Hello! (Thailand)

Tutors ครูเบลล์-ศุภนุช ชือรัตนกุล

ทำความรู้จัก ‘Role Model นักเรียนสิงคโปร์’ ผู้สานฝันเด็กๆ บน เส้นทาง ศึกษา ต่อ สิง ค โปร์

-

ในวันที่สิงคโปร์ติดอันดับต้นๆ ของโลกการศึกษานั้น ใช้วิธีขับเคลื่อนการศึกษาแบบ Problem-based Learning ซึ่งเน้นการนำไปปรับใช้ในชีวิตและการแก้ ปัญหา ทำให้บรรดาคุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองใน หลายประเทศ­หมายตาให้บุตรหลานของตัวเองไป ศึกษา ณ เกาะสุดศิวิไลซ์แห่งนี้ และครูเบลล์-ศุภนุช ชือรัตนกุล ก็เคยเป็นหนึ่งในอดีตเด็กนักเรียนสิงคโปร์ที่ ผ่านระบบการศึกษาและการเ­รียนการสอนที่เจ้าตัวบอก ว่า ‘สร้างวิสัยทัศน์ แนวคิด การใช้ชีวิตให้มีความสุข แบบยั่งยืน และมีจิตสำนึกต่อสังคม’ ซึ่งนั่นได้กลายเป็น แรงบันดาลใจให้เธอเป็นทั้งติวเตอร์ และที่ปรึกษาใน การศึกษาต่อที่สิงคโปร์ นอกจากนี้ผู้ปกครองหลาย­คน ยังยกย่องให้เธอเป็น ‘Role Model’ ด้านแนวคิดและการ ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขด้วย

“เด็กๆ ที่มาเรียนกับเบลล์นั้น ส่วนใหญ่เป็นเพราะ คุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกมี Role Model ที่ดี มี ผู้ปกครองบางท่านบอกว่า ‘เอาแบบครูเบลล์นี่แหละ มี วิชั่น มีความคิดที่ถูกต้อง ใช้ชีวิตที่ถูกต้อง ดูมีความสุข อยากให้ลูกเป็นแบบนี้’ ทำให้เรามีโอกาสได้สอนเด็กๆ ในแบบที่เราเป็นและผ่านประสบการ­ณ์มาเองค่ะ”

7 ปีแห่งวิถีชีวิตนักเรียนสิงคโปร์

เพราะจุดเด่นของการศึกษาในสิงคโปร์นั้นคือภาษา อังกฤษและภาษ­าจีนแมนดารินที่ถือเป็นภาษาสำคัญ อย่างมากในปัจจุบัน อีกทั้งยังใกล้เมืองไทย จึงไม่ยาก เลยที่ผู้ปกครองจะตัดสินใจให้ลูกๆ ศึกษาต่อที่นี่ เช่น เดียวกับคุณพ่อและคุณแม่ของครูเบลล์

“ด้วยมาตรฐานก­ารศึกษาที่ดี คุณพ่อและคุณแม่ ต้องการความเ­ข้มข้น ต้องการเดินทางใกล้ๆ ไปหา สะดวก บวกกับต้องการภาษาอังกฤษกับภาษาจีน แน่นๆ เลยลงตัวที่สิงคโปร์ เบลล์ย้ายไปที่นั่นตอนอยู่ ป.5 ที่เมืองไทย ซึ่งยังไม่จบดีค่ะ ก็ไปเรียน ป.4 ที่โน่น

“เริ่มต้นเบลล์เรียนในโรงเรียน local ของสิงคโปร์และ เป็นโรงเรียนที่สอนภาษาจีน พอได้อยู่โรงเรียนที่สภาพ แวดล้อมเป็นจีน ก็เรียนภาษาจีนแมนดารินได้เร็วขึ้น ปีแรกที่เข้าไปเรียนทำให้ภาษาจีนของเบลล์ดีขึ้นมาก เบลล์เรียนอยู่ที่สิงค์โปร์ จนจบ ม.4 ค่ะ”

“ลักษณะการเรียนที่โน่น เบลล์มีเรียนแค่ครึ่งวัน บ่ายโมงก็เลิก หลังจากนั้นทำกิจกรรมนอกหลักสูตร เช่น ตีแบด ว่ายน้ำ เล่นดนตรี ศิลปะ ฯลฯ โดยแต่ละ โรงเรียนก็จะโดดเด่นด้านกิจกรรมไม่เหมือนกัน ตัว เบลล์เลือกตีแบด เล่นจริงจังค่ะ จนถูกส่งไปแข่งกับ โรงเรียนอื่น ต้องยอมรับว่าสิงคโปร์เป็นประเทศที่ competitiv­e ซึ่งวันนี้มองกลับไปยังทึ่งว่า เราเรียนหนัก ขนาดนี้เลยเหรอ (หัวเราะ) นั่นเลยทำให้เบลล์สอน ลูกศิษย์เสมอว่าไม่ต้องเป็นที่หนึ่งตลอดเวลา นั่นเพราะ ตอนที่เราเรียนนั้น ช่วงแรกๆ ก็ไม่ได้ที่หนึ่งนะ แต่พอ ม.1 - ม.3 ได้ที่หนึ่งของชั้น แม่ก็เตือนว่าถ้าวันหนึ่งเรา ไม่ได้ขึ้นมาจะรู้สึกอย่างไร และก็จริงเมื่อบางเทอมไม่ได้ ก็รอ้ งไหห้ นกั มาก รเู้ ลยวา่ เปน็ ยงั ไง เลยเอาประส­บการณ์ ตรงนี้มาสอนเด็กๆ ให้ยอมรับความผิดหวัง ให้ใช้ชีวิตใน ช่วงวัยเด็กให้สนุกดีกว่า”

จากสาวนักอนุรักษ์สัตว์ทะเลสู่ครูเบลล์ของเด็กๆ

หลังเรียนจบระดับ O Level ที่สามารถเรียนต่อ มหาวิทยาลัยได้ทั้งที่สิงคโปร์และเมืองไทย ครูเบลล์ ตัดสินใจกลับมาเรียนต่อที่วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล สาขาชีววิทยา เพราะความช­อบ ทะเล ทำให้เธอจบปริญญาตรีด้วยคะแนนเกียรตินิยม อันดับหนึ่ง และได้รับทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อปริญญาโท ที่สถาบัน Asian Institute of Technology (AIT)

และเพราะได้เรียนวิชาที่ชอบ ทำให้ช่วงเวลาที่เรียน ปรญิ ญาตรแี ละโทเปน็ ชว่ งเวลาทค่ี รเู บลลบ์ อกวา่ สนกุ มี ความสุข และภาคภูมิใจที่สุด เนื่องจากได้ทำกิจกรรมที่ ทา้ ทาย ไดท้ นุ ดา้ นสง่ิ แวดลอ้ ม ไดเ้ ปน็ ตวั แทนประเทศไ­ทย ไปพูดเรื่องสิ่งแวดล้อมให้กับทั่วโลก อาทิ Study of the U.S. Institutes for Student Leaders on Global Environmen­t Issues - East Asia & Pacific ทส่ี หรฐั อเมรกิ า และ Japan ASEAN Youth Conference ทโ่ี ตเกยี วและเซนได ประเทศญี่ปุ่น และยังมีอีกหลายกิจกรรมที่หล่อหลอมให้ เธอกา้ วสเู่ สน้ ทางนกั อนรุ กั ษท์ างทะเล

“พอจบโทกไ็ ปทำงานท่ี Love Wildlife เปน็ NGO ทำ อยู่ครึ่งปีก็ย้ายไปทำงานกับ Social Enterprise พาคนไป เที่ยวทัวร์และให้ความรู้เรื่องวาฬ สอนการดูวาฬให้กับ เด็กและผู้ใหญ่ จุดประสงค์คือเพื่อสร้างความผูกพัน ระหว่างเด็กกับสัตว์ทะเล และเพื่ออนุรักษ์สัตว์ทะเล ซึ่ง ชว่ งหนง่ึ เคยทำแคมเป­ญ ‘หยดุ กนิ หฉู ลาม’ ทย่ี ง่ิ ใหญ”่

ทว่าวันหนึ่งจากชีวิตนักอนุรักษ์สัตว์ทะเลก็พลิกผัน ให้ก้าวสู่วิถีติวเตอร์ นักการศึกษาอย่างเต็มตัว “จริงๆ เบลล์เป็นติวเตอร์สอนเด็กๆ ตั้งแต่สมัยเรียนมหิดล โดย เริ่มจากสอนเพื่อนของน้องเบลล์เอง เขาเรียนโรงเรียน นานาชาติแล้วตกเลข เบลล์สอนเขา จำได้ว่าเหลือเวลา อีก 3 เดือนเขาจะสอบ เบลล์ขับรถจากมหิดลมาสอนที่ สยามพารากอ­น ซึ่งก่อนหน้านั้นมีแต่คนบอกว่า น้อง เขาสอบไม่ได้หรอก แต่ผลสอบออกมา­คือ A พ่อแม่เขา บอกว่า นี่คือ success story ของลูกเขา ทำให้เรารู้ว่า เรามีโอกาสเปลี่ยนชีวิตคนอื่น มีโอกาสปรับชีวิตเขา ให้ดีขึ้น ตอนแรกๆ เลยสอนตามบ้านก่อน พีอาร์โดย ปากต่อปาก ทำมาเรื่อยๆ จนตอนทำงาน NGO ก็ยัง สอนอยู่

“กระทั่งวันหนึ่งเราคิดว่าควรเลือกวิธีหาเลี้ยงชีพที่ ยง่ั ยนื เลยมาลงตวั ทอ่ี าชพี ตวิ เตอร์ หรอื ทเ่ี บลลอ์ ยากเรยี ก ว่า ‘นักปั้น’ มากกว่า และเฉพาะเจ­าะจงการศึกษาเพื่อ เรียนต่อในประเทศสิงคโปร์ที่เรามีประสบการณ์โดยตรง”

เส้นทางศึกษาต่อ ณ ประเทศสิงคโปร์

“เนื่องจากการเข้าเรียนในสิงคโปร์เข้ายากมากค่ะ นั่นจึงเป็นจุดตัดสินใจสำคัญทำให้เบลล์ scope down มาที่การสอนเพื่อไปสิงคโปร์ โดยเบลล์ไม่ได้ต้องการ เป็นติวเตอร์ที่เป็นแมส แต่ต้องการเป็นติวเตอร์เฉพาะ ทาง และความที่เราจบไฮสกูลจากที่นั่นจึงอยากสอน เด็กเพื่อให้ได้ไปสิงคโปร์ การเรียนเมืองนอกบางคน­อาจ คิดว่ามีเงินก็เรียนได้ แต่สำหรับสิงคโปร์ไม่ใช่ เข้ายาก มากค่ะ”

ครูเบลล์เล่าว่า...การสอบเพื่อไปเรียนต่อที่สิงคโปร์ ใช้แค่ 2 วิชา คือวิชาภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ “สิงคโปร์ไม่ดูวุฒิการศึกษาเมืองไทยค่ะ ไม่สนใจว่าจะ ได้เกรด 4.00 จบจากโรงเรียนดัง ซึ่งโควตาของนักเรียน ต่างชาติในสิงคโปร์มีน้อยมาก เพราะเขาให้ความ สำคัญกับเด็กประเทศเขา­ก่อน ตามด้วย permanent residence โดยเด็กอินเตอร์เป็นอันดับสาม ทำให้โควตา เหลือน้อย ดังนั้นการสอนเพื่อสอบเข้าโรงเรียนใน สิงคโปร์ไม่ได้สอนเพื่อให้เด็กแค่สอบผ่าน แต่ต้องให้เขา เป็น Top 5 หรือ Top 10 เพราะถ้ามีโควตาแค่ 10 ที่ คุณก็ต้องเป็น Top 10 เท่านั้นถึงจะได้ค่ะ

“สถาบันการศึกษาในสิงคโปร์มีสามแบบ หนึ่ง...คือ โรงเรียนรัฐบาล ซึ่งยากสุดแต่ดีสุด ใช้เงินน้อยสุด คุ้มค่า มาก สอง...โรงเรียนนานาชาติที่ใช้ระบบสิงคโปร์ และ สาม...โรงเรียนนานาชาติเพียวๆ เลย ถามว่าโรงเรียน แบบที่ 3 ดีไหม? ดีค่ะ และเข้าไม่ยากเท่าแบบแรก ซึ่ง ส่วนใหญ่นักเรียนที่เข้ามาเรียนก็เลือกกันอยู่แล้วว่า ตัวเองจะไปสถ­าบันแบบไหน ดังนั้นก่อนเริ่มสอนเบลล์ จะต้องถามว่าหมายตาแบบ­ไหนไว้ บางคนมาเบอ­ร์ 3 เลย ก็ต้องเทสต์ก่อนว่าศักยภาพของน้องดีขึ้นได้อีกไหม ถ้าได้ เบลล์ก็จะแนะนำ หรือถ้าเด็กมาโดยไม่ได้ภาษา อังกฤษเลย แล้วเลือกเบอร์หนึ่งที่แข็งสุด เบลล์จะต้อง ถามเด็กว่า ‘สู้ไหม?’ เพราะการจะ­สอบติดหรือไม่ ขึ้นอยู่ กับสามองค์ประกอบ หนึ่ง...ครูที่ดี สอง...ผู้ปกครอง เพราะคุณพ่อคุณแม่ต้องสนับสนุนเด็กๆ ช่วยสนับสนุน ความฝันไปในทิศทางเดียวกัน สาม...เด็กต้องสู้ค่ะ ถ้า ไม่สู้เข็นยังไงก็ไม่ได้ ต้องสู้สุดๆ มีเงินอย่างเดียวไม่ได้ แต่เด็กต้องขยันด้วย ซึ่งถ้าเด็กบอกว่า ‘สู้’ ก็จะหันไป ถามคณุ แมว่ า่ ‘คณุ แมส่ ไู้ หมคะ? มเี วลาดนู อ้ งทำการบา้ น ไหม?’ เมื่อทุกคนพร้อมสู้เราก็จะลุยไปด้วยกันเลย

“จากนั้นสิ่งที่ผู้ปกครองต้องเตรียมคือการเงิน เพราะ หากสอบติดแล้วแต่บอกลูกว่าเราไปได้แค่ 2 ปีนะ เบลล์คิดว่าไม่คุ้มค่าความอดทนพ­ยายาม ทางออก ดีที่สุดคือ ไปเรียนให้ยาวๆ ไปตั้งแต่เล็กๆ แต่ส่วนใหญ่ ผู้ปกครองที่มาให้เบลล์ติวมีความพร้อมระดับหนึ่งกัน ทุกคนอยู่แล้วค่ะ โดยค่าเล่าเรียนต่อปี ถ้าเป็นโรงเรียน รัฐบาลก็ตกประมาณ 800,000 บาท คูณจำนวนปีที่ต้อง เรียน ส่วนโรงเรียนนานาชาติระบบสิงคโปร์ประมาณ ล้านต้นๆ และถ้าโรงเรียนนานาชาติก็ประมาณ 1.5 ล้านบาทค่ะ”

อยากให้เธอเป็น ‘นักปั้น’ มากกว่าติวเตอร์เบลล์

เมื่อถูกถามถึงเคสนักเรียนที่ครูเบลล์ประทับใจที่สุด เธอเล่าว่า “เบลล์คิดถึงเคสของน้องน๊อบคนแรกเลย­ค่ะ น้องอายุ 15 ปี เรียนโรงเรียนทางเลือกมา ซึ่งไม่ได้เน้น วิชาการนัก ตอนมาหาเบล­ล์น้องบอกว่า ‘ผมอยากเรียน ที่สิงคโปร์’ เราเห็นแววตาเขาแ­ล้วรู้สึกเลยว่า ‘เด็กคนนี้ ปั้นได้’ ก็ถามคุณแม่ว่า ‘มั่นใจไหม?’ เพราะจากขว­าสุด แล้วจะมาซ้ายสุด ไม่มีครึ่งๆ กลางๆ คุณแม่ก็บอกว่า ‘ต้องให้คุณแม่ทำอะไรบ้างบอกมาได้เลย’ จากที่น้อง ไม่ได้วิชาการเลย จึงต้องติวเต็มที่ 4 - 5 เดือน น้องต้อง มาเรียนภาษาอังกฤษกับคณิตศาสตร์ทุกวันอังคาร พฤหัสฯ เสาร์ ซึ่งน้องบอกว่า ‘ทำยังไงก็ได้ครับครู เพราะ ผมรู้ว่าอ่อนกว่าคนอื่นเยอะ’ น้องสู้มาก ช่วงสองเดือน ก่อนสอบก็มาเรียนวันอาทิตย์ทั้งวัน ซึ่งน้องน๊อบเลือก สอบโรงเรียนรัฐบาล เบลล์ถามคุณแม่เหมือนกันว่า ถ้า น้องสอบไม่ติดคุณแม่มีแผน B ไหม? คุณแม่ก็บอกว่า ไม่ซีเรียส น่าจะให้เรียนต่อในไทย ตอนไปสอบเบ­ลล์ก็ บอกน้องน๊อบว่า ‘ไม่ต้องเครียด ไม่ต้องสนใจคนรอ­บข้าง สนใจแต่ตัวเองว่าต้องทำให้ดีที่สุด’ ซึ่งจริงๆ น้องก็มีอีก ทางเลือกคือเขาได้ทุนไปเรียนที่อเมริกาแล้ว แต่เขาไม่ไป จะไปสอบที่สิงคโปร์ แล้วเขาก็สอบติดรอบแรกเลย”

และด้วยความสนใจ­ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจน ได้รับทุนแลกเปลี่ยนไปต่างประเทศแล­ะร่วมกิจกรรม พิเศษมากมาย ได้กลายเป็นประสบการณ์ที่ทำให้การ สอนของครูเบลล์มีคอนเซปต์ที่โดดเด่นและแตกต่าง

“การที่เบลล์ได้มีโอกาสไปหลา­ยๆ ประเทศในแต่ละ โครงการที่มีจุดเด่นต่างกัน เช่น ตอนไปอเมริกา เขาจะ เน้นทำ Reflection ทุกวัน เบลล์ก็เอามาสอนเด็กให้ ทบทวนแต่ละวันที่ผ่านไป อะไรดี อะไรที่ปรับปรุงให้ดี ขึ้นไปอีกได้ ประเทศญี่ปุ่นเขาต้องการ Sustainabl­e ทุก โครงการต้องยั่งยืน เบลล์ก็เอาวิธีคิดของเขามาส­อนเด็ก เรียนอย่างไรก็ได้ให้สามารถเอาไ­ปใช้ได้ทั้งชีวิต ไม่ใช่ เรียนเพื่อสอบได้เท่านั้น ต้องเรียนภาษาอังกฤษเพื่อให้ พูด เขียน และใช้ในชีวิตจริงได้ หรืออย่างตอนไป อินโดนีเซีย เขาต้องการความเ­ป็น Localizati­on ให้ไปถึง ชุมชนอย่างแท้จริง เบลล์จะเรียนรู้ว่าเด็กแต่ละคน แตกตา่ งกนั ตอ้ งการความชว่ ยเหลอื ทต่ี า่ งกนั customize ให้กับนักเรียน A B และ C อย่างไร”

ครูเบลล์ยังบอกเราถึงจุดมุ่งหมายสำคัญในอาชีพ ติวเตอร์ของตนทุกวันนี้ว่า “ตัวเบลล์มีโอกาสได้ทุนไป หลายประเทศ รู้สึกว่าเราใช้ทรัพยากรประเท­ศชาติเยอะ เลยอยากทำอ­ะไรเพื่อประเทศชาติบ้าง เบลล์จะขอใช้ ความรู้นี่แหละสอนเด็กๆ ให้เป็นคนเก่งที่ดี สำหรับ เบลล์อาชีพติวเตอร์คือนักปั้น เด็กคืออนาคตของช­าติ เขาอาจเป็นนักธุรกิจใหญ่โตในอนาคต ซึ่งถ้าเขามี คุณธรรม จริยธรรมก็จะทำให้ประเทศไทยดีขึ้นค่ะ”

ระบบการศึกษาสิงคโปร์สร้าง วิสัยทัศน์ แนวคิด การใช้ชีวิต ให้มีความสุขแบบยั่งยืน และ จิตสำนึกต่อสังคม จนกลาย เป็นแรงบันดาลใจให้เธอก้าวสู่ เส้นทาง ‘ครูเบลล์’ ของเด็กๆ

 ??  ??
 ??  ??
 ??  ?? (บนซ้าย) กับบรรดา ลูกศิษย์ที่เธอปั้น (บนขวา) เมื่อครั้งครูเบลล์ยังเป็น นักเรียนอยู่ที่สิงคโปร์
(บนซ้าย) กับบรรดา ลูกศิษย์ที่เธอปั้น (บนขวา) เมื่อครั้งครูเบลล์ยังเป็น นักเรียนอยู่ที่สิงคโปร์

Newspapers in Thai

Newspapers from Thailand