Hello! (Thailand)

H! FASHION:

20 ปีแห่งศรัทธาและแฟชั่นของ ISSUE ภูภวิศ กฤตพลนารา

-

หากจะลองนับว่าตลอด 20 ปี มี อาภรณ์กี่หมื่นชิ้นที่ผ่านความคิด สร้างสรรค์ของคุณภูภวิศ กฤตพล นารา หรือที่คนในวงการแ­ฟชั่นเรียก ขานกันว่า ‘โรจน์ Issue’ เป็น 20 ปีที่ เขาไม่เคยแหนงหนีลายพิมพ์และ งานปักหลากวัฒนธรรมซึ่งหยิบ สอยมาจากทริปเดินทางทั่วทุกทวีป หากก็เป็น 20 ปีที่เป็นดีไซเนอร์ทั้งที่ ไม่เคยเฉียดกรายชั้นเรียนแฟชั่น ดีไซน์ “ผมต้องพยายามมา­กกว่า คนอื่นเยอะเพราะ­ผมเรียนมา น้อย” คุณโรจน์บอกกับ HELLO! ในสวนไม้ไทยข้างศาลสักการะ พระพุทธและเทพเจ้าที่มีฝูง นกยูงเดินรำแพนหาง ราวกับจะ ต้อนรับเข้าสู่ดินแดนแห่งความ เชื่อ ศาสนา และแฟชั่นที่สะกด คำว่า ‘ธรรมดา’ ไม่เป็น

นักศึกษานอกห้องเรียน

ชื่อชั้นของ ‘โรจน์ Issue’ กำเนิดขึ้นเมื่อนักศึกษาศิลปะ จากไทยวิจิตรศิลป์ได้งาน แรกในชีวิตในวัย 20 ปีที่ Greyhound แบรนด์เสื้อผ้า ไทยสไตล์มินิมอลลิสม์มาแรงเมื่อ 30 ปีก่อน “จะมองว่าพ่อแม่ให้อิสระให้เราเรียนอะไร ก็ได้ ทำอะไรก็ได้ หรือจะมองว่าท่านไม่มีเวลาดูแลเรา ก็ได้ พ่อผมขับแท็กซี่ แม่เป็นแม่ค้าขายอาหาร ผมมี พี่น้อง 6 คน แค่หาสตางค์มาเลี้ยงดูครอบครัวท่านก็

เหนื่อยแล้ว”

หกเดือนผ่านไปในตำแห­น่งพนักงานขายหน้าร้าน แววศิลปะในตัวเขาฉายชัดจนทางออฟฟิศต้องเป็นธุระ ย้ายตัวเขาไปทำดิสเพลย์ ก่อนมาลงเอยใ­นแผนกดีไซน์ “เราเลยรู้ขั้นตอนทุกอย่าง ขายเป็น ออกแบบเป็น จัด ร้านได้ ผมถือว่าเกรฮาวด์เป็นโรงเรียนแฟชั่นแม้ว่าเรา จะไม่ได้เรียนสถาบันแฟชั่นมา สมัยเมื่อ 30 ปีก่อน เมืองไทยไม่มีภาควิชาออกแบบแฟ­ชั่น แต่เราเรียนจาก ชีวิตจริง ผมมีวันนี้ได้เพราะเกรฮา­วด์และเพราะนา­ยเก่า ก็คือคุณภาณุ อิงคะวัต และพี่หน่อย-ชลิตา ไววิทยะ ทุกวันนี้ยังกินข้าวนั่งพูดคุยกัน เป็นทั้งนายเก่าและ เพื่อนร่วมวงการกันมานาน”

วรรณคดลี ลิ ติ ตะเลงพา่ ย ศลิ ปวฒั นธรรมเปอรา­นากนั จากเกาะมะล­ะกา ความอ่อนช้อยของบัลเลต์รัสเซีย ผนวกลลี านาฏศลิ ปไ์ ทยสมยั รชั กาลท่ี 5 หรอื การเดนิ ทาง ผ่าน 2 ทวีปบนเส้นทางสายไหม เหล่านี้เป็นเพียง ตัวอย่างแรงบันดาลใจในคอ­ลเลกชั่นต่างๆ ตลอด 20 ปี ของ Issue “พูดตามตรงว่าผมต้องพยายามศึกษามาก กว่าคนอื่นเพราะผมเรียนมาน้อย ผมได้เรียนรู้โครงสร้าง การทำแบรนด์มาจากเกรฮา­วด์ แต่ความเป็นอิชชู่น่าจะ มาจากแก่นความเป็นตัวตนจริงๆ ผมเชื่อตั้งแต่วันแรกที่ ทำอิชชู่ว่าเสื้อผ้าเป็นมากกว่าปัจจัย 4 มันสะท้อนตัวตน คนใส่และคนออกแบ­บ”

คุณโรจน์เมื่อครั้งวัย 20 ปีต้นๆ เริ่มออกผจญภัย แสวงหาโลกใ­หม่และตามหาแร­งบันดาลใจ “เนปาลกับ อินเดียเป็นแหล่งความรู้เรื่องศาสนา ศิลปะ และ วัฒนธรรมที่แข็งแรง เราเลยเลือกไป 2 ประเทศนี้ก่อน ผมไปเนปาล 21 ครั้งในชีวิต ไปแต่ที่เดิมๆ ในเมืองกาฐ มาณฑุ ภกั ตะปรู ์ ปาตนั เปน็ การเดนิ ทางทเ่ี ปน็ จดุ เรม่ิ ต้น

ของตัวผมและแบรน­ด์ เพราะได้ทั้งเรื่องแรงบันดาลใจ แนวทางการใ­ช้ชีวิตและการทำง­าน เราเป็นเด็กอายุ 20 ปี มาจากบ้านยากจนที่มีเงินเป็นล้านเมื่อหลายสิบปี ก่อน แหม ภูมิใจ อัตตาพอกพูน พอไปเนปาล เราตัว เล็กนิดเดียวเมื่อเทียบกับธรรมชาติ โดนสัจธรรมกำราบ เดินริมหน้าผาพลาดนิดเดียวก็ตกลงไปตายแ­ล้ว มัน เป็นเส้นบางๆ ไปหมด เราเรียนรู้จากการเดินทางช่วง แรกๆ นั้นเยอะมาก”

เขาพูดถึงเงินล้านสมัยวัย 20 ปี แต่ปัดว่าไม่ได้มา จากงานประจ­ำที่เกรฮาวด์เป็นแน่ “ทำงานเกรฮา­วด์ ไม่มีเงินเก็บเลยนะครับ เที่ยวทุกวัน (หัวเราะ) ผมเริ่มมี เงินล้านเพราะเริ่มทำแบรนด์อิชชู่นี่แหละ ขายดีตั้งแต่ปี แรกๆ เปิดแบรนด์ พ.ศ. 2542 ผมมีเงินล้านทันทีเลย ขณะเดียวกันก็มีเงินหายไปเป็นล้าน ตอนนั้นผมทำงาน 5 วันที่เกรฮาวด์ อีก 2 วันที่จตุจักร จากนั้นปิดร้านที่ จตุจักรมาเปิดร้านเสื้อที่สยาม ไม่พอ ยังเปิดร้านอาหาร ที่ลิโด้ด้วย ร้านเสื้อปล่อยให้รุ่นน้องดูแลไป ก็เลยได้ทั้ง เงินและเงินก็หายไปกับน้องคนนั้นนั่นแหละ ตอนหลัง เลยเหลือแต่ร้านเสื้อ” เขายิ้มแย้มให้กับบทเรียนชีวิต

“ยุคแรกๆ ของอิชชู่เรานำผ้ามาจากอินเดียและ เนปาลบ้าง เอามาตัดเป็นเสื้อมูมู่ง่ายๆ เย็บข้าง ประดับตกแต่ง แกะโครงเสื้อแขกมาทำเสื้ออิชชู่ เพราะตัวผมไม่ได้เรียนแพตเทิร์นมาและชอบ ความเป็นชนเผ่าซึ่งเสื้อผ้าไม่ค่อยมีแพตเทิร์น เป็นเสื้อง่ายๆ ที่ผู้หญิงทำใส่กันเองในบ้าน แล้วเอามาปักเพิ่ม มันสะท้อนถึงโครงเสื้อใน วันนี้ของอิชชู่ด้วยที่ไม่มีโครงสร้างชัดเจน เรา ไม่ได้เป็นเลิศด้านแพตเทิร์น แต่เราเป็นเลิศในงานพิมพ์ และงานคราฟ­ต์ เพราะตำแหน่งสุดท้ายของผมที่ เกรฮาวด์คือสไตลิสต์ ในเมื่อโครงเสื้อถือเป็นจุดอ่อน

‘ผมเชื่อตั้งแต่วันแรกที่ทำอิชชู่ ว่าเสื้อผ้าเป็นมากกว่าปัจจัย 4 มันสะท้อนตัวตนคนใส่และ คนออกแบบ’

ที่เราไม่เก่ง เราก็ใช้จุดแข็งด้านสไตลิ่งมามิกซ์ให้เสื้อเรา ดูน่าสนใจ เอานั่นเอานี่มาผูกกัน ช่วงนั้นไม่มีใครทำเสื้อ สไตล์นี้ชัดเจนเหมือนเรา คนเลยนิยมในความ ประหลาดของ­อิชชู่มั้งครับ”

ขึ้นสูงแล้วลงต่ำ

คอลเลกชั่นแรกของอิชชู่ที่ Elle Fashion Week ปี 2003 เป็นการเปิดตัวคุณโรจน์ในฐานะยังดีไซเนอร์ ดาวรุ่งรุ่นแรกๆ ที่ทำแฟชั่นโชว์กับแฟชั่นนิสต้าตัวแม่ตัว พ่อในวันนี้อย่างอาร์ต-อารยา อินทรา และกฤษณ์ เย็น สุดใจ “ใช้คำว่ามีชื่อเสียงชั่วข้ามคืนก็ว่าได้” คุณโรจน์ ย้อนความทรงจ­ำที่แจ่มชัดเหมือนเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวาน

“จำได้แม่นเลย คอลเลกชั่นแรกชื่อ Never Give Up มาจากคำสอน­ของท่านดาไลลามะ ตอนนั้นผมไปธรรม ศาลาที่อินเดีย เลยเอาแรงบันดาลใจมาจา­กตรงนั้น ‘ไม่ ยอมแพ้’ ชื่อคอลเลกชั่นสะท้อนการรุกรานของจีน คอมมิวนิสต์ในทิเบต ผมใช้ผ้าสีๆ จากทิเบตมาทำชุด จากผ้า 300 ชิ้นตัดต่อกัน โครงเสื้อมาจากเสื้อวินเทจ ของชาวอัฟกานิสถาน ให้นางแบบยืนกางแขนปลา­ย เวที แล้วมีเสียงปืนดังปัง! เลือดไหลเป็นทาง คนชอบ กันมาก”

20 ปีที่ทำแฟชั่นมา ให้เลือกว่าประทับใจครั้งไหน ที่สุด เขาตอบเร็วว่าทุกครั้ง ทุกงาน ที่ประทับใจใน ความไม่ดีก็มี “คอลเลกชั่นที่ 2 ก็เจอเลย เหมือนคนทำ หนังภาค 2 แล้วเกร็ง พี่สไตลิสต์คนนี้มีประสบการณ์ เอามาช่วย พี่คนนั้นมีประสบการณ์ เอามาช่วย ช่วยไป ช่วยมา แกนของเราห­ายไปเลย ตายแล้ว! ทำไมเมคอัพ เป็นแบบนี้ ทำไมผมไม่เหมือนที่คิดไว้เลย เละไปหมด กลายเปน็ บทเรยี นสำคญั ของชวี ติ มากๆ วา่ อยา่ ฟงั คนอน่ื มากเกินไป แต่ถ้าแกนของเรา­แข็งแรงจะรู้ว่าต้องการ สื่อสารอะไร”

เขายังแยกแยะให้เห็นความต่างระหว่างการยึดมั่น ในแก่นกับการยึดมั่นถือมั่น “มันเป็นเส้นบางๆ ที่อยู่บน หลักการง่ายๆ อย่างผมทำ Issue Underwear ก็ต้องดูว่า ผิดศีลธรรมไหม ผิดกฎหมายหรือเปล่า ไม่ใช่หิวเงิน มาก อยู่ดีๆ ลุกขึ้นมาทำอะไรโ­ป๊ๆ เพื่อเรียกกระแส ทำให้สังคมบิดเบี้ยวผิดเพี้ยน เราอยู่มา 20 ปีแล้ว อะไร ที่ส่งต่อแรงบันดาลใจที่เป็นบวกให้สังคมได้ ผมควรต้อง ทำ” เขาหยดุ ตรองความคดิ กอ่ นพดู ชา้ ๆ ชดั ๆ วา่ “ผหู้ ญงิ ในสายตาผม ผมเห็นเป็นแม่ ผมอยากเห็นแม่ผมเป็น ผู้หญิงที่ดี ไม่ได้ดีด้วยความรวย ความสวย แต่ทำตัว เหมาะสมเท่านั้นพอแล้ว”

ด้วยแรงอธิษฐาน

คุณโรจน์จิบน้ำอุ่นแม้ในวันอากาศอบอ้าว มองตาม สายตาเราแล้วเขาถึงอธิบายออกมาเอ­งว่าป่วยเป็น ไทรอยด์ที่เรียกว่า Hashimoto thyroiditi­s “ผลกระทบคือ เดี๋ยวอ้วนเดี๋ยวผอม กินจุกจิก ร้อนๆ หนาวๆ อารมณ์ ขึ้นลง ที่ตลกคืออะไรรู้ไหม เวลาปรี๊ดมากๆ จะเป็นทุก วันพระ เมื่อเช้าลูกน้องโดนเปรี้ยงไปหนึ่งดอก ต้อง ขอโทษขอโพย­กัน” เขาหัวเราะจนมะลิ นกยูงสีขาว เหมือนหิมะกระพุ่มตัวหนี “ทุกวันนี้ตักบาตรทุกวัน ยิ่ง วันพระใหญ่นี่ขาดไม่ได้ แต่ก็ยังไม่วาย”

ตอนเด็กๆ ที่ไปวัดกับแม่ อธิษฐานขอพรให้ตัวเอง แข็งแรง มีชีวิตที่ดีขึ้น ทุกวันนี้อธิษฐานว่าอะไร ทันควัน หลงั ไดย้ นิ คำถาม เขานง่ิ ไปนาน หรบุ หนา้ เขา้ ใตห้ มวกสาน ที่ใส่จนเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว แล้วตอบเสียงเบาว่า

‘เราไม่ได้เป็นเลิศด้าน แพตเทิร์นเพราะไม่เคยเรียน แต่เราเป็นเลิศในงานพิมพ์ งานคราฟต์’

“บอกหลวงพ่อว่าขอให้เราและทีมงานนำคำสอ­นของ พระพุทธองค์มาปฏิบัติจนประสบควา­มสำเร็จในหน้าที่ การงานตามที่ตั้งใจไว้ ผลลัพธ์ที่ได้ให้กลับมาเป็น สวัสดิการพนักงานทุกคน เขาเป็นเหมือนครอบครัว เมื่อคืนนั่งเย็บปักถักร้อยกันถึงเที่ยงคืน ทุกคนมุ่งมั่นกับ การปั้นคอลเลกชั่นใหม่ ศีลเสมอแล้วเจอกัน คือหลักใน การทำงานร่วมกับคนอื่นของผม

“เมื่อก่อนเวลาผมคุยกับหัวหน้าทีมต่างๆ ในบริษัท ว่าเราจะอยู่ร่วมกันยังไงดี เราอยากได้อะไร นั่งแก้โจทย์ กันอยู่ตั้งนาน เราอยู่กันด้วยความเข้าใจหรือ ด้วยผล ประกอบการห­รือ ความรักหรือ ถามวนไปวนม­า จนคน ที่ทำโจทย์นี้ล้มหายตายจาก­กันไปตั้งหลายรุ่น คำตอบ แปะอยู่ที่ห้องพระตั้งนานแล้วก็คือ อิทธิบาท 4 และ พรหมวิหาร 4 หลักแห่งความสำเร็จและการอยู่ร่วมกัน เพิ่งจะเมื่อ 2 ปีมานี้ที่เราเข้มข้นกับสิ่งนี้จริงๆ คนอื่น เรยี นจบเอม็ บเี อ เราใชห้ ลกั ศาสนามาใชก้ บั การทำแฟชน่ั ”

เกิดใหม่ในปีที่ 21

แบรนด์ไทยในแวดวง­ใดก็ตาม หากอยู่ยั้งมาได้ถึง 20 ปีถือว่าเยี่ยมยุทธ์แล้ว แต่คุณโรจน์ก็ยังแปลกใจตัว เองที่อิชชู่อยู่มาได้นานทั้งที่ไม่เคยมีแผนธุรกิจใดๆ เลย “มันมีตัวอย่างของรุ่นพี่รุ่นน้องในอุตสาหกรรมแฟ­ชั่นที่ เวียนว่ายตายเกิด เดี๋ยวเปิดตัว เดี๋ยวปิดตัวกันอยู่นั่น เราต้องดูว่าแบบไหนคือตัวอย่างที่เราอยากจะไ­ป กลาย เป็นว่าเราเพิ่งมีแผนธุรกิจหลังจากปีที่ 20”

วันนี้อิชชู่มีแอพพลิเคชั่น MI CASA ES SU CASA (มิ คาซ่า เอส ซู คาซ่า) ซึ่งเป็นภาษาสเปน แปลว่า My House Is Your House ในอนาคตจะมีเกมออนไลน์บน แอพ ไหนจะทำราย­การ Issue Boys ในช่องยูทูบ ความ พยายามเชื่อมโยงตัวเองเข้ากับเทคโนโลยีและคน รุ่นใหม่สะท้อนว่าคติในหัวใจของคุณโรจน์และอิชชู่คือ คำว่า forever young

ถ้าวันหนึ่งเราไม่อยู่แล้ว อิชชู่จะเป็นยังไง จะจบไป พรอ้ มเราไหม เปน็ คำถามทเ่ี ขาเฝา้ ถามตวั เองและคนอน่ื คงลอบถามอยู่ในใจเช่นกัน “เมื่อก่อนอิชชู่คงเท่ากับชื่อ โรจน์ แต่ในอนาคตไม่ใช่แบบนั้นแล้ว อิชชู่แปลว่าอย่าง อื่นก็ได้ เมื่อหลายปีก่อนเราเริ่มทำ Issue Underwear กับนักลงทุน ทำแอ็กเซสเซอรี่ส์ ทำร้านอาหารก็ได้อีก ปี หน้าเราจะทำเค­รื่องสำอางแนว­ยั่งยืน และคอลเลกชั่นที่ ใกล้จะเสร็จแล้วก็เป็นการร่วมงานกัน Issue x Grand Sport เราอยากทำง­านกับแบรนด์ไทยที่อยู่กับคนไทยมา นาน ซึ่งอาจจะต้องการรีแบรนดิ้ง เมื่อก่อนเราสนุกกับ การทำงานกับยังดีไซเนอร์ไทย แต่ผลที่ออกมาคือน้อง ผลิตไม่ได้จริง ส่งของไม่ตรงเวลา ระบบการจัดการ ภายในเป็นปัญหา แสดงว่าต้องให้เวลาเขาในก­าร เติบโตกว่านี้

“กราฟ 20 ปีของอิชชู่เสถียรในความรู้สึกนะครับ แต่ ถ้าเป็นเรื่องธุรกิจและตัวเลขไม่มีทางเสถียร (ยิ้ม) มัน เป็นปัจจัยภายนอกที่เราควบคุมไม่ได้ ตอนเปิดร้าน อาหาร Issue Café เจอม็อบปิดถนน แล้วจะทำไงได้ แต่ เราเสถียรในใจเพรา­ะรู้ว่าเดี๋ยวทุกอย่างจะผ่านไป ถ้า เรารู้เท่าทันก็จะเห็นว่านั่นคือเรื่องธรรมชาติ ผมเลยไม่ เคยเห็นทางตันสักครั้งในชีวิต”

‘เราอยู่มา 20 ปีแล้ว อะไรที่ ส่งต่อแรงบันดาลใจที่เป็น บวกให้กับสังคมได้ ผมควรต้องทำ’

 ??  ?? คณุ ภภู วศิ กฤตพลนารา
คณุ ภภู วศิ กฤตพลนารา
 ??  ?? ISSUE 2002 ISSUE 2011
ISSUE 2002 ISSUE 2011
 ??  ??
 ??  ??
 ??  ?? ISSUE 2002
ISSUE 2002
 ??  ?? ISSUE 2017
ISSUE 2017
 ??  ?? ISSUE 2019
ISSUE 2019
 ??  ?? ISSUE 2007
ISSUE 2007

Newspapers in Thai

Newspapers from Thailand