Hello! (Thailand)

Profile ชนัญดา ทวีสิน

เรียนรู้ผ่านการฝึกงานสุดหินในย่านเสื่อมโทรมของ นิวยอร์ก ‘นุ้บเลือกที่จะมองหาจุดเล็กๆที่ดี’

-

ในจำนวนพี่น้องทั้งสามคน เริ่มจากคุณน้อบ-ณภัทร คุณแน้บ-วรัตม์ ตามด้วยคุณนุ้บ-ชนัญดา ทวีสิน ผู้เป็นลูกสาวคนสุดท้องและลูกสาวเพียงคนเดียว ของพ.ญ.พักตร์พิไล และคุณเศรษฐา ทวีสิน นักธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์เบอร์ต้นๆ ของไทย ระหว่างที่เรียน โรงเรียนจิตรลดาได้ระยะหนึ่ง ทั้งสามพี่น้องทวีสินก็ได้ ย้ายไปเรียนที่ Vinehall School ใน East Sussex ประเทศ อังกฤษพร้อมกัน

หลังเรียนจบ Year 8 ก็ได้เวลาที่เธอจะไปเรียนต่อที่ โรงเรียนหญิงล้วนมีชื่ออีกแห่ง Downe House School คราวนี้เธอบอกว่าเป็นการปรับตัวเองขนานให­ญ่

“ต้องปรับตัวเยอะเหมือนกันค่ะ เพราะไม่มีพี่ชาย ไม่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมแบบเดิมๆ การเรียนก็เริ่ม ซีเรียสขึ้นมานิดหนึ่ง นุ้บไม่ใช่เด็กกิจกรรมจ๋า แต่ก็ไม่ใช่ เด็กเรียนจ๋าเหมือนกัน เขาให้เด็กเลือกเล่นกีฬาที่เรา ต้องอยู่ในทีม นุ้บเลือกว่ายน้ำ (ยิ้ม)

“ส่วนเรื่องเรียน นุ้บไม่ถึงกับเอทุกวิชา แต่ก็ไม่แย่ วิชาไหนเราชอ­บก็ได้เอ วิชาไหนเราเฉ­ยๆ ก็ไม่แย่ ตอน นั้นก็ยังไม่รู้ว่าโตขึ้นเราจะเป็นอะไร เพราะโตมาก็เห็น แต่พ่อกับแม่ คิดอยู่อย่างเดียวเราต้องเรียนให้รอด และ สุดท้ายก็ชอบด้านวิทย์มากกว่า”

สู่แดนลุงแซม

คุณนุ้บตัดสินใจเลือกสมัครมหาวิทยาลัยทั้งหมด 25 แห่งด้วยกัน “ได้มหาวิทยาลัยหญิงล้วนทั้ง 3 แห่ง เลย เลือกเรียนที่ Barnard College ในนิวยอร์ก

“เรามาจากอังกฤษ ก็ต้องปรับตัวมากพอสมคว­ร เพราะวิธีการสอนไม่เหมือนกัน บางทีเราเรียนวิชานี้ไป แล้วนะ แต่ทำไม่ได้เพราะเขาสอ­นอีกแบบหนึ่ง แล้วที่ อังกฤษโรงเรียนเล็ก เวลาไม่เข้าใจอะไรก็เดินไปถามครู ได้ แต่ที่นี่คลาสหนึ่งร้อยคน นุ้บโชคดีที่ได้เพื่อนดี”

คุณนุ้บเมเจอร์ทาง Neuroscien­ce ด้าน Behavior Concentrat­ion “ตอนแรกไม่แน่ใจว่าจะเลือกจิตวิทยาดี ไหม แต่เราเรียนวิชายากไปแล้ว ทำไมเราต้องเลือก เมเจอร์ที่ง่ายด้วย ก็เลยเลือกเมเจอร์ที่ยากกว่า คุณพ่อ คุณแม่ก็ถามเหมือนกันว่าทำไมเลือกด้านนี้ แต่ท่าน โอเค ก็เป็นสี่ปีที่สนุกค่ะ เรียนหนักตอนปีหนึ่ง ปีสอง เพราะต้องทำแล็บเยอะ คนอื่นเรียนสี่วัน เราเรียนห้าวัน แต่พอปีสี่ชิลมาก เรียนแค่สามวัน

“นุ้บทำวิทยานิพนธ์หัวข้อ Perspectiv­e taking กับ Physiology effect ว่าเวลาดูหนังผี ถ้าเราคิดว่าเรากล้า เราก็จะไม่กลัวไปด้วย ซึ่งทำให้รู้ว่าไม่ชอบทำงานใน แล็บเพราะทุกอย่างต้องเป๊ะ ทำให้น่าเบื่อ การคุยกับ คนที่หนึ่งจนถึงคนที่ 200 ต้องเหมือนกัน เพื่อไม่ให้เกิด bias นุ้บอยากให้มีการโต้ตอบกันมากกว่า เลยมีคน แนะนำวา่ ลองเรยี นตอ่ ดา้ น Social work ไหม กเ็ ลยตอ่ โท ทางด้านนี้ที่ Columbia University”

ฝึกงานสุดโหด

คุณนุ้บเข้าเรียนปริญญาโทที่เมืองบิ๊กแอปเปิลต่ออีก สองปี “ที่โน่นเขาให้เรียนสองวัน ทำงานสามวัน ปีแรก ทำงานที่โรงเรียนประถมศึกษาของรัฐบาล ซึ่งอยู่ บรูคลิน” คุณนุ้บบอกกับเรา

“ก็จะมีทั้งเด็กที่มาจากครอบค­รัว middle income กับ lower income ปัญหาที่เจอบ่อยคือ bullying เด็กที่ พ่อแม่มีรายได้ดีกว่ามักจะมีรองเท้าใหม่ใส่ ส่วนเด็กที่ ไม่มีก็จะโดนล้อว่าไม่มีรองเท้าคู่นั้นหรือ เราก็ต้องเป็น ที่ปรึกษาให้เขา คือถ้าเด็กคนไหนมีปัญหาทางบ้าน หรือมี risk factor บางอย่างที่ทำให้เขารู้สึกว่าถ้าเกิดเรา ซัพพอร์ตตรงนี้น่าจะช่วยให้เขาดีขึ้น ก็จะคุยกับเด็ก แบบ one on one อาทิตย์ละครั้ง

“ช่วงแรกๆ ก็งง เพราะนุ้บไม่เคยทำงานกับเด็กมา ก่อนก็ต้องก๊อปวิธีทำงานจากเพื่อนที่เขามีประสบการณ์ ทางด้านนี้เยอะกว่าเรา ถามว่าเหนื่อยไหม...เหนื่อย แต่ นุ้บเลือกที่จะมองหาจุดเล็กๆ ที่ดีค่ะ ถ้าวันนั้นหาจุดนั้น เจอก็ถือว่าเป็น a good day สำหรับนุ้บเองนะคะ ถ้าเรา นั่งฟังปัญหาของเด็กแล้วเก็บกลับบ้านมาด้วย เราก็จะ เครียด จนท้ายที่สุดแล้วเราต้องแยกให้ได้ว่าชีวิตเด็ก คนนั้นน่าสงสารก็จริง แต่ไม่ใช่ชีวิตเรานะ และสิ่งที่เรา ทำอยู่ก็เพื่อช่วยให้เขาดีขึ้น และเรามี role model relationsh­ip ให้เขาเห็นว่า ต่อให้ยูพูดไม่ดีกับไอเมื่อ วันก่อน วันนี้ไอก็ยังกลับมาคุยกับยูเหมือนเดิมนะ”

เราให้คุณนุ้บเล่าถึงเคสที่เธอประทับใจและไม่ลืม เป็นเด็กผู้หญิงวัย 8 ขวบที่มีพฤติกรรมแปลกๆ อย่าง เช่นเวลาเขาพูดเรื่องเครียดอยู่ เธอจะหัวเราะ “ครูให้ นุ้บช่วยละลายพฤติกรรมนี้ แล้วก็คอยไกด์เราว่าต้องทำ ยังไง จนกระทั่งผ่านไปหนึ่งปี ซูเปอร์ไวเซอร์เดินมาบอก ว่า ยูรู้ไหมเขาเปลี่ยนไปมากเลย­นะ เพราะเขาเจ­อยู เวลาเดิมทุกสัปดาห์ มันเป็นสิ่งเดียวที่เขาสามารถเ­ชื่อ ได้ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ไม่ว่าเขาจะดื้อวันก่อนหรือดื้อ เมื่อห้านาทีที่แล้ว หรือโดนทำโทษอ­ยู่ แต่เวลานี้วันนี้ ของสัปดาห์เขาจะเจอเร­า แล้วเวลาเจอเข­าได้ระบาย โดยมีคนรับฟัง เด็กเขาต้องการแค่นั้นจริงๆ ค่ะ

“พอซูเปอร์ไวเซอร์มาบอก นุ้บดีใจมาก เพราะการ ทำงานกับเด็กต้องรอเวลาอย่างเดียว เราไม่สามารถ

‘ถามว่าเหนื่อยไหม...เหนื่อย แต่นุ้บเลือกที่จะมองหาจุดเล็กๆ ที่ดีค่ะ ถ้าวันนั้นหาเจอก็ถือว่า เป็น a good day’

เห็นความเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ทำให้นุ้บชอบ วิชานี้ เพราะเราเลือกที่จะทำ clinical ด้วย”

ปีต่อมาคุณนุ้บย้ายมาทำงานกับเบอร์โทร.ขอความ ช่วยเหลือ “เป็นเบอร์โทร.ของรัฐ ที่ใครก็ได้สามารถแจ้ง ทางการว่ามีการ abuse เกิดขึ้น ซึ่งไม่ได้หมายความแค่ การทำร้ายร่างกาย หรือล่วงละเมิดทางเพศเท่านั้น แต่ ยังรวมถึงการไม่พาลูกไปหาหมอ หรือลูกขาดเรียนเยอะ หรือเด็กใส่เสื้อผ้าสกปรกเหมือนพ่อแม่ดูแลความเป็นอยู่ ไม่ดีพอ ซึ่งนุ้บนี่แหละที่จะต้องไปดู ก็ต้องไปช่วยเขา จัดการชีวิตให้ดีขึ้น ให้เขาสามารถดูแลลูกได้ ทำงานได้ ด้วย ซึ่งยากมาก

“จากเมื่อก่อนเราไปบรูคลิน คราวนี้ขึ้นไปบรองซ์ ซึ่ง เป็นแหล่งรวมยาเสพติด แต่สิ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่า ปลอดภัยคือ ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นกับเรา คนที่ซวยคือเขา เพราะขนาดเ­จ้าหน้าที่ยังไม่ปลอดภัย นับประสาอะไร กับการเลี้ยงลูกให้ปลอดภัย แรกๆ พ่อแม่เด็กไม่ค่อยให้ ความร่วมมือเท่าไรเพราะคิดว่าเราจะมาเอ­าลูกเขาไป แต่สุดท้ายแล้วคนที่เราคุยด้วยโอเคหมด เพียงแต่สภาพ แวดล้อมไม่เฟรนด์ลีเฉยๆ

“นุ้บเชื่ออยู่อย่างคือ ไม่มีใครอยากเป็น bad parent หรอก และพ่อแม่ที่ดีคืออะไร แต่ละคนก็มีนิยามความ เป็นพ่อแม่ที่แตกต่างกัน เราเข้าใจสถานการ­ณ์ของพวก เขามากน้อยแค่ไหน ยิ่งเป็นซิงเกิ้ลมัมยิ่งลำบาก เพราะ เขาต้องทำงาน เขาไม่สามารถโดดง­านไปขอความ ช่วยเหลือจากรัฐที่เปิดเก้าโมงเช้าถึงห้าโมงเย็นได้ และ ถ้าเขาต้องไปรับลูกช้าก็ไม่ได้อีก ค่า day care มันแพง ก็ ไม่มีเงินอีก คือระบบรัฐไม่ได้ช่วยคนกลุ่มนี้”

คุณนุ้บเจอเคสที่มีความสัมพันธ์แบบประหลาด­ใน ครัวเรือน “เคสนี้ดูเผินๆ เหมือนจะไม่มีอะไร ถ้าไม่ บังเอิญที่พ่อวัย 40 ปีและแม่วัย 20 ปีต้นๆ เด็กสองคนที่ เป็นออทิสติกนิดๆ กับผู้หญิงอีกคนอายุเกิน 60 ปีอยู่ ด้วยกัน ซึ่งช่องว่างระหว่างวัยเยอะมาก แล้วการที่ยู สามารถทำให้ผู้หญิงสองคนอยู่บ้านเดียวกันได้เหมือน เมียหลวงกับเมียน้อย และเมื่อดูจากการแต่งตัวของ ผู้ชายเหมือนเขาเป็นแมงดา หลังจากคุยกันถึงได้รู้ว่า ผู้ชายกับผู้หญิงสูงอายุเป็นสามีภรรยากัน และเขาทำ แม่เด็กท้องตั้งแต่ 15 - 16 ปี ซึ่งแม่เด็กบอกว่าเขาเริ่มต้น จากการไม่ยินยอม แต่เป็นเพราะผู้ชายรู้จักพี่สาวและ เล่นยากัน จนมีลูกด้วยกัน

“แล้วเด็กผู้ชายทั้งสองคนอายุ 8 ขวบกับ 6 ขวบ เป็นหอบหืด แต่ผู้หญิงแก่สูบบุหรี่ในบ้านซึ่งไม่ดีกับเด็ก เราก็ต้องลงไปจัดการ เป็นเคสที่เหนื่อย เนื่องจากเป็น เรื่องที่เซนซิทีฟ นุ้บก็จะต้องระมัดระวังคำพูดมาก นอกจากนี้ยังอยู่ไกลมาก ต้องนั่งรถไฟไปต่อรถบัสเพื่อ คุยกับเขาหนึ่งชั่วโมงแล้วกลับ แต่พอปีต่อมาก็ไม่เจออีก เพราะเรียนจบพอดี ก็ต้องให้คนอื่นทำแทน”

ชิมลางงานแนะ­แนวการศึกษา และหนึ่งใน Next Gen

คุณนุ้บบอกเราอีกว่าจากประสบก­ารณ์ที่ผ่านมา ทำให้รู้ใจตัวเองว่าชอบทำงานกับเด็ก “ชอบตรงได้ พูดคุยกับคน การได้ช่วยเหลือเขาคล้ายๆ therapy นิดๆ ใช้ทักษะเดียวกันเลยค่ะ พอกลับมาก็ได้งานที่ Edusmith ซึ่งมีบริการสองส่วน ส่วนแรกคือ College Counselor ดูโปรไฟล์เด็กว่าชอบอะไร อยากเมเจอร์แนว ไหน ที่อเมริกาหรืออังกฤษ เลือกโรงเรียนยังไงให้เหมาะ กับตัวเอง กับอีกส่วนหนึ่งคือ Coaching ก็จะมีเช็กลิสต์ เพื่อช่วยเตรียมตัวยื่นใบสมัครมหาวิทยาลัย และต้อง ช่วยแนะนำว่าพวกเขาควร­จะลงเรียนหรือทำกิจกรรม อะไรเพื่อไปใช้ต่อยอดตอนเข้ามหาวิทยาลัย

“นุ้บชอบตอนที่คุยกับน้องๆ ค่ะ อยากทำเป็นงาน หลักเลยด้วยซ้ำเพราะรู้สึกว่าสนุกไปอีกแบบ อาจจะ ไม่ใช่เด็กในกลุ่มเดียวกับที่เราเคยทำงา­นด้วย แต่ก็ ท้าทายไปอีกแบบ แล้วเราก็แชร์ประสบการณ์ของเราได้ ว่า ตอนพี่เรียนอังกฤษแรกๆ ก็โฮมซิก ต่อให้อายุเท่าไรก็ ต้องปรับตัว”

นอกจากนี้คุณนุ้บยังช่วยงานการกุศลของยูนิเซฟ เหมือนที่เคยทำตั้งแต่สมัยยังเรียนมัธยม “ยูนิเซฟ ประเทศไทยเ­พิ่งมีโปรแกรมใหม่ชื่อ UNICEF Next Gen Thailand เพื่อช่วยระดมพลคน­รุ่นใหม่สร้างกิจกรรมทำ อีเวนต์ด้วยกัน หาเงินบริจาคให้ยูนิเซฟ นุ้บเป็นหนึ่งใน committee จำนวน 9 คน งานที่เพิ่งผ่านไปคือ silent auction เล็กๆ เพราะอยากใ­ห้คนรู้จักมากขึ้นว่า Next Gen คืออะไร”

และนี่คือก้าวแรกบนเส้นทางที่ยังทอดรออีกยาวไกล ของหญิงเก่งผู้นี้

 ??  ??
 ??  ??
 ??  ??
 ??  ?? (บนซ้าย, ล่างซ้ายสุด) คุณนุ้บกับการเป็น committee ของ UNICEF Next Gen Thailand เพื่อช่วยระดมพล คนรุ่นใหม่หาเงินบริจาคให้ยูนิเซฟ (ล่างซ้าย) กับ คุณเศรษฐา - พญ.พักตร์พิไล ที่ไปแสดงความ­ยินดีใน โอกาสที่ลูกสาวสำเร็จปริญญาโทจาก Columbia University
(บนซ้าย, ล่างซ้ายสุด) คุณนุ้บกับการเป็น committee ของ UNICEF Next Gen Thailand เพื่อช่วยระดมพล คนรุ่นใหม่หาเงินบริจาคให้ยูนิเซฟ (ล่างซ้าย) กับ คุณเศรษฐา - พญ.พักตร์พิไล ที่ไปแสดงความ­ยินดีใน โอกาสที่ลูกสาวสำเร็จปริญญาโทจาก Columbia University

Newspapers in Thai

Newspapers from Thailand