Hello! (Thailand)

The Talented นรีกุล เกตุประภากร

นกั เรยี นแพทยแ์ ละนกั แสดงดงั จาก Hormones วยั วา้ วนุ่

-

น้อยคนที่จะค้นพบฝันตั้งแต่อายุยังน้อย หากฟรังนรีกุล เกตุประภากร ตัดสินใจว่าสอบเข้าเป็น นักเรียนแพทย์ในวันที่ประตูสู่วงการบันเทิงเปิด รับเธอเช่นกัน ตั้งแต่อายุแค่ 16 ปี ฟรังจึงเดินไปตามฝัน ทั้งสองทาง เป็นนักเรียนแพทย์แห่งคณะแพทยศา­สตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นนักแสดงวัยรุ่นชื่อดัง ของประเทศไ­ทย เป็นเส้นทางที่ทั้งหนักหนาและน่า ภูมิใจอย่างที่เธอสรุปไว้ว่า “มันเป็นสองโลกที่ไม่เหมือน กันเลย คงจะดีถ้าฟรังประสบความ­สำเร็จทั้งสอง โลกนั้น”

ตั้งแต่เช้าฟรังตื่นมาถ่ายงานโฆษณา­ชิ้นหนึ่ง ก่อนจะ นัดพบกับเราช่วงพลบค่ำวันอาทิตย์ วันหยุดไม่กี่วันใน รอบปีของเธอ สาวไฮเปอร์วัย 22 ปีบอกว่าการนอน เฉยๆ เป็นเรื่องยากสำหรับเธอ และการทำอะ­ไรหลาย อย่างพร้อมกันเป็นเรื่องปกติมากสำหรับคนที่อ่าน หนังสือเรียนในกองถ่ายละคร เป็นนักแสดงและเป็น นักเรียนแพทย์ไปด้วยอย่างเธอ

“บ้านฟรังอยู่ฝั่งธนฯ ตั้งแต่ป.2 ข้ามมาเรียน เซนต์โยเซฟคอนแว­นต์เลยต้องออกจากบ้านก่อน 6 โมง เช้า หลับตาเปลี่ยนชุดทุกวัน ขึ้นรถได้ก็นอน” เธอเล่า ชีวิตวัยเด็กที่ฝึกวินัยให้โดยไม่รู้ตัว และในยุคที่เด็กไทย ยังไม่นิยมเรียนโรงเรียนนานาชาติ แต่เธอเลือกเรียน ภาคภาษาอังกฤษ “เรียนวิชาส่วนใหญ่เป็นภาษา อังกฤษ ครูมาจากหลายช­าติ อเมริกัน อังกฤษ ออสเตรเลีย แต่ไม่ได้ภาษาเท่าเรียนนานาชาติ เพราะ เพื่อนก็เป็นคนไทยอยู่ดี แต่ก็เป็นวิชาที่คะแนนค่อนข้าง ดีนะคะ” ฟรังเล่า

ฟรังย้ำหลายครั้งว่าไม่ได้เรียนเก่ง ‘เบอร์นั้น’ แต่ ขนาดไม่ได้ติวยังสอบเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท หรือที่เรียกกันว่า ‘เตรียมฯ ใหญ่’ ได้ “ฟรังเรียน จบม.4 ที่เซนต์โยฯ แล้วด้วย แค่ไปลองสอบดู เรียน แผนกวิทย์-สาธารณสุขค่ะ” การเรียนที่เตรียมอุดมฯ ถือว่าเป็นช่วงผกผันเหมือนอยู่บนรถไฟเหาะ­เที่ยวแล้ว เที่ยวเล่า “วิชาที่ชอบเรียนที่สุดตอนเด็กๆ คือเลขค่ะ แต่ พอม.ปลายกลายเป็นวิชาที่เรียนแย่ที่สุด เพราะเรียน ภาคภาษาอังกฤษเราไม่ได้เรียนเลขลึกเหมือนโรงเรียน ไทย เจอมาแต่บวก ลบ คูณ หารธรรมดา แต่พอมา เรียนเตรียมฯ เจอตรีโกณ เจอโจทย์เลขยากๆ ยาวๆ เข้าไป ตกใจมาก ทำไมยากอย่างนี้ แล้วฟรังเคยอยู่ หอ้ งคงิ ทเ่ี ตรยี มฯ ตกเลขคนเดยี วในหอ้ ง โหดมาก ทกุ คน เก่งกันหมด

“ช่วงม.ปลายรู้สึกว่าต้องเริ่มหาตัวเอง ต้องคิดได้ แล้วว่าอยากเข้าคณะอะไร เราจะได้มุ่งไปในเส้นทางนั้น ไปเลย สุดท้ายอยากเป็นหมอ ฟรังชอบชีววิทยาและ เป็นคนขี้สงสาร อยากช่วยเหลือคนอื่น เราต้องเอาจริง เอาจังมากถ้าจะเรียนหมอจริงๆ เพราะสอบเข้ายากมาก คะแนนสูง ก็พอดีทางนาดาวเรียกไปแคสต์หน้ากล้อง เขาเห็นรูปฟรังตามโซเชียลที่มีคนเอาไปลง แล้วจู่ๆ ก็ โดนจับไปเข้าบ้าน Hormones The Next Gen ช่วงม.4 ปลายๆ ฟรังหายไปจากห้องเรียนเลย ทางรายการบ­อก ว่าห้ามเปิดเผยว่าไปทำอะไร เลยบอกเพื่อนว่าไปทำงาน แล้วหายไปเลย 2 อาทิตย์”

แจ้งเกิดในฐานะนักแสดงวัยรุ่น

จากนั้นมาวงการบันเทิงไทยก็มีดาวดวงใหม่ที่ชื่อ ฟรัง นรีกุล โลดแล่นแจ้งเกิดในบทออย จาก Hormones วัยว้าวุ่น ซีซั่น 2 และ 3 ซีรี่ส์เปิดเปลือยชีวิตวัยรุ่นแนว ใหม่ ซึ่งสร้างชื่อให้กับนักแสดงหน้าใหม่พร้อมกัน มากมาย เช่น ต่อ-ธนภพ ลีรัตนขจร และเจมส์-ธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญ ที่วันนี้ดังระดับซูเปอร์สตาร์ไปแล้ว

“ช่วงนั้นทั้งติวสอบเข้าหมอทุกวิชา ทั้งเป็นดรัม เมเยอร์ของโรงเรียน ทั้งเล่นฮอร์โมนส์ เพราะฟรังเริ่ม เล่นฮอร์โมนส์ ซีซั่น 2 เราเลยต้องเล่นซีซั่น 3 ต่อเนื่อง ไป ถอนตัวไม่ได้ เลิกกอง 4 ทุ่มแล้วกลับถึงบ้านต้อง อ่านหนังสือต่อ เคยร้องไห้เหมือนกันว่าทำไมต้องเอา ตัวเองมาเผชิญกับเงื่อนไขยากๆ แบบนี้ด้วย แต่ก็รู้สึก ว่าการได้เล่นฮอร์โมนส์เป็นโอกาสที่ดีมากๆ มันเปลี่ยน ชีวิตเราเยอะ เหมือนไปเข้าอีกโรงเรียนก็ว่าได้ ก่อนหน้า นั้นฟรังรู้สึกว่าตัวเองเป็นเด็กมากทั้งเรื่องความคิดและ ความรับผิดชอบ แต่ที่นาดาวสอนว่าเราไม่ใช่เด็ก เรา เป็นคนทำงาน เราต้องรับผิดชอบหน้าที่ของตัวเอง เขา ไม่ได้ทรีตเราเป็นเด็ก เราเลยรู้สึกว่าโตเป็นผู้ใหญ่มา ตั้งแต่นั้น มันเป็นสองทางที่คิดว่าคุ้มค่ากับความเหนื่อย เพราะเป็นเส้นทางที่ดีกับชีวิตเราทั้งสองอย่าง” ฟรังเล่า ในวันที่ผ่านมาได้

เธอตั้งใจมั่นว่าชีวิตนี้จะอุทิศให้กับอาชีพแพทย์จึง เลือกคณะแพทยศ­าสตร์ใน 3 อันดับแรก และเผื่อใจ อันดับสุดท้ายที่คณะทันตแพทย์ ในวันประกาศผลส­อบ ฟรังเป็นข่าวดังขึ้นหน้าหนึ่งสื่อทุกสำนักเมื่อเธอสอบติด

คณะแพทยศาส­ตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะ อันดับหนึ่งที่เลือกไว้ หลังจากนั้นมีภาพข่าวที่เธอนั่งอ่าน ตำราแพทย์ขณะอยู่ในกองถ่ายออกมาให้เห็นถึงความ อุตสาหะ “บางวันเราถ่ายซีนตอนเช้าเสร็จ ถ่ายอีกทีเย็น เลย ระหว่างนั้นมีเวลาว่างก็อ่านหนังสือ จนวันนี้ฟรัง เรียนหมอมา 3 ปียังรู้สึกว่าตอนม.6 เหนื่อยสุดในชีวิต แล้ว หลายคนบอกว่าตอนสอบเข้าไม่เหนื่อยเท่าตอน เรียนจริง แต่สำหรับฟรังตอนม.6 เหนื่อยที่สุด เป็นความ เหนื่อยด้านจิตใจด้วยว่าเราทำขนาด­นี้แล้วไม่รู้จะสอบ ติดหรือเปล่า เราจะเสียใจขนาดไหน ไม่มีทางรู้เลย เรา แค่ทำให้ดีที่สุด แต่พอได้เรียนหมอแล้ว เรารู้ว่าถ้าสอบ ไม่ผ่านก็ได้ F และสอบซ่อมได้”

เจ้าของเกรด 3.5 เล่าบรรยากาศห้องเรียนแพทย์ให้ ฟังด้วยว่า “การผ่าตัดอาจารย์ใหญ่ตอนปี 2 ถือเป็น ไฮไลต์ของการเรียนหมอของทุกคน เป็นอีกโลกที่เราได้ ผ่าและเรียนรู้ระบบทุกอย่างในร่างกายคน ฟรังไม่กลัว นะคะ ขนาดเพื่อนที่กลัวผีก็ไม่เป็นลม เราอยู่กับสิ่งนี้อยู่ แล้วด้วย เลยชินไปเอง เพราะถ้ากลัวคงไม่ได้เรียนรู้ อะไร” เธอเล่าว่าพรุ่งนี้จะได้ใส่เสื้อกาวน์สีขาวขึ้นวอร์ด ไปเรียนรู้จากผู้ป่วยจริงในโรงพยาบ­าลเป็นครั้งแรก ต้อนรับการเป็นนิสิตแพทย์ปี 4 ที่จะเวียนไปตามแผน­ก ต่างๆ ไปจนจบปี 6 “การเรียนหมอเริ่มเรียนจากกว้าง มากแล้วค่อยๆ แคบลง พอปี 5 ปี 6 จะเริ่มโดดเดี่ยว พอเรียนจบต้องจับฉลากใช้ทุนก็ต้องแยกย้ายกันไป ประจำตามโร­งพยาบาลคนเ­ดียวเลย”

หนทางไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบมาแต่แรก แต่ สำหรับเธอยังไม่ถึงขั้นโดนหนามแท­งจนกลัดหนอง เหมือนคนอื่น “บางคนไม่ได้อยากเรียนหมอจริงๆ เป็น ลักษณะของเด็กไทยด้วยมั้งคะที่ไม่รู้จักตัวเองก็เลยตาม เพื่อนหรือครอบครัวอยากให้เรียน คณะแพทย์แทบจะ เป็นดงเด็กซึมเศร้า ถึงจะสมองดีแต่ไม่มีใจก็เรียนไม่ไหว คนที่จะเรียนแพทย์ได้ ฟรังว่าต้องทุ่มเทจริงๆ แค่เรื่อง เรียนก็กินเวลา 70% ของชีวิตไปแล้ว เรียนหนักแล้ว ไม่ชอบอีกจะยิ่งไปกันใหญ่

“ถึงจะเรียนหนักและทำงานไ­ปด้วยแต่ฟรังสู้ค่ะ เรามี เป้าหมายชัดเจนว่าอยากเป็นหมอให้ได้ อยากไปช่วย คน เราเห็นรุ่นพี่ที่เขาก็เรียนหนักเหมือนเราตอนนี้ แต่ เขาก็ผ่านมันไปได้ แล้วทำไมเราจะ­ทำไม่ได้ สู้หน่อย แล้วกัน ต่อไปฟรังต้องเรียนเฉพาะทาง มันจะยากขึ้นไป อีก เราต้องโฟกัสมากขึ้น ถ้าเป็นไปได้ฟรังอยากรักษาไว้ ทั้งการเป็นหมอและนักแสดง แต่พอโตมาก็ได้เรียนรู้ จริงๆ ว่าชีวิตมันต้องเลือก เราเก็บทุกอย่างที่เราอยาก ได้ไว้ไม่ได้หรอก ที่ผ่านมามีละครติดต่อเข้ามาหลาย เรื่องแต่เรารับไม่ได้ เพราะเราขา­ดเรียนเยอะไม่ได้ เลย รับงานที่ใช้เวลาไม่มาก ทำงานวันเดียวจบ ฟรังเลือก เรียนเป็นหลักมากกว่า เหมือนยิ่งโตก็ยิ่งเอนเอียงมา ทางหมอมากขึ้น เพราะเรียนหนักขึ้นเรื่อยๆ”

เป็นครูอาสาที่เช็ก

แม้จะเรียนหนักแต่ฟรังไม่ลืมใช้ชีวิตวัยรุ่นให้คุ้มค่า หลังเลิกเรียนเธอไปเดินสยามสแควร์กับเพื่อน ไม่ได้ ตรากตรำกับกองตำราอย่างเดียว และสาวแอ็กทีฟที่อยู่ เฉยไม่ได้นานขอใช้ช่วงเวลาปิดเทอมนานที่สุดในชีวิต 5 สัปดาห์ไปออกค่ายอาสาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษเด็ก ประถมให้กับนักเรียนที่สาธารณรัฐเช็กของโครงกา­ร AIESEC

“ไปสอนเรื่องเมืองไทย เด็กเช็กบางคนไม่รู้จัก

เมืองไทยมาก่อนก็ตื่นเต้นมาก อยากมาเที่ยว รู้สึกดีที่ ได้เผยแพร่ชื่อเสียงของเมืองไทยให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น” เธอเล่าไปหัวเราะไป

ทำหน้าสองจิตสองใจว่าแน่ใจเกินครึ่งว่าจะเป็นหมอ แต่ยังตัดฉับอาชีพนักแสดงที่เรียกว่าเริ่มต้นมาพร้อมๆ กันไม่ได้ “เสียดายน่ะค่ะ” เธอว่า “สนุกที่ได้แสดง มัน เป็นอีกชีวิตไปเลย ต่างจากตอนฟรังเรียนหมอ เราได้ไป เจอคนอีกสังคมหนึ่ง คนอีกนิสัย การทำงานอีกแบบ เราสนุกมากกับการทำงานแ­สดงซึ่งให้โอกาสเราเย­อะ มาก ถ้าเรารักษาเส้นทางแสดงไว้ ต่อไปเมื่อเราเป็น หมอจริงๆ ก็ใช้ประโยชน์จากความมีชื่อเสียงได้ เพราะ เสียงของเราดังกว่าคนทั่วไป มันมีอิทธิพลที่จะสร้างสิ่ง ดีๆ ได้ หมอที่เป็นที่รู้จักพูดก็จะเสียงดังกว่าในความคิด ของฟรัง”

แค่ตอนนี้ยังเรียนไม่จบ คนก็เรียกเธอแล้วว่า คุณหมอฟรัง เธอส่ายหน้ารัวว่าอย่าเรียกอย่างนั้น “รู้สึกว่ายังไม่อยากให้คนเรียกเราว่าหมอ ถ้าเรียนไม่จบ ทำไง (หัวเราะ) แต่คนเรียกกันจนเราชิน ทั้งข่าวที่เขียน ถึงเรา คอมเมนต์ในไอจี” เธอพูดถึง ‘ภาพเหมารวม’ ที่ เจอจนชินอีกอย่างว่า ฟรัง นรีกุลคือไอดอลเด็กเรียนเก่ง “อยู่ที่ว่าเราใช้อะไรเป็นมาตรฐานตัดสินสิ่งนั้น เช่น ถ้า วัดความเก่งเรื่องบินระหว่างปลากับนก ปลาก็คงโง่ ตลอดกาล แต่ละคนมีพรสวรรค์และความถนัดต่างกัน สังคมไทยเน้นการเรียน ใครเรียนได้เกรดดี ได้คะแนน ท็อปของห้อง คนก็จะชื่นชมว่าเป็นเด็กเก่ง หรือพอฟรัง เรียนหมอ คนจะมองว่าฟรังเรียนเก่ง เป็นคนดี คนทำ อาชีพหมอก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่มีหลายๆ ด้านใน ตัวเองเหมือนทุกคนเลยค่ะ และเราไม่ควรคิดว่าตัวเอง เก่งด้วย เพราะจะไม่พัฒนาตัวเอง”

ฟรังเผยเคล็ดลับการเรียนว่ามาจากการท­ยอยอ่าน หนังสือ เพราะเป็นคนนอนน้อยไม่ได้เด็ดขาด วันไหน นอนไม่พอจะเบลอไป­เลยทั้งวัน และตั้งใจเรียนใน ห้องเรียนให้มาก แต่เสียดายที่ไม่ได้เรียนดนตรีให้เก่ง “ทุกวันนี้ฟรังเสียดายว่าเราน่าจะเล่นดนตรีให้เก่งสัก ชนิด ตอนเด็กๆ เล่นหลายอย่างมาก เคยเรียนเปียโน กตี าร์ รอ้ งเพลง เลน่ คลารเิ นต็ พอโตมาเราเ­รยี นวชิ าการ หนัก เลยทิ้งดนตรีไปเลย” รุ่นพี่จึงขอฝากบทเรียนให้ กับรุ่นน้องที่อยากเดินตามหลายคว­ามฝันพร้อมกัน เช่นเดียวกับเธอว่า

“ฟรังว่าทุกคนมีแพสชั่น ต้องมีอะไรสักอย่างที่เรา ชอบทำมากๆ ทุกความชอบพัฒนาได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะ ชอบเล่นดนตรี ชอบวาดรูป ชอบออกกำลังกาย หรือ ชอบกิน ทุกอย่างไปให้สุดทางได้ แต่สังคมไทยอาจ ไม่ได้มองว่าเรื่องพวกนี้ก็เป็นศักยภาพอย่างหนึ่งเหมือน กัน เรามองแค่เรื่องความเก่งทางวิชาการ เช่น คนที่ ชอบเล่นเกมก็จะไม่คิดว่ามันคือความสามาร­ถ พ่อแม่ก็ จะมองอย่างห่วงๆ ว่าลูกติดเกม ก็ต้องเปิดใจคุยกันใน ครอบครัวค่ะ เพราะฟรังเชื่อว่าสุดท้ายแล้วพ่อแม่ทุกคน อยากให้ลูกมีความสุขทั้งนั้น

“ตัวเราต้องให้กำลังใจและชมตัวเองบ้าง ฟรังก็ชม ตัวเองนะคะ ‘เก่งมากที่ผ่านมาได้’ ตอนสอบติดหมอนี่ ภูมิใจที่สุด จนวันนี้เรียนหมอมา 3 ปีแล้ว อุปสรรคเยอะ แต่เราสู้มาได้ ขอบคุณตัวเองที่อดทน เราภูมิใจกับก้าว เล็กๆ ที่เราก้าวข้ามมาได้ค่ะ”

‘ถ้าเป็นไปได้ฟรังอยากรักษาไว้ ทั้งการเป็นหมอและนักแสดง แต่พอโตมาก็เรียนรู้จริงๆ ว่า ชีวิตมันต้องเลือก เราเก็บ ทุกอย่างที่เราอยากได้ไว้ ไม่ ได้หรอก’

 ??  ?? (ล่าง) พร้อมหน้าครอบครัวกับ ว่าที่คุณหมอฟรัง
(ล่าง) พร้อมหน้าครอบครัวกับ ว่าที่คุณหมอฟรัง
 ??  ??
 ??  ??
 ??  ?? (บน) นกั บรหิ ารเวลาคนนมี้ ดี กี วา่ รปู ลกั ษณภ์ ายนอกมาก (ลา่ ง) ฟรงั กบั นอ้ งตระกลู เงนิ และคณุ พอ่ คณุ แมเ่ อนจอย กับมื้อค่ำ
(บน) นกั บรหิ ารเวลาคนนมี้ ดี กี วา่ รปู ลกั ษณภ์ ายนอกมาก (ลา่ ง) ฟรงั กบั นอ้ งตระกลู เงนิ และคณุ พอ่ คณุ แมเ่ อนจอย กับมื้อค่ำ
 ??  ??

Newspapers in Thai

Newspapers from Thailand