Hello! (Thailand)

The Talented พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ

เด็กใต้ในครอบครัวนักกีฬาผู้กลายเป็นแชมป์โลก เทควันโดอนาคตไก­ล ‘ถ้าแพ้ก็ต้องแพ้แบบไม่เสียใจ’ ‘หนูมาเล่นเทควันโดก็เพราะ พ่อบังคับให้เล่นตามพี่ชาย เห็นพี่เตะกันแล้วน็อกบ้าง ปากแตกบ้าง เลยไม่กล้าเล่น เท่าไร’

-

กีฬาเทควนั โดนบั เปน็ กฬี าอกี ชนดิ ทส่ี รา้ งชอ่ื เสยี งให้ กับประเทศไทย­ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เพราะ ความขยนั ฝกึ ซอ้ มบวกกบั ความมงุ่ มน่ั ของนกั กฬี า และโค้ช ทำให้นักเทควันโดไทยสามา­รถคว้ารางวัลใน แมตช์สำคัญมาครอง และล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ ผา่ นมา เทนนสิ -จา่ อากาศตรหี ญงิ พาณภิ คั วงศพ์ ฒั นกจิ กส็ ามารถควา้ เหรยี ญทองจากการ­แขง่ ขนั กฬี ามหาวทิ ยาลยั โลกได้สำเร็จอีกครั้ง ในปีหน้าเธอจะเดินทางไปแข่งขัน โอลมิ ปกิ ฤดรู อ้ นซง่ึ จดั ขน้ึ ทป่ี ระเทศญป่ี นุ่

ไม่น่าเชื่อว่าเด็กสาวร่างแบบบางแล­ะเป็นลูกหลงใน จำนวนลูกๆ ทั้งสามคนของคุณพ่อสิริชัยและคุณแม่ วันทนา และทั้งสามพี่น้องก็มีชื่อเล่นเป็นกีฬาหมด ตั้งแต่โบว์ลิ่ง-กรวิกา และเบสบอล-ศราวิน กระทั่ง เทนนิส สะท้อนให้เห็นถึงแง่คิดของคุณพ่อผู้เป็นอดีต ศึกษานิเทศก์จังหวัดและเป็นผู้ตั้งชื่อเล่นเหล่านี้ให้กับ ลูกๆ เพราะอยากใ­ห้ลูกมีกีฬาเป็นสรณะ และใครจะคิด ว่าลูกสาวคนสุดท้องของครอบค­รัวจะกลายเป็นนัก เทควันโดมือหนึ่งของโลกได้

แพสชั่นในกีฬา

“พ่อกับแม่ชอบกีฬามากค่ะ ก็เลยตั้งชื่อลูกเป็น กีฬาทุกคนเลย” คุณเทนนิสบอกกับเราถึงที่มาของ ชื่อเล่น “เวลาว่างพ่อก็เล่นฟุตบอล วิ่ง กับว่ายน้ำ ส่วนแม่เป็นคนนำเต้นแอโรบิกตอนเย็นๆ ทำให้หนู ชอบกีฬาไปด้วยเลย”

ในอดีตเด็กสาวชาวสุราษฎร์ฯ คนนี้เป็นคนที่ ไม่มีทักษะทางกีฬาเลย แต่เป็นธรรมเนียมของ ครอบครัวที่คุณพ่อจะปลุกลูกทุกคนขึ้นมาวิ่งทุก เช้า “พ่อชอบให้ลูกเล่นกีฬา เพราะว่าจะได้มีอะไร ทำ ไม่ให้ว่าง เมื่อก่อนก็เป็นนักวิ่งด้วย แต่ได้ เหรียญแค่ระดับอำเภอ

“ที่หนูมาเล่นเทควันโดก็เพราะพ่อบังคับให้เล่น ตามพี่ชาย และเห็นพี่เตะกันแล้วน็อกบ้าง ปาก แตกบ้าง เพราะเขาเล่นแรงตามประ­สาผู้ชาย ก็ เลยไม่กล้าเล่นเท่าไร และตอนนั้นแค่ 7 ขวบก็ไป วิ่งเล่นสนุกๆ ค่ะ แต่มาลงแข่งเทควันโดตอนอายุ 9 ขวบ ทแี รกไมไ่ ดอ้ ยากลงแขง่ เหมอื นกนั บอกพอ่ ว่าขอแข่งแบบสนุกๆ เพราะกลัวเจ็บมาก ตอนนั้น เรายังเด็กรูปร่างผอมแห้งไม่มีแรง ทีนี้เขาไปแข่งที่ ภูเก็ต แล้วหนูอยากไปเที่ยวทะล เพื่อนๆ ก็ไปกัน หนู เลยบอกพ่อว่าให้พ่อพาไปเที่ยวทะเลที่ภูเก็ตหน่อย พ่อ บอกไม่ได้ ถ้าอยากไปก็ลงแข่งสิ เลยสมัคร ก็แพ้ตั้งแต่ รอบแรก สู้ไม่ได้ ห่างอยู่ 7 คะแนนก็คือ out score กรรมการจับแพ้เลย เป็นการแพ้เพื่อนจังหวัดเดียวกัน แต่คนละยิม ก็เลยคาใจ ตั้งแต่นั้นมาก็ตั้งใจซ้อม

“แต่ก็ยังแพ้อยู่นะคะ แพ้จนไม่รู้จะแพ้ยังไง (หัวเราะ เบาๆ) ส่วนเพื่อนคนนี้ชื่อเปียโน ตอนชิงแชมป์ภาคใต้ก็ เจอกัน ชิงแชมป์ประเทศไทยขึ้นมาแข่งรอบแรกที่ กรุงเทพฯ ก็เจอกันอีก ตอนนี้เขาก็เรียนอยู่ และยัง ติดต่อกันทางเฟสบุ๊ก”

ก้าวสู่การเป็นนักเทควันโดทีมชาติ

เทนนิสเรียนที่โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา ซึ่งเป็น โรงเรียนดังอันดับสองของจังหวัดมาโดยตลอด โดยมี คุณพ่อเป็นผู้ดูแลให้กำลังใจแทนคุณแม่ซึ่งเสียชีวิตเมื่อ เธออายุเพียง 7 ขวบ “แม่ไม่ทันได้ดูหนูแข่ง” หลังจาก เธอควา้ เหรยี ญทองจากการ­แขง่ ขนั กฬี าเยาวชนแหง่ ชาติ สมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทย­เรียกตัวผู้ชนะเลิศ และรองชนะเ­ลิศอันดับ 1 เข้าเก็บตัวฝึกซ้อมเพื่อ คัดเลือกเป็นนักกีฬาทีมชาติไทย

“ดีใจมาก ตื่นเต้น เพราะเป็นครั้งแรกที่ต้องจากบ้าน มาใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ ตอนนั้นต้องทำเรื่องมาขอฝาก เรียนม.1 ที่โรงเรียนเทพลีลาต่อ เพราะยังไม่รู้ว่าสมาคม เทควันโดฯ จะรับเราเข้าทีมชาติไหม คือเขาพร้อมจะคัด เราออกทุกอาทิตย์ ฝากเรียนอยู่นานหลายเดือน เหมือนกันค่ะ คุณพ่อก็ไม่ยอมให้ลูกขาดเรียน เพราะ กลัวลูกโง่ เขาห้ามดื้อเรื่องการเรียน

“มาที่นี่ทำให้เราตาสว่าง จากที่เคยคิดว่าตัวเองเก่ง พอเข้ามาที่นี่คือทุกคนที่มาเป็นหัวกะทิหมด เพราะยังมี คนที่ได้เหรียญทองจากแม­ตช์อื่นๆ อีก แล้วเขาไม่ให้เรา เตะแค่กับรุ่นของตัวเอง ถ้ารุ่นพี่เรียกไปก็ต้องรับเท้า เข้ามาแรกๆ ก็เหมือนโดนรับน้องก่อน จากที่กลัวเจ็บก็ ปากแตกกลับบ้านพี่ที่ปทุมธานีทุกวัน ร้องไห้บอกพี่ว่า ไม่อยากซ้อมต่อแล้ว พอเถอะไม่ไหว พี่ก็ปลอบใจว่ามี คนอีกตั้งเยอะที่อยากเข้ามาคัดตัวแต่ไม่มีสิทธิ์ ในเมื่อ เราได้สิทธิ์มาคัดตัวแล้วก็ทำให้เต็มที่ ติดหรือไม่ติด ไม่เป็นไร ให้อยู่จนโดนไล่ออก หนูก็ทนอยู่ทุกวันๆ”

แมตช์แรกที่ได้เป็นตัวแทนประเทศ­ไทยคือ Korea Open ซึ่งเธอต้องเจอคู่ต่อสู้ที่เป็นชาวเกาหลีใต้ต้นตำรับ เสียเป็นส่วนใหญ่ นอกนั้นก็คือเม็กซิโก ซึ่งเธอได้ เหรียญทองกลับมา แต่สำหรับแมตช์สำคัญสำหรับใจ เทนนิสก็คือตอนชิงแชมป์โลกครั้งแรก

“ตอนนั้นเพิ่ง 17 ปี เด็กสุดที่ลงแข่ง เพราะเขายัง ไม่ทันกำหนดว่าต่ำสุด 18 ปี สามยกแรกคะ­แนนเท่ากัน ก็เลยไปตัดสินในยกที่สี่ว่าใครทำคะแน­นถึงก่อนคนนั้น ชนะ แล้วไม่มีใครทำคะแนน­ได้ แต่ว่าเท้าโดนเซ็นเซอร์ ยังไม่เป็นแต้ม แล้วเซ็นเซอร์หนูได้เยอะกว่า เลยชนะ แบบงงๆ เพราะเห็นเซ็นเซอร์เราเตะเข้าบ่อย แต่ไม่ถึง พาวเวอร์ที่แต้มจะขึ้น แล้วพอมาปีนี้แต้มห่าง เลยได้ เหรียญทองแบบไม่ฟลุค ก็รู้สึกดีใจที่ตัวเองทำได้

“แล้วหลังจากนั้นก็ได้เหรียญทองแชมป์ประชาชน เอเชยี ทอ่ี ซุ เบกสิ ถาน แมตชใ์ หญๆ่ นอกนน้ั กม็ ที ร่ี สั เซยี ซง่ึ พอเจอเสียงเชียร์จากยุโรป มีแรงกดดันของฝั่งตรงข้ามที่ ส่งเสียงโหวกเหวก­โวยวาย เวลาเจอสถา­นการณ์แบบนี้ หนจู ะทำสมาธดิ ว้ ยการหายใจเ­ขา้ ลกึ ๆ แลว้ อยกู่ บั ตวั เอง”

สำหรับแมตช์ที่ภูมิใจเป็นการชิงแชมป์โลกประชาชน อายุ 18 ปขี น้ึ ไปทอ่ี งั กฤษ เธอสามารถเ­อาชนะหวจู นิ หยู เจ้าของเหรียญทองโอลิมปิกหลายสมัยชาวจีน “เขา ชนะนักกีฬาไทยหมดเล­ยรวมทั้งหนูอีกสองครั้ง เลย ฝังใจ พอเจอกันอีกคราวนี้หนูชนะก็เลยดีใจมาก”

แชมป์โลกกับการลับคม

หลังจากฝากเรียนที่เทพลีลาจนถึงม.3 และกลับไป สอบที่สุราษฎร์ รวมทั้งทำงานส่งครูเพื่อเก็บคะแนน เธอ ได้ย้ายมาเรียนที่เทพลีลาจนจบมัธยมปลาย และได้ใช้ โควต้าและคะแนนส­อบ GAT/PAT เพื่อเข้าเรียน วิทยาศาสตร์การกีฬา ที่จุฬาฯ

“ตอนเรยี นเทพลลี า กเ็ ลอื กเรยี นสายศลิ ป-์ จนี แลว้ ยน่ื คะแนน GAT/PAT ซง่ึ รสู้ กึ วา่ จะใชป้ ระมาณ 40 เปอรเ์ ซน็ ต์ ค่ะ ที่เลือกเรียนวิชานี้เพราะจะได้เอามาใช้กับตัวเอง อย่างโภชนาการ หรือ Bio Mechanic ก็วิเคราะห์ตัวเอง เลย ตอนนี้อยู่ชั้นปี 4 แล้วค่ะ แต่คาดว่าคงจะจบ 5 ปี เพราะดรอ็ ปเคมไี วห้ นง่ึ วชิ า เราไมม่ พี น้ื ฐานวชิ านม้ี ากอ่ น ก็เลยยาก ติด F ไปแล้วสองรอบ แล้วเขาเปิดสอนแค่ เฉพาะเทอมส­องเทา่ นน้ั คะ่ กเ็ ลยชา้ กวา่ เพอ่ื นไปหนง่ึ ปี

“พ่อเองก็บอกว่าไม่ต้องเครียดมาก เราเอาดีทาง ด้านกีฬาและเรียนคู่กันไป ถ้าไม่ได้ A ก็ไม่ต้องเครียด เกรดอะไรก็ได้ B ก็ได้ C ก็ได้”

ส่วนการไปแข่งขันในต่างประเทศซึ่งต้องลาหยุด เธอทำอย่างไรให้เรียนทันเพื่อน แชมป์โลกบอกกับเรา ว่า “ก็ส่งใบลาไปก่อน ส่วนการบ้านต่างๆ ก็ให้เพื่อน ช่วยจดให้ว่ากลับมาต้องทำอะไรส่งอาจารย์บ้าง แต่ สำหรับวิชาเคมี ชีวะ ขาดก็คือขาด เพราะว่าไม่มีการ สอบเก็บคะแนน”

และหากเธอจ­บปริญญาตรีแล้วก็จะได้เลื่อนเป็น เรืออากาศตรีหญิง ซึ่งคงใช้เวลาอีกไม่นาน แต่ระหว่างนี้ เทนนสิ ยงั คงมงุ่ มน่ั กบั การซอ้ ม โดยทเ่ี ชา้ วนั จนั ทร์ พธุ และ ศุกร์ เธอจะวิ่งรอบราชมังคลากีฬาสถาน วิ่ง 400 เมตร และวง่ิ บนั ไดเพอ่ื สรา้ งกำลงั ขา สว่ นองั คารกบั พฤหสั ฯ เขา้ ฟิตเนสเพื่อทำเวทเทรน­นิง ตกเย็นอยู่ที่ยิม ส่วนวันเสาร์ ซอ้ มในยมิ หากมแี มตชแ์ ขง่ กต็ อ้ งซอ้ มวนั อาทติ ยด์ ว้ ย”

ถามว่ากว่าจะเป็นแชมป์โลกเธอต้องเผชิญกับภาวะ กดดันในการเรียนและซ้อมอย่างหนักขนาดไหน และ ทำอย่างไรถึงผ่านวิกฤตินั้นมาได้

“ตอนเช้าซ้อมเสร็จก็ปวดขาไปหมด­เลย แต่ต้องขึ้น รถไฟฟ้าไปเรียน เป็นแบบนี้ทุกวัน แล้วก็เรียนหนักด้วย ไม่มีเวลานอนกลา­งวันเลย ได้แต่พูดกับตัวเองว่าให้ อดทน พูดแบบนี้ทุกวันจนถึงปี 3 ว่า อีกนิดเดียวเอง เดินๆ ไปเดี๋ยวก็ถึง ช้าหน่อย ก็พยายามหาบันไดเลื่อน ขึ้น บางครั้งโดนเตะจนร­ะบมก็มีบ้าง โค้ชก็บอกว่า ถ้า ไม่อยากเจ็บตัวทำไมไม่เล่นกีฬาอื่น อย่างตอนแข่งเวลา เจ็บมากจริงๆ จะพยายามคิดว่าไม่เจ็บ เดี๋ยวก็จบแล้ว เพราะว่ามันย้อนเวลากลับมาไม่ได้ เพราะฉะนั้นทำให้ เตม็ ท่ี เจบ็ เดย๋ี วคอ่ ยรกั ษา จะไดแ้ พแ้ บบไมเ่ สยี ใจ สไู้ มไ่ ด้ เราก็กลับมาซ้อมใหม่

“มีน้องบางคนเจอ­ปัญหาเรื่องการเรียนกับการซ้อม เขารู้สึกเหนื่อย ก็บอกเขาว่าเราทำสองอ­ย่างต้องเหนื่อย กว่าคนอื่นอยู่แล้วละ อยากให้อดทน เพราะถ้าอยาก เก่ง อยากเป็นทีมชาติ อยากได้เหรียญทองก็ต้อง เหนื่อยหน่อย แต่ก็คุ้มกับเวลาและคว­ามพยายามที่ เสียไปค่ะ”

‘ปากแตกกลับบ้านพี่ทุกวัน ร้องไห้บอกพี่ว่าไม่อยากซ้อม ต่อแล้ว พี่ก็ปลอบใจ ให้อยู่ จนโดนไล่ออก หนูก็ทนอยู่ ทุกวันๆ’

 ??  ??
 ??  ??
 ??  ?? (บนซ้าย) ลิ้มรสการเป็น แชมป์โลกเทควันโด จาก เด็กใต้ร่างบาง ใครจะรู้ว่าเธอ จะเป็นนักเทควันโดอนาคต ไกล (ล่างซ้าย) กับคุณพ่อ และพี่ๆ ที่มาให้กำลังใจถึง ขอบสนาม
(บนซ้าย) ลิ้มรสการเป็น แชมป์โลกเทควันโด จาก เด็กใต้ร่างบาง ใครจะรู้ว่าเธอ จะเป็นนักเทควันโดอนาคต ไกล (ล่างซ้าย) กับคุณพ่อ และพี่ๆ ที่มาให้กำลังใจถึง ขอบสนาม

Newspapers in Thai

Newspapers from Thailand