Hello! (Thailand)

THE YOUNG ACHIEVERS 2019:

-

ณัฐธิดา สงวนสิน สตาร์ทอัพที่ปฏิวัติการใช้จ่ายของคนไทย­กว่า 62 ล้านราย

ชื่อเล่นแปลว่าสีชมพู เรียนเต้นเคป๊อปเป็นงาน อดิเรก เป็นแม่ที่พยายามแบ่งเวลาไปผูกสัมพันธ์ กับลูก และเป็นหนึ่งในผู้หญิงไม่กี่คนที่ (ร่วม) ก่อตั้ง สตาร์ทอัพเป็นเจ้าแรกๆ ในเมืองไทย ซึ่งเป็นเจ้าแรกที่ ทำให้คนไทยเปลี่ยนมาสะสมแต้ม แลกสิทธิประโยชน์ บนมือถือ และก้าวสู่ปีที่ 8 แล้ว Buzzebees ชื่อที่มา จากตัวการ์ตูนรูปผึ้งชื่อดังในนิวซีแลนด์ ปัจจุบันมี ลูกค้าองค์กร 130 แบรนด์ เข้าถึงคนไทย 62 ล้านคน และแจกไปแล้วเกิน 10,000 ล้านแต้ม

คณุ พง้ิ ค-์ ณฐั ธดิ า สงวนสนิ หนง่ึ ในผรู้ ว่ มกอ่ ตง้ั และ กรรมการบริหาร กล่าวว่าเกิดปรากฏการณ์ที่สตาร์ท อัพไทยมีผู้ใช้งานเป็นรองแค่เฟสบุ๊กและไลน์ได้นั้นมา จากทัศนคติแบบ ‘Can Do’ และสตาร์ทอัพที่เริ่มจาก รายได้ติดลบ ทะยานมาสร้างตัวเลขเป็น 800 ล้าน บาทได้ในเวลาแค่หนึ่งทศวรรษ เป็นเพราะความ­เชื่อ วา่ การทำงานเป­น็ infinite game “ชวี ติ และธรุ กจิ คอื สง่ิ ทท่ี ำใหมไ่ ปไดเ้ รอ่ื ยๆ เราอยใู่ นเกมทไ่ี มม่ วี นั สน้ิ สดุ ”

ผนังสีน้ำตาลเข้มฉลุเป็นรูปรวงผึ้งและผึ้งงานวัย เจนเอ็กซ์ เจนวาย จนถึงเจนซีสาละวนทำงา­นขันแข็ง ใช่ที่นี่แน่ บัซซี่บีส์ เรามีนัดพบกับนางพญาผึ้งอย่าง คุณพิ้งค์ ซึ่งแลดูแรงดีไม่มีตกแม้จะปั้นสตาร์ทอัพ ขนาด 260 ชีวิตมาเกือบทศวรรษแล้วก็ตาม “ย้อน กลับไปเมื่อ 10 ปีก่อน พิ้งค์มีบริษัททำลายนิ้วมือเพื่อ รักษาความมั่นคง รายได้ปีละ 30 - 40 ล้านบาท คิด ว่าฉันเจ๋งระดับหนึ่งสำหรับคนอายุ 30 กว่า จนพิ้งค์ ได้เจอเพื่อนชาวไต้หวันในงานแต่งงาน เขาเล่าว่าทำ สตาร์ทอัพเล็กๆ ที่ซิลิคอนวัลเลย์ อีก 2 ปีถัดมาเขาก็ ยังทำสตาร์ทอัพเล็กๆ นี้อยู่ แต่บอกข่าวใหม่ว่าเขา เพิ่งขายบริษัทให้ Intel ไป 2,000 ล้านยูเอสดอลลาร์ (เน้นเสียง) เขาทำให้พิ้งค์ตื่นว่า สิ่งที่ฉันทำสำเร็จมา มันเล็กมากเมื่อเทียบกับสตาร์ทอัพที่เพื่อนทำ ฉันจะ ทำสตาร์ทอัพบ้าง”

ง่ายๆ แค่นั้นและคิดแล้วทำเลย คือหลักการของ เธอ ไม่ช้านานผลิตภัณฑ์แรกของบัซซี่บีส์ก็ออกมา ลืมตาดูโลก ‘เฟสบุ๊กสีเหลือง’ เล่นเฟสบุ๊กแล้วได้แต้ม สะสม ไอเดียใหม่ล้ำที่ยังไม่มีใครทำมาก่อน “เราคิด กันว่ามันจะเปลี่ยนโลก เฟสบุ๊กจะมาซื้อเรา เราจะ เปน็ มหาเศรษฐี แลว้ เราจะไปซอ้ื เกาะกนั ” เธอฝนั หวาน ก่อนจะเจอควา­มจริงตีแสกหน้าด้วยยอดดาวน์โหลด วันแรก 20 คนถ้วนจากพนักงานทุกคนของบัซซี่บีส์ และยอดกะปริบกะปรอยน้อยยิ่งกว่านี้ในวันต่อๆ มา เธอพยายามพ­ลิกเกมด้วยการลงงบ 3 ล้านบาท สุดท้ายในชีวิตไปกับการจ้างเอเจนซี่มาทำการตลา­ด ภายใน 1 เดือนมียอดดาวน์โหลด 250,000 คน เป็นน้ำทิพย์ชโลมใจคุณพิ้งค์ที่ลงเงินเก็บไปแล้วร่วม 30 ล้านบาท “1 เดือนผ่านไปทุกอย่างก็หายไป เพราะเราไม่มีของแจก”

บัซซี่บีส์เปลี่ยนโมเดลธุรกิจไปทำอี-คอมเมิร์ซ แข่งขันกับ Ensogo ซึ่งสุดท้ายก็เป็นการเลี้ยวไปชน ตอม่อจังใหญ่อีกครั้ง “มันเป็น losing game เป็น ธุรกิจที่ตัดกันที่ราคา จนคุณไมเคิล (คุณไมเคิล เชน สามีและผู้ร่วมก่อตั้งบัซซี่บีส์) บอกว่ายูต้องไม่ลงเงิน กับธุรกิจอีกแม้แต่บาทเดียว พิ้งค์จ๋อยมาก ทีมก็ฝ่อ ทำอะไรก็ล้มเหลวตลอด เงินก็หมดไป”

ลูกฮึดอีกเฮือกคือการรวบรวม­รายชื่อของธุรกิจ 7 ประเภทที่ต้องใช้บริการของบัซซี่บีส์ แล้วไล่โทร.ไป แนะนำตัวทีละรายๆ “ไม่มีคอนเน็กชั่นใดๆ ค่ะ โทร. ไปตามเบอร์ 02 จนได้นัดที่ซัมซุงและเอไอเอ­ส ขาย งานไป 2 ชั่วโมง ลูกค้าถามว่า สรุปแล้วคุณขายอะไร (หัวเราะ) เราพูดจาไม่รู้เรื่อง ทำแอพใช้ยากมาก มี เป็นสิบๆ ฟีเจอร์ ซึ่งลูกค้าบอกว่าขอแค่ 3 ฟีเจอร์ ใน วันนี้มันก็คือ Galaxy Gift และ AIS Privilege เวอร์ชั่น แรก แต่เมื่อเกือบ 8 ปีที่แล้วเราเป็นเจ้าแรกที่ทำ บัซซี่ บีส์เกิดมาเพื่อเป็นแพลตฟอร์มสะสมแต้ม แลกรางวัล พิ้งค์และทีมช่วยกันคิดจากตัวเองที่ชอบส่วนลดและ โปรโมชั่นมาก ทุกการใช้จ่ายของฉันต้องคุ้มค่าที่สุด

“พอการตลาดที่ดีมาเจอกับไอทีเจ๋งๆ มันก็กลาย เป็นซูเปอร์ทีม ทำให้พอเปิดตัวปุ๊บ Galaxy Gift ติด ตลาดทันที เราเองก็ได้เรียนรู้ว่าวิชั่นเราถูกต้องนะคะ แต่วิธีการเราผิด ต้องทำอะไรง่ายๆ อย่าเยอะ ด้วยวิธี นี้เราได้ลูกค้ารายใหญ่คือ ซัมซุง เอไอเอส และ ปตท. ผ่านไป 2 ปีมีลูกค้า 3 รายเท่าเดิม กลายเป็นความ ชอกช้ำที่เราต้องมานั่งคุยกันอีกครั้งว่าหรือเราเป็น ธุรกิจที่ไม่โต ปิดตัวดีไหม เราไม่ได้ทำอะไรผิดเลย แค่ เรามาเร็วไป ผู้บริโภคยังไม่พร้อม สุดท้ายเราอดทน กันจนถึงปีที่ 4 จู่ๆ ยอดพุ่งทะลุกราฟ”

สาเหตุก็เพราะเทคโน­โลยีและผู้บริโภคทันกัน สตาร์ทอัพบัซซี่บีส์จึงผงาดขึ้นเป็น Digital CRM (Customer Relationsh­ip Management การบริหาร จัดการความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้า) เบอร์ หนึ่งของประเทศ­ไทยที่ครองส่วนแบ่งในตลาดกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ แต่สิ่งที่ทำให้ผึ้งงานทุกตัวภูมิใจคือ

‘บซั ซบี่ สี ์ไม่ใชธ่ รุ กจิ ทกี่ ำไรเยอะ แต่ คนทำงานภมู ใิ จ ทกุ วนั ทเี่ ดนิ เขา้ บรษิ ทั ทกุ คน รวู้ า่ ฉนั มมี ชิ ชนั่ และรวู้ า่ ฉนั จะทำภารกจิ อะไรใหส้ ำเรจ็ ’

การปฏิวัติการใช้จ่ายของคนไทย “สมัยก่อนเราซื้อ เวาเชอร์เป็นกระดาษ ต้องจ้างมอเตอร์ไซค์ส่งบัตรนี้ไป ยังไปรษณีย์ ต้องทำขั้นตอนต่างๆ วุ่นวาย แต่พอเราเข้า มาเปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นดิจิตอล ทำให้คนเปลี่ยนมา Redeem Transactio­n (การใช้สิทธิ์แลกซื้อของรางวัล บนมือถือ) ได้เป็นล้านๆ ครั้ง ไม่ใช่แค่เราช่วยประหยัด กระดาษไดป้ รมิ าณมหาศาล แตย่ งั หมายถงึ การประหยดั ทรัพยากรต่างๆ ทั้งพลังงานในการข­นส่ง แรงงานคน และเวลา ซึ่งอันหลังเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุด”

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาผู้คนเปิดรับเทคโนโลยีมาก ขึ้น จนโทรศัพท์มือถือกลายเป็นอวัยวะที่ 33 เป็นห้าง สรรพสินค้า ประกันภัย จนถึงธนาคาร เมื่อนั้นรายรับ ของบัซซี่บีส์เติบโตขึ้นเรื่อยๆ จากติดลบก็เริ่มได้กำเงิน 5 ล้านบาท แล้วเพิ่มขึ้นเป็น 50, 160, 390, 665 ปีนี้อาจ ไปแตะที่ 800 ล้านบาท ฝันดีของเธอและทีมทุกคนก็คือ เดินไปทางไหนก็เห็นแต่ผลงานของตัวเอง “ทำบัซซี่บีส์ แล้วภูมิใจนะ เดินเข้า 7-11 แคมเปญโค้กนั่นเราก็ทำ ไป ร้าน Boots ป้ายทั้งหมดฉันก็ทำ เปิดมือถือมาเจอแอพ Galaxy Gift นั่นฉันก็ทำ แม้แต่จะไปกู้เงินทำธุรกิจ เราก็ เป็นคนทำแอพกู้เงินให้ธนาคารเอสเ­อ็มอี เมื่อเช้าเราคุย กันเรื่องโปรโมชั่นของ Royal Canin สำหรับชิวาว่าและ แมวเปอร์เซียในที่ประชุม

“จะเห็นว่าเราทำงานก­ว้างมาก เพราะลูกค้าเรามี ตั้งแต่ธนาคารทุกแห่ง ยกเว้นธนาคารของ­รัฐ บริษัท ประกันระดับท็อป ยกเว้นเอไอเอ ปั๊มน้ำมันเจ้าใหญ่ เกอื บทกุ แหง่ เนสทเ์ ล่ สงิ ห์ โคก้ เอม็ 150 มามา่ ยามาฮา่ ไปจนถึงอาหารสัตว์ พูดง่ายๆ ว่าโปรโมชั่นทุกอันและ อาร์ตเวิร์กทุกชิ้นที่ผู้บริโภคเห็นในแอพ เราเป็นคนทำ ให้ทั้งหมด เราทำแม้กระทั่งซื้อของแจกโปร­โมชั่น แถม ส่งให้อีกต่างหาก เมื่อเช้าหนึ่งในเรื่องที่ประชุมกันคือ โถส้วมเป็ด ของแจกของ Mead Johnson ส่งไปถึงมือ ลูกค้าหรือยัง ทุกอย่างที่พูดมา เราใช้ไอทีทำงาน ให้ทั้งหมด เรามีคนทำงานแค่ 200 กว่าคน ไม่ได้มี พนักงานหมื่นคนนะคะ”

เธอเล่าถึงฝันดีไปแล้ว มาถึงคิวฝันร้ายกันบ้าง “รู้สึก เหมือนออกสนามร­บตลอดเวลา” เธอหัวเราะแห้งๆ “ทุกวันมีเรื่องให้ตั้งคำถามตัวเองว่าฉันทำอะไรอยู่ ด้วย ความที่โมเดลธุรกิจของบัซซี่บีส์ไม่เหมือนสตาร์ทอัพ ทั่วไป ปกติเขามีกัน 3 แพลตฟอร์ม คือ ไอโอเอส แอนดรอยด์ และเว็บ ส่วนเรามี 300 กว่าแพลตฟอร์ม เพราะแต่ละแบรนด์มีแพลตฟอร์มหลากหลายม­าก แล้ว เราเข้าถึงผู้ใช้งาน 62 ล้านคนในประเ­ทศไทย มีลูกค้า 130 บริษัท เราติดอันดับ 1 ใน 3 ของผู้ใช้งานสูงสุดใน ประเทศไทย รองจากเฟสบุ๊กและไลน์เท่านั้น แต่ก็หมาย ถึงปัญหามากมายใ­นแต่ละวัน ถ้ามีคนคอมเพลนวันละ 60,000 คน นั่นเท่ากับ 0.01 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ทีมของ เราจิตแข็งสุดๆ ค่ะ (หัวเราะ) เพราะเรามีแอตติจูดว่า ‘Can Doz’

“ถ้าจะคิดว่าลูกค้าจ่ายเงินให้เราเพื่อทำแค่สิ่งนี้ เราก็ ทำแค่นี้ก็ได้ จบ แต่ลองคิดดูว่าถ้าลูกค้าทำแคมเปญไ­ม่ สำเร็จ เช่น แบรนด์โดนัทตั้งเป้า 10,000 ชิ้น แล้วมีคน มาแลกไปแค่ 1,000 ชิ้น ครั้งหน้าเขาไม่กลับมาใช้เรา นะคะ แต่ถ้าของหมดทั้งหมื่นชิ้น ครั้งหน้าเขาก็กลับมา หาเราอีก มันคือการแคร์ลูกค้าซึ่งไม่ใช่หน้าที่ที่อยู่ใน job descriptio­n เราเลยสร้างระบบการท­ำงานใหม่ซึ่งไม่เคย เกิดขึ้นเวลาดีลงาน บัซซี่บีส์ไม่ใช่ธุรกิจที่กำไรเยอะ แต่ คนทำงานภูมิใจ ทุกวันที่เดินเข้าบริษัท ทุกคนรู้ว่าฉันมี มิชชั่นและรู้ว่าฉันจะทำภารกิจอะไรให้สำเร็จ แอตติจูด คือเราจะทำจน­ถึงที่สุด ไม่ได้คิดว่าไม่ใช่หน้าที่เรา”

ลูกค้าเป็นทั้งผู้มีพระคุณและเป็นยาขม นึกภาพไม่ ออกเลยเธอรับมือกับภาคยาขมนี้ได้อย่างไรทุกวันตั้ง 130 บริษัท “ทีมของเราไม่เคยคิดว่าลูกค้าคือยาขม เพราะพิ้งค์ทำให้ทุกคนเห็นเป็นตัวอย่าง ทุกเคสที่มี ปัญหา พิ้งค์โทร.เองหมด เราเข้าหาลูกค้าด้วยแอตติจูด ว่าเราเข้าไปช่วยให้ดีขึ้น ที่อื่นอาจให้คนที่รับผิดชอบ หรือหัวหน้าทีมเข้าไปคุย แต่ที่นี่เจ้าของลงไปแก้เอง ปัญหาที่เกิดขึ้นและวิธีแก้ 90 เปอร์เซ็นต์อยู่ที่การสื่อสาร ต้องบอกลูกค้าก่อนว่ามีความเสี่ยงอะไรบ้างและต้อง สื่อสารชัดเจน เวลาพิ้งค์เข้าไปเคลียร์ปัญหา พิ้งค์ไม่ได้ ทำอะไรต่างจากสิ่งที่น้องจูเนียร์ในทีมทำ เพียงแต่เรา สื่อสารชัดเจนกว่า

“คติในการทำงาน­ของพิ้งค์คือเชื่อเรื่องความซื่อสัตย์ และความรับผิดชอบ มีช่วงหนึ่งที่รายรับไม่สมดุลกับ รายจ่าย พิ้งค์บอกฝ่ายบัญชีเลยว่าใครจะจ่ายช้ากับเรา เป็นเรื่องของเขา แต่เราจะไม่จ่ายช้ากับใครเลยสักครั้ง นี่เราซื้อความสบายใ­จให้ตัวเองนะคะ เรานอนหลับ ไม่ ต้องกังวลว่าจะมีคนมาทวงเงิน และเราเชื่อว่าเราเก่ง พอที่จะหนีจากปัญหานี้ไปได้ พิ้งค์เชื่อว่าในการทำงา­น ต้องไม่โกหกกัน น้องในทีมเคยขึ้นแคมเปญผิด พิ้งค์ บอกว่ารีบโทร.ไปบอกลูกค้าเลย รู้เร็วยิ่งโกรธน้อย

“สุดท้ายแล้วพิ้งค์ไม่เชื่อในตำแหน่ง ไม่เชื่อในความ เป็นผู้ใหญ่หรือเด็ก และไม่เชื่อใน job descriptio­n อย่าง รุนแรง ที่นี่เราแปะไว้ที่ลิฟต์เลยว่า Leader not by title but by action. ที่อื่นอาจระบุว่าตำแหน่งนี้มีหน้าที่ 10 ข้อ ฉันทำแค่ 10 ข้อ นอกนั้นไม่ใช่หน้าที่ฉัน แต่ที่นี่ไม่ใช่เลย ค่ะ แอตติจูดของเราเลย­สะท้อนไปถึงลูกค้าด้วย ไม่ใช่ งานของเราก็หยิบมาทำ พิ้งค์เชื่อว่าถ้าคนพัฒนาเป็น แนวตั้ง คือทำตามหน้าที่ 1-10 จะเก่งไม่เท่าคนที่พัฒนา ไปตามแนวนอ­น ความกว้างทำให้เราเห็นแง่มุมอื่นนอก เหนือจากมุมของตัวเอง ถ้าคุณมีโอกาสจะเล่นในเวที ไหนก็ได้ในชีวิต จะไม่มันกว่าหรือ พิ้งค์และคุณไมเคิล ไม่มีห้องทำงานนะค­ะ เรามีแค่โต๊ะตัวเดียว เราไม่มี กำแพง ไม่มีลำดับขั้นและไม่มีคำว่าทำงานข้ามหัวกัน

‘อยากทำอะไร ทำไปเลย ถงึ จะลม้ เหลว กท็ ำใหม่ จนกระทงั่ คณุ หามนั เจอ แลว้ คณุ จะรวู้ า่ การเจรจา ครงั้ ถดั ไปมนั งา่ ยขนึ้ ’

ถ้ามันต้องข้ามก็ต้องข้ามค่ะ เราเชื่อใจกันว่าทุกคน ทำงานเพื่อให้องค์กรเดินหน้า”

ถ้าดูจากงานที่ทำ จะเห็นเลยว่าเต็มไปด้วยเรื่อง เทคโนโลยี ชนิดที่ตอนสัมภาษณ์ต้องเปิดตำราสตาร์ท อัพให้วุ่นวาย แต่ถ้าจะสังเกตว่าเธอใช้คำว่า ‘เราเชื่อว่า’ นำในทุกประโยค อะไรคือสิ่งที่เธอเชื่อมากที่สุด “พิ้งค์ เชื่อในวิสัยทัศน์” เธอตอบเร็ว “ทุกวันพฤหัสเราจะทำ Company Value Session ให้คนในองค์กรแลกเปลี่ยนกัน ว่าผู้นำในความคิดของแต่ละคนเป็นยังไง คำตอบที่ได้ก็ เช่น ผู้นำคือคนที่แก้ปัญหาได้ รับฟัง ทำให้ทีมไปได้ พิ้งค์บอกเลยว่าไม่ใช่ ผู้นำที่แท้จริงต้องเป็นคนที่สร้าง วิสัยทัศน์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าวันนี้พิ้งค์ มัวแต่ทำงานรูทีนไปวันๆ องค์กรและตัวเราก็จะอยู่กับที่ และถอยหลังไปในที่สุด

“พิ้งค์ขอยกเคสคลา­สสิกของโลกคือโกดัก เขาเป็น เจ้าแรกที่คิดกล้องถ่ายรูปดิจิตอลได้ แต่ฝ่ายบริหารบอก ให้เอาไปซ่อน อย่าให้คนรู้ เพราะมันจะทำให้กล้องฟิล์ม หายไป แต่เมื่อเทคโนโลยีเกิดขึ้นแล้ว สุดท้ายมีคนคิด แทนโกดักได้อยู่ดี ฉะนั้นคุณต้อง disrupt ตัวเองก่อน ไม่ อย่างนั้นคุณเองนั่นแหละที่จะหายไป น่ากลัวไหมคะ วันนี้ถ้าพิ้งค์ทำโปรโมชั่นให้ตายเพื่อให้ทุกคนจงดูทีวีกัน ต่อไป แต่เราสู้เทรนด์ดูหนังบนมือถือไม่ได้หรอกค่ะ ลอง ถามเด็กอายุต่ำกว่า 25 ว่ามีใครดูทีวีบ้าง เขาไม่ดูละคร เต็มเรื่องด้วยซ้ำ ดูแค่ไฮไลต์ไม่กี่นาที เขาไม่รู้จักดารา รู้จักแต่ยูทูบเบอร์ และในอีก 5 - 10 ปีข้างหน้าโลก จะไม่มีมือถืออีกแล้ว มันจะกลายเป็นสิ่งอื่น อาจเป็น คอนแท็กต์เลนส์หรือเป็นชิปในสมอง แล้วเมื่อไหร่ที่ เทคโนโลยีแพร่กระจายในระ­ดับแมส มันคือสึนามิ พิ้งค์ เลยเชื่อว่าสู้อะไรก็สู้ได้ แต่อย่าสู้เทรนด์และสู้กับคู่แข่ง

“คนชอบคิดว่าธุรกิจต้องแข่งกัน แต่ชีวิตและงานเป็น infinite game ไม่ใช่ว่าแพ้คราวนี้แล้วจะแพ้คราวหน้า สิ่ง ที่เราแข่งคือเราแข่งกับตัวเอง ถ้าเรามัวแต่ดูคู่แข่ง

‘ถา้ คณุ ไมห่ ยดุ เดนิ ขนึ้ บนั ได คณุ กม็ แี ตข่ นึ้ ไปเรอื่ ยๆ ตอ่ ให้โดนผลกั ตกกต็ กลงมา กล็ กุ แลว้ เดนิ ขนึ้ ไปใหม’่

แล้วไม่ต้องพัฒนาตัวเองหรือ จะโทษทำไมว่าเขา มาก็อปปี้เรา หนีไปเล่นเรื่องอื่นเลยสิ พิ้งค์บอกได้ เลยว่าทุกอย่างจะถูก disrupt ทั้งนั้น ไม่มีอะไรที่ ไม่ถูกเปลี่ยน วันนี้ฟูจิก็ไปทำเครื่องสำอาง อาร์เอส ขายน้ำยาปลูกผม ฉายซีรี่ส์อินเดีย คุณจะทำอะไร ก็ได้เพราะชีวิตเป็นเกมที่ไม่มีจุดจบ ชอบมีคนพูด ว่ากว่าคนเขาจะมา­สนใจเราก็สายไปแล้ว ความ สายอยู่ที่อะไรคะ ในเมื่อเรากำลังสู้กับสิ่งที่เป็น infinite ไม่ใช่การวิ่งแข่งที่มีเส้นชัย รู้ผลแพ้ชนะ กันไป แต่เราวิ่งไปไม่มีวันจบ ถ้าเข้าใจเรื่องนี้จะ เป็นการแข่งกับตัวเองเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายของ ตัวเอง เป้าหมายมีแล้วดีนะคะ เราจะชัดเจนกับ ชีวิตและไม่กลายเป็นคนอะไรก็ได้ ซึ่งนั่นอันตราย ที่สุด วันนี้อยากทำอะไร ทำไปเลย Just do it. แล้ว คุณก็จะล้มเหลว แล้วก็ทำใหม่ เฟลอีกก็ทำใหม่อีก จนกระทั่งคุณหามันเจอ แล้วคุณจะรู้ว่าการเจอครั้ง ถัดไปมันง่ายขึ้น”

เป้าหมายทางธุรกิจที่เธอทำสำเร็จไปแล้วคือ การทำให้บัซซี่บีส์เป็นอันดับหนึ่งของประเทศ เป้า ต่อไปในระดับภูมิภาคคงไม่ยากเกิน และยังเป้า ระหว่างทางว่าเมื่อเข้าตลาดหุ้น เธอจะกระจา­ยหุ้น 5 เปอร์เซ็นต์ให้แก่พนักงานทุกคน “เขาอาจมีเงิน ถึง 10, 20 หรือ 30 ล้านได้ ซึ่งในชีวิตพนักงาน หนึ่งคนแทบไม่มีวันเห็นเงินก้อนนี้ แต่พิ้งค์จะทำให้ ทุกคนเห็น”

เสน่ห์ของคนทำสตา­ร์ทอัพคือพวกเขาเป็นคนมี แพสชั่นแรงกล้า และแม้จะทำงานข้องเกี่ยวกับ เทคโนโลยีซับซ้อน ทว่าก็เป็นคนฝันสนุกสนาน อย่างเหลือเชื่อ “ฝันสูงสุดของพิ้งค์คืออยากยก ระดับประเทศไทย­ในทุกๆ ด้าน ตั้งแต่การศึกษา จนถึงการเกษตร พิ้งค์เห็นพนักงานคนหนึ่งต้อง ลากลับบ้านทุกปีเพื่อไปปลูกข้าว ปลูกแล้ว น้ำก็ท่วมทุกปี เขาแค่ต้องการเงินชดเชย น้ำท่วม พนักงานอีกคนต้องยืมเงินพิ้งค์ ทุกครั้งที่ไปดำนา เพราะได้เงินมาก็ต้อง เอาไปซื้อปุ๋ยซื้อยา ขาดทุนแต่ก็ยังทำมัน

เพื่ออะไร

“ถา้ พง้ิ คม์ ขี อ้ มลู จากกระทรวง­เกษตรฯ

ว่า คนนี้ทำนาแล้วขาดทุนทุกปี พิ้งค์จะ ต้องแนะนำให้เขาปลูกพืชชนิดอื่นหรือ เลี้ยงปลาแทนได้แล้ว และพิ้งค์จะให้กู้เพื่อ ไปทำเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่ ไม่ใช่ให้กู้ เพื่อไปปลูกข้าวแล้วน้ำท่วมหรือขาดทุนซ้ำซาก ถ้าเรื่องนี้มี Big Data เราแก้ได้ มันไม่ง่ายหรอกค่ะ แต่เราเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ เริ่มทำก่อนจาก กลุ่มคนที่พร้อม สมมุติเกษตรกรไทย­มี 10 ล้าน ทำได้แสนคนก็ดีใจแล้ว คิดดูว่าจะมีกี่ครัวเรือนที่ ชีวิตดีขึ้น

“ถ้าคุณไม่หยุดเดินขึ้นบันได คุณก็มีแต่ขึ้นไป เรอ่ื ยๆ ตอ่ ใหโ้ ดนผลกั ตกกต็ กลงมา กล็ กุ แลว้ เดนิ ขน้ึ ไปใหม่ อย่ามาเสียดายบันไดขั้นที่เดินไปแล้ว และ ไมม่ คี ำวา่ สาย ประเทศกเ็ ปน็ infinite game ไมใ่ ชว่ า่ อีก 99 ปีจะหมดสัญญาการเป็นประเทศ ถ้าคุณ ทำใหป้ ระเทศดขี น้ึ วนั น้ี มนั กด็ ขี น้ึ วนั นเ้ี ลยคะ่ ”

 ??  ??
 ??  ?? คณุ พงิ้ คส์ วมนาฬกิ า Cartier รนุ่ Baignoire ตวั เรอื นเยลโลวโ์ กลด์ สายหนงั จระเข้ และเครอื่ งประดบั คอลเลกชนั่ Trinity de Cartier
คณุ พงิ้ คส์ วมนาฬกิ า Cartier รนุ่ Baignoire ตวั เรอื นเยลโลวโ์ กลด์ สายหนงั จระเข้ และเครอื่ งประดบั คอลเลกชนั่ Trinity de Cartier
 ??  ?? คณุ พงิ้ คเ์ ชอื่ วา่ “ผนู้ ำทแี่ ทจ้ รงิ ตอ้ งเปน็ คนทสี่ รา้ งวสิ ยั ทศั น์ ทที่ ำใหเ้ กดิ การเปลยี่ นแปลงได”้
คณุ พงิ้ คเ์ ชอื่ วา่ “ผนู้ ำทแี่ ทจ้ รงิ ตอ้ งเปน็ คนทสี่ รา้ งวสิ ยั ทศั น์ ทที่ ำใหเ้ กดิ การเปลยี่ นแปลงได”้
 ??  ?? วนตามเขม็ นาฬกิ าจากบน: คณุ พงิ้ คก์ บั สามไี ดร้ บั เชญิ จากไมโครซอ­ฟตไ์ ปรว่ มงานสมั มนาทลี่ าสเวกสั ; พาลูกชายเดินชมซากุระที่ญี่ปุ่น; บัซซี่บีส์ฉลองผู้ใช้งานบนแพลตฟ­อร์ม CRM Privilege ทะลุ 10 ล้านราย เมื่อ พ.ศ. 2558; ประสบการณ์ครั้งแรกที่ได้นั่งเฮลิคอปเตอร์ข้างกัปตันชมบรรยากา­ศ เมอื งลาสเวกสั
วนตามเขม็ นาฬกิ าจากบน: คณุ พงิ้ คก์ บั สามไี ดร้ บั เชญิ จากไมโครซอ­ฟตไ์ ปรว่ มงานสมั มนาทลี่ าสเวกสั ; พาลูกชายเดินชมซากุระที่ญี่ปุ่น; บัซซี่บีส์ฉลองผู้ใช้งานบนแพลตฟ­อร์ม CRM Privilege ทะลุ 10 ล้านราย เมื่อ พ.ศ. 2558; ประสบการณ์ครั้งแรกที่ได้นั่งเฮลิคอปเตอร์ข้างกัปตันชมบรรยากา­ศ เมอื งลาสเวกสั
 ??  ??
 ??  ??
 ??  ??
 ??  ?? คณุ พงิ้ คก์ บั ลคุ ทะมดั ทะแมง ในวนั ทำงาน
คณุ พงิ้ คก์ บั ลคุ ทะมดั ทะแมง ในวนั ทำงาน

Newspapers in Thai

Newspapers from Thailand