรษที่ 6 อย่างน่าภาคภูมิ แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ สมาชิกครอบครัวทั้ง 3 เจเนอเรชั่นต่างผ่านร้อนผ่าน หนาว ผ่านอุปสรรคและบท­พิสูจน์ความสามารถ­ที่ ท้าทายแตกต่างกันไปตามยุคสมัยของตัวเอง

สำหรบั คณุ บก๊ิ -ธนพนธ์ เบญจรงคกลุ บตุ รชายคนโต ของคุณสมชาย เบญจรงคกุลกับคุณรัตนาภรณ์ ศรีธารา เขาจากเมืองไทยไปเรียนที่เมลเบิร์น ประเทศ ออสเตรเลีย เติบโตและใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นตั้งแต่ 7 ขวบ กระทั่งเรียนจบปริญญาโท ทำงานที่รักอยู่หลายปี ก่อน ตัดสินใจย้ายกลับมาอยู่เมืองไทยถาวรเ­พื่อดูแลคุณแม่ ที่กำลังป่วย

ดูเหมือน ‘ความยาก’ จะต้อนรับการกลับมาของ คุณบิ๊กที่ต้องเผชิญความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของ ชีวิตในทุกด้าน โดยเฉพาะกา­รทำงานในธุรกิจ ครอบครัวที่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ สวนทางกับปณิธาน ที่เจ้าตัวตั้งไว้ว่าจะต้องรักษาธุรกิจที่บรรพบุรุษสร้างไว้ และต่อยอดความสำ­เร็จให้เติบโตต่อไปในฐานะที่เขา เป็นสายเลือด ‘เบญจรงคกุล’ คนหนึ่งให้ได้

รากฐานที่มั่นคง

คณุ สจุ นิ ต์ - คณุ กาญจนา เบญจรงคกลุ กอ่ ตง้ั บรษิ ทั ยูไนเต็ด คอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี หรือ ‘ยูคอม’ เมื่อ พ.ศ.2499 ทำธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์โทรคมนาคมใ­ห้กับ องค์กรในสังกัดราชการ ครองตำแหน่งซัพพลายเออร์ รายสำคัญ นอกจากนี้ยังทำอีกหลายกิจการควบคู่ไป ด้วย ได้แก่ โรงแรมนารา­ยณ์ บริษัทนารายณ์สากล ประกันภัย และธุรกิจห้องเย็น

“พอถงึ เจเนอเรชน่ั 2 คณุ ลงุ (คณุ บญุ ชยั เบญจรงคกลุ ) ทำให้บริษัทเราเป็นที่จดจำในฐานะ­เจ้าของ ‘ดีแทค’” คุณบิ๊กหมายถึงผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ อันดับสองของประ­เทศ ต่อมาต้องเผชิญวิกฤติ เศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 จึงขายหุ้นบางส่วนให้บริษัท เทเลนอร์ ยกั ษใ์ หญด่ า้ นการสอ่ื สารจากประเ­ทศนอรเ์ วย์ หลายปีต่อมาหากจำกันได้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้ง สำคัญในแวดวงธุรกิจการสื่อสาร เมื่อคุณบุญชัยใน ฐานะผู้นำของตระกูลตัดสินใจขายหุ้นยูคอมในมือทั้ง หมดให้บริษัท ไทย เทลโค โฮลดิ้งส์ ที่ตั้งขึ้นใหม่โดยมีผู้ ถอื หนุ้ ใหญ่ 2 ราย คอื บรษิ ทั เทเลนอร์ กบั กลมุ่ นกั ธรุ กจิ ไทยที่เกิดจากการรวม­กลุ่มของตระกูลเบญจรงคกุล บริษัท ฟินันซ่า และนักลงทุนเอกชนไทย ด้วยมูลค่า การซื้อขายกว่า 9 พันล้านบาท

“ทกุ วนั นย้ี งั มคี นอกี เยอะมากทเ่ี ขา้ ใจวา่ เบญจรงคกลุ ยังเกี่ยวข้องกับดีแทคอยู่ มีโทร.มาขอเบอร์เลขสวยจาก ผมอยู่เลยครับ” (หัวเราะ)

จากนั้นธุรกิจของครอบครัวอยู่ภายใต้บริษัท เบญจ จนิ ดา ทเ่ี ปน็ ผนู้ ำการใหบ้ รกิ ารดา้ นสอ่ื สารโทรคมนา­คม และเทคโนโล­ยีสารสนเทศใน­เมืองไทย มี 3 กลุ่มบริษัท ได้แก่ กลุ่มบริษัทเน็ตเวิร์กโซลูชั่น กลุ่มบริษัทบรอด แบรนด์ และกลุ่มบริษัทดิสทริบิวชั่น

‘เปิดใจ’ เรียนรู้

คุณบิ๊กจบปริญญาตรีด้าน Hospitalit­y Management จาก Box Hill Institute และปรญิ ญาโทดา้ นบรหิ ารธรุ กจิ กีฬาจาก Deakin University จากออสเตรเ­ลีย คุณวิชัย เบญจรงคกุล ผู้เป็นอาจึงส่งหลานชายไป­อยู่ฝ่ายบุคคล ให้ศึกษาโครงสร้างองค์กรและบุคลากรในแผน­กต่างๆ จะได้เข้าใจพื้นฐานของบริษัทเสียก่อน หลังจากนั้น คุณบิ๊กจึงย้ายไปอยู่ฝ่ายการตลาด ที่นั่นเขาได้ศึกษา สายงานด้านการให้บริการโทรคมนา­คมที่ต้องอาศัย ความรู้เฉพาะทาง โดยเฉพาะคำ­ศัพท์ทางวิศวกรรมที่ ใช้ในองค์กร ทั้งสองแผนกเป็นการวางราก­ฐานเพื่อให้ คุณบิ๊กได้รับหน้าที่สำคัญ ซึ่งถือเป็นทัพหน้าของบริษัท นั่นคือฝ่ายขาย

“ยากขึ้นกว่าเดิมอีกครับ” คุณบิ๊กบอกถึงความ รบั ผดิ ชอบลา่ สดุ ในบรษิ ทั ยไู นเตด็ อนิ ฟอรเ์ มชน่ั ไฮเวย์ บริษัทในเครือที่ให้บริการโทรคมนา­คมชั้นนำของ ประเทศไทย ได้รับสัมปทานการให้บริการสื่อสัญญาณ ความเร็วสูงให้กับองค์กรธุรกิจ พร้อมทั้งนำเทคโนโล­ยี และนวัตกรรมใหม่ๆ มาสนับสนุนการทำธุรกิจ รวมถึง การให้บริการโครงข่ายและดิจิตอลโซลูชั่นระดับ ภูมิภาคอาเซียน ปัจจุบันคุณบิ๊กทำหน้าที่นี้มาได้กว่า 2 ปีแล้ว

“6 เดือนแรก ผมมั่นใจในตัวเองน้อยมาก กลัวตอบ คำถามลกู คา้ ไดไ้ มช่ ดั เจนพอ เพราะนค่ี อื สง่ิ ใหมท่ ห่ี า่ งไกล กับชีวิตและความสน­ใจผมสมัยอยู่ที่เมลเบิร์นมาก เพราะผมเป็นมนุษย์กีฬามากกว่าผู้ชายไอที (ยิ้ม) ที่นั่น เทคโนโลยีหรือโซเชียลมีเดียไม่ทันสมัยเท่าที่นี่” แต่เขาก็ ยินดีและพร้อมเปิดใจรับประสบการณ์ใหม่ๆ

ในช่วงแรกคุณบิ๊กตามเซลคนอื่นๆ ไปพบลูกค้าเพื่อ สังเกตการทำง­านของทีมเซล ทว่า ‘ภาคทฤษฎีกับภาค ปฏิบัติ’ มักต่างกันเสมอ “มีเคสหนึ่งที่ผมจำได้ไม่ลืม คอื การไปพบลกู คา้ รายแรกๆ ซง่ึ เผอญิ เปน็ ลกู คา้ รายใหม่ ลูกค้าอาจไม่ได้สนใจว่าผมเป็นเซลคนใหม่ แต่พอเห็น นามสกุล เขาคาดหวังทันทีว่าผมต้องรู้ทุกอย่างมากกว่า พนักงานคนอื่น เพราะผมคือลูกหลานเจ้าของบริษัท แต่ ประสบการณ์ที่ยังน้อยในสายงาน­นี้ วันนั้นผมตอบไม่ได้ อยู่หลายคำถาม ทำให้ผมเสียโอกาสในกา­รขายและ บริษัทอาจเสียรายได้ที่ควรจะเพิ่มเข้ามา แต่โชคดีที่ ลูกค้ารายนี้เป็นเพื่อนคุณอา สุดท้ายเขาตกลงเ­ป็นลูกค้า เรา แต่ฟีดแบ็กการพบลูกค้าของผมครั้งนั้นก็ส่งตรงถึง คุณอาครับ”

คุณวิชัยไม่ได้ตำหนิหลานชาย ตรงกันข้าม เขาถาม คำถามง่ายๆ เช่น ‘วันนี้ไปหาลูกค้ารายไหน’ ‘จำชื่อ ลูกค้าได้ไหม’ ‘เขาทำธุรกิจอะไร’ แล้วให้เล่าถึงการออก ไปพบลูกค้าว่าเป็นอย่างไรบ้าง เพียงเท่านี้ คุณบิ๊กก็เห็น ถึงข้อผิดพลาดของตัวเอง “คำถามของคุณอาลงลึกใน รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ทำให้ผมรู้ว่าเราต้องใส่ใจ ลูกค้ามากกว่านี้ และพอผมเล่าถึงการทำงานข­องตัวเอง ก็เห็นเองเลยว่าเรายังเตรียมตัวไม่ดีพอ ทั้งการรู้จัก สินค้าและการรีเสิร์ชข้อมูลลูกค้าและธุรกิจของเขา นั่น เป็นบทเรียนที่ทำให้ผมทุ่มเททำการบ้านและใส่ใจหน้าที่ ของตัวเองมากขึ้น”

นี่ก็เป็นการส่งต่อประสบการณ์จากรุ่นสู่รุ่นของ สมาชิกในตระกูล “ในการทำงาน ผมใกล้ชิดคุณอา มากที่สุด เพราะท่านเป็นคนหลักที่ดูแลธุรกิจใน ปัจจุบัน คุณอาไม่บอกขั้นตอนการทำง­านว่าต้อง ทำยังไง ทุกคนมีอิสระในการทำ­งาน แต่ผมจะคอย สังเกต ดูการพูดจา การบริหารคน การบริหาร ธุรกิจ กระทั่งการบริหารเวลา ว่าคุณอาทำยังไง แล้วนำมาปรับใช้กับตัวเอง ส่วนคุณพ่อผมเริ่ม วางมือแล้ว แต่ถ้ามีอะไรก็ปรึกษาได้ตลอด กับ คณุ ลงุ เราคุยกันเรื่องงานศิลปะมากกว่า ท่านชอบ ชวนผมไปเล่นกับน้องข้าวหอม (ด.ช.ชีวกิตติ์ เบญจรงคกุล)”

‘รักและศรัทธา’ ในสิ่งที่ทำ

“เวลาเจอปัญหา ผมไม่ค่อยมองเป็นอุปสรรค เท่าไหร่ แต่จะหาข้อดีในสิ่งนั้นแทน อย่างตอนผม ทำฝ่ายบุคคลที่หลายคนมองเ­ป็นงานเอกสาร จำเจ และน่าเบื่อ แต่ผมกลับรู้สึกว่าเราได้เจอคนหลาก หลายเพราะโ­ดยหน้าที่ต้องคอยซัพพอร์ตฝ่ายต่างๆ ในบริษัท” นอกจากนี้คุณบิ๊กยังนำประสบกา­รณ์ การใช้ชีวิตในต่างแดนมาปรับใช้กับการทำงาน อีกด้วย

“การที่เราเป็นคนใหม่ก็ต้องทำความรู้จักกับ คนอน่ื เหน็ ใครกย็ ม้ิ ทกั ไปชงกาแฟเจ­อใครกช็ วนคยุ แรกๆ หลายคนอาจยังเกร็งๆ ทำตัวไม่ถูก แต่ผมก็ ทำตัวปกติ ยิ้มแย้ม ทักทายไปเรื่อย ใช้เวลาสักพัก เขาก็กล้าพูดกล้าคุยไปเอง พอทำงานด้วยกัน เหมือนเราได้รู้จักกันแล้ว ก็จะประสานงา­นกันง่าย ขึ้น เขากล้าพูดกล้าแสดงความเ­ห็นมากขึ้น ส่วน ระบบอาวุโสในสังคมไทย ผมก็เคารพผู้ใหญ่อย่าง ที่เด็กควรทำ แต่ถ้าในด้านการทำงาน ถึงผมเป็น หัวหน้าแต่ก็ไม่คิดว่าเราต้องเก่งและรู้ทุกอย่าง ดีกว่าลูกน้องเสมอไป กับลูกน้องในทีมเซลด้วยกัน บางทีผมก็ปรึกษาเขาว่าควรจัดโปรโมชั่นแบบไหน ให้ลูกค้าดี แนะนำผลิตภัณฑ์นี้ดีไหม เพราะเขาจบ ด้านนี้มาโดยตรง ผมมองว่าการทำงานเ­ป็นทีม ทุก คนพึ่งพาปรึกษาและช่วยเหลือกันได้เพื่อให้ผลงาน ที่ออกมาดีที่สุด”

สิ่งที่เป็นแรงพลังและกำลังใจสำคัญให้คุณบิ๊ก ฮึดสู้เสมอ นั่นคือสิ่งที่เจเนอเรชั่นที่ 2 ทำไว้เป็น แบบอย่าง

“การเริ่มต้นจากศูนย์ ต้องปรับตัวและเรียนรู้ ใหม่ทั้งหมดทุกสิ่งในการทำงา­น อีกปัญหาหลัก ของผมคือภาษา จำได้เลยว่าวันแรกที่ได้รับการ แจ้งยูสเซอร์เนมกับพาสเวิร์ดอีเมลพนักงานของผม เป็นข้อความภาษาไ­ทยไม่ยาวนัก แต่ผมใช้เวลาถึง 2 ชั่วโมงในการแ­กะตัวอักษร แกะเสียง เพื่อมา ประกอบเป็นคำแล้วหาความหมา­ย ความรู้สึกแวบ นึงผุดขึ้นมาว่า ‘จะไหวเหรอ’ แต่ก็บอกตัวเองว่า ต้องอดทน ต้องเรียนรู้ เพราะนี่คือสิ่งใหม่ในชีวิต สมัยคุณลุง คุณป้า คุณพ่อ และคุณอา ทุกคนก็ เรียนเมืองนอกและกลับมารับช่วงธุรกิจเหมือนผม สมัยนั้นอาจทำงานล­ำบากและกดดันกว่าผมด้วย

‘สงิ่ ทเี่ ปน็ ขอ้ ไดเ้ ปรยี บของบรษิ ทั เราคอื ชอื่ เสยี งและเกยี รตปิ ระวตั ทสี่ งั่ สมกนั มาตงั้ แตร่ นุ่ อากง จนถงึ ปจั จบุ นั ระยะเวลารว่ ม 60 ปที บี่ รษิ ทั ยนื หยดั มาได้ ทำให้ ลกู คา้ มนั่ ใจ เชอื่ ใจ และวางใจ ในการเลอื กเรา’

ซ้ำ แต่ทุกคนก็ผ่านมาได้ หรืออย่างคุณพ่อที่หลาย ครั้งที่ท่านก็ไม่ได้ทำในสิ่งที่ใจรักหรืออยากทำ แต่ ท่านก็ทำหน้าที่นั้นได้ดี ไม่มีวันไหนที่เห็นท่าน อ่อนแอหรือยอมแพ้” แล้วความเป็นนักสู้ใน สายเลือดที่ส่งผ่านดีเอ็นเอก็ทำให้คุณบิ๊กไม่เคย ถอดใจกับการนับหนึ่งของเขา

“แต่ตอนนี้ภาษาไทยผมดีขึ้นแล้วครับ (ยิ้ม)” คุณบิ๊กนึกขอบคุณคุณอาและพี่สาว (คุณศุภรัตน์ เบญจรงคกุล) ที่แนะนำให้ไปเรียนหลักสูตร DEF Digital Edge Fusion หลักสูตรพัฒนาการใช้สื่อ ดิจิตอลเชิงสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม นอกจากทำให้ได้ความรู้เพิ่มเติม ได้คอนเน็กชั่น แล้ว ยังเป็นการบังคับให้คุณบิ๊กได้ใช้ภาษาไทย ครบทุกทักษะ “ผมพอจะฟังและพูดภาษาไทยได้ แต่จะอ่านออกเฉพาะ­คำที่เห็นบ่อย อย่างป้ายถนน เส้นทางที่ผมผ่านประจำ อย่างวิภาวดี ดอนเมือง หลักสี่ ผมอ่านออก แต่ถ้าเป็นดาวคะนอง เพชรบุรี ผมจะอ่านไม่ได้แล้ว ยิ่งเจอ ผ.ผึ้ง พ.พาน ตัวอักษร หัวเข้าหัวออก หรือ ค.ควาย ศ.ศาลา หางสั้น หางยาวนี่ผมจะสับสนมาก มาเก่งภาษาไทยขึ้น ตอนมีกรุ๊ปไลน์จากคลาสที่เรียนนี่แหละครับ คิดดู ว่าเวลา 120 คนในคลาสพิมพ์ข้อความส่งเข้ามา พร้อมๆ กันสิครับ มันเร็วมากจนผมมอ­งยังไม่ทัน เลยครับ (หัวเราะ) อาศัยก๊อบปี้ไปให้กูเกิลแปลให้ โปรแกรมนี้ช่วยชีวิตผมมาก อย่างน้อยก็แปล คร่าวๆ ให้พอเดาความห­มายได้ และก็ช่วยสอน เรื่องตัวสะกดด้วย”

แล้ววันหนึ่งคุณบิ๊กก็ได้รู้ว่าทักษะภาษาอังกฤษ ของเขามีประโยชน์กับทีมงานและบริษัทไม่น้อย “อาจมีพนักงานคนอื่นที่สื่อสารภาษาอังกฤษได้ แต่การที่ผมอยู่เมืองนอกมานาน แล้วออสเตรเลีย เป็นประเทศที่มีความหลากหล­ายทางเชื้อชาติ ผม เองมีเพื่อนจากหลายป­ระเทศ ทำให้ผมเติบโตมา ในวัฒนธรรมที่แตกต่าง เลยคุ้นชินกับสิ่งเหล่านี้ เวลาเจอลูกค้าชาติต่างๆ ก็จะรู้ธรรมเนียมและ เข้าถึงลูกค้าได้ดี ทำให้การซื้อขายง่ายขึ้นครับ ที่ สำคัญทำให้ผมเริ่มมีความมั่นใจในตัวเองเพิ่มขึ้น มากด้วย”

ก้าวต่อไปของรุ่นลูกหลาน

“สมาชิกในเจเนอเร­ชั่นที่ 3 มีทั้งหมด 14 คน ตอนนี้เข้ามาช่วยธุรกิจครอบครัวอยู่ 5 คน รวมผม ดว้ ย พวกเราทำหน­า้ ทแ่ี ตกตา่ งกนั ไป แตไ่ มว่ า่ ใครจะ รับผิดชอบในตำแห­น่งไหน เราทุกคนจะช่วยเหลือ และซัพพอร์ตกันและกันตลอด อย่างในรุ่นผมเมื่อ ปลายปีที่แล้ว พ.ศ.2561 มีการเปิดบริษัทใหม่ขึ้น มา 2 บริษัท ได้แก่ บริษัท เบรนเนอร์จี้ เพื่อก้าวให้ ทันโลกที่หมุนเร็วขึ้น ทุกวินาทีมีค่าเสมอ เราบริการ เทคโนโลยีดิจิตอล ช่วยให้การทำงานสะ­ดวกสบาย และขยายโอก­าสทางธุรกิจได้มากขึ้น รวมถึงการ ปรับเปลี่ยนการทำงาน­ให้เข้ากับไลฟ์สไตล์คน รนุ่ ใหมท่ ท่ี ำงานทไ่ี หนกไ็ ด้ การเขา้ สสู่ งั คมยคุ ดจิ ติ อล ที่ลดการทำงาน­ด้วยเอกสาร เป็นสังคมที่ไร้

‘ผมเคารพทกุ บาททกุ สตางค์ จากลกู คา้ เพราะนคี่ อื รายได้ใหม่ ทเี่ ขา้ มา ไมว่ า่ จะเปน็ รายไดจ้ าก ฝา่ ยไหน จำนวนเทา่ ไหร่ ทงั้ หมดคอื สงิ่ ทคี่ ำ้ จนุ องคก์ รเรา ใหม้ นั่ คงและเตบิ โตกา้ วไป ขา้ งหนา้ ’

กระดาษ ลา่ สดุ เราไดจ้ บั มอื กบั กรมสรรพากร บรกิ าร ระบบการออก­ใบรบั และใบกำกบั ภาษอี เิ ลก็ ทรอนกิ ส์ ทใ่ี ชแ้ ทนกระดาษได­เ้ ลย ลดตน้ ทนุ และเพม่ิ ศกั ยภาพ เจ้าของธุรกิจให้สะดวก รวดเร็ว ลดความผิดพลาด สามารถเรียกค้นและตรวจสอ­บได้ง่าย โดยเชื่อมต่อ กบั ระบบของกรม­สรรพากรไดเ้ ลย

“อีกบริษัทหนึ่งคือ บริษัท ซีน ดิจิตอล บริการ wifi analytics และ wifi marketing ใช้ customer insight ช่วยให้เข้าใจลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายได้ดี ยิ่งขึ้น บทบาทหน้าที่ของรุ่นหลานอย่างพวกเรา ตอนนี้คือการอัพเดตและก้าวให้ทันโลกด้วยการนำ เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาให้บริการลูกค้าที่ความ ต้องการเปลี่ยนไปตามยุคสมัย โดยที่เรายึดมั่นใน ความซื่อสัตย์และการใส่ใจดูแลลูกค้าเหมือนอย่าง ที่ถือปฏิบัติกันมาทุกรุ่น ในแวดวงธุรกิจการสื่อสาร แล้ว มีบริษัทที่ร่วมทำธุรกิจเดียวกันรายใหญ่ๆ อยู่ 5 - 6 เจ้า การแข่งขันในตลาดค่อนข้างสูง ว่ากัน ตรงๆ ในดา้ นราคาและผล­ติ ภณั ฑร์ วมถงึ เทคโนโลยี ไม่ต่างกันและตามกันทันได้ แต่สิ่งที่เป็นข้อได้ เปรียบของบริษัทเราคือชื่อเสียงและเกียรติประวัติ ที่สั่งสมกันมาตั้งแต่รุ่นอากงอาม่าจนถึงปัจจุบัน ระยะเวลาร่วม 60 ปีที่บริษัทยืนหยัดมาได้ ทำให้ ลูกค้ามั่นใจ เชื่อใจ และวางใจใน­การเลือกเรา

“การที่ผมอยู่ฝ่ายขาย เราคือตัวแทนของบริษัท ในการพบลูกค้า นอกจากการท­ำยอดขายให้ถึง เปา้ หมายทต่ี ง้ั ไวใ้ นแตล่ ะปแี ลว้ ผมภมู ใิ จทไ่ี ดช้ ว่ ยทำ ให้ธุรกิจลูกค้าทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบ โจทย์ลูกค้ามากขึ้น และไม่ว่าองค์กรจะมีผลิตภัณฑ์ อะไร รวมถึงสองบริษัทน้องใหม่ของเราเปิดตัวขึ้น หน้าที่ผมคือการนำเสนอ­สินค้าและบริการของเรา ให้ลูกค้า ผมจะรู้สึกดีและภูมิใจมากเวลาที่ได้ลูกค้า รายใหม่ แม้ยอดขายหลักล้านบาทอาจเทียบไม่ได้ กับผลประกอบก­ารหลักพันล้านขององค์กรเรา แต่ ผมเคารพทุกบาททุกสตางค์จากลูกค้า เพราะนี่คือ รายได้ใหม่ที่เข้ามา เพราะไม่ว่าจะเป็นรายได้จาก ฝ่ายไหน จำนวนเท่าไหร่ ทั้งหมดคือสิ่งที่ค้ำจุน องค์กรเราให้มั่นคงและเติบโตก้าวไปข้างหน้า

“เมื่อก่อนตอนอยู่เมลเบิร์น ผมเปลี่ยนงานทุกๆ 2 ปี ด้วยเชื่อว่าสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ จะทำให้เรามีแรง พลังในการทำงา­นมากขึ้น แต่ไม่ได้เปลี่ยนสายงาน ด้านการบริการและด้านกีฬาซึ่งเป็นสิ่งที่ผมชอบ และถนัด ผมแค่เปลี่ยนที่ทำงาน แต่การทำงานใน ธรุ กจิ ของครอบครวั สง่ิ ทเ่ี พม่ิ เตมิ เขา้ มาคอื ความรับ ผดิ ชอบ นอกจากการเ­ปน็ พนกั งานคนหนง่ึ ในบรษิ ทั แล้ว สายเลือดความเป็นเบญจรงคกุลในตัวผม ทำให้ผมละทิ้งสิ่งที่อากงอาม่าลงแรงก่อตั้งขึ้นมา ไม่ได้ เพราะเงินทุกบาทที่ส่งเสียและเลี้ยงดูผมมา ตั้งแต่เล็กคือรายได้ที่มาจากธุรกิจนี้ ถึงเวลาที่ผม ต้องตอบแทนพร­ะคุณครอบครัว เข้ามาช่วยดูแล ธุรกิจนี้ และทำให้ ‘เบญจจินดา’ ดำรงอยู่สืบต่อไป ได้นานถึง 100 ปีอย่างที่คุณลุงตั้งใจครับ”

‘เงนิ ทกุ บาททสี่ ง่ เสยี และเลยี้ งดู ผมมาตงั้ แตเ่ ลก็ คอื รายไดท้ มี่ า จากธรุ กจิ นี้ ถงึ เวลาทผี่ มตอ้ ง ตอบแทนพระค­ณุ ครอบครวั เขา้ มาชว่ ยดแู ลธรุ กจิ น’ี้

 ??  ?? คณุ บกิ๊ สวมสายรดั ขอ้ มอื รนุ่ LOVE
ตวั เรอื นไวตโ์ กลด์ กบั มมุ หนงึ่ ของ
พพิ ธิ ภณั ฑศ์ ลิ ปะไทยรว่ มสมยั (MOCA) อกี หนงึ่ ธรุ กจิ ของเบญจจนิ ดา
คณุ บกิ๊ สวมสายรดั ขอ้ มอื รนุ่ LOVE ตวั เรอื นไวตโ์ กลด์ กบั มมุ หนงึ่ ของ พพิ ธิ ภณั ฑศ์ ลิ ปะไทยรว่ มสมยั (MOCA) อกี หนงึ่ ธรุ กจิ ของเบญจจนิ ดา
 ??  ??
 ??  ??
 ??  ??
 ??  ?? (ซ้าย) รางวัลแห่งความสำเร็จ (บน) บรรยาย หลักสูตร PADA (ล่าง) เข้าอบรม Innovation Program ของ RISE เพอื่ มา Pitch ใหผ้ บู้ รหิ ารและ ผถู้ อื หนุ้ ฟงั (ลา่ งสดุ ) ทรปิ เทยี่ วญปี่ นุ่ กบั ครอบครวั
(ซ้าย) รางวัลแห่งความสำเร็จ (บน) บรรยาย หลักสูตร PADA (ล่าง) เข้าอบรม Innovation Program ของ RISE เพอื่ มา Pitch ใหผ้ บู้ รหิ ารและ ผถู้ อื หนุ้ ฟงั (ลา่ งสดุ ) ทรปิ เทยี่ วญปี่ นุ่ กบั ครอบครวั
 ??  ?? คณุ บกิ๊ สวมนาฬกิ า Cartier Santos-dumont ตวั เรอื นสตลี สายหนงั ลกู ววั สนี ำ้ เงนิ และ แหวนรนุ่ LOVE ตวั เรอื นแพลทนิ มั
คณุ บกิ๊ สวมนาฬกิ า Cartier Santos-dumont ตวั เรอื นสตลี สายหนงั ลกู ววั สนี ำ้ เงนิ และ แหวนรนุ่ LOVE ตวั เรอื นแพลทนิ มั
 ??  ?? คณุ บกิ๊ ในลคุ สบายๆ บรเิ วณโถง บนั ไดหนิ ออ่ นในพพิ ธิ ภณั ฑ์
คณุ บกิ๊ ในลคุ สบายๆ บรเิ วณโถง บนั ไดหนิ ออ่ นในพพิ ธิ ภณั ฑ์

Newspapers in Thai

Newspapers from Thailand