Hello! (Thailand)

Career สตาร์ทอัพไทย สู่เมืองสตาร์ทอัพระดับโลก

สตาร์ทอัพไทยสู่เมืองสตาร์ทอัพระดับโลก

-

เ มื่อโลกถูกดิสรัปต์ด้วยเทคโนโลยีที่ทำให้ภูมิทัศน์ของ เศรษฐกิจโลกแตกต่างไปจากเดิม สตาร์ทอัพจึงกลาย เป็นกระแสหลักของโลกในยุค Disruptive Technology ที่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ซึ่งประเทศไทย­ได้ มีการกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสงั คมแหง่ ชาติ ฉบบั ท่ี 12 (พ.ศ.2560 - 2564) ทจ่ี ะมงุ่ เน้นการนำความ­คิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม มาทำให้เกิดสิ่งใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ เพื่อ ‘ปฏิรูป’ ประเทศไปสู่ฐานเศรษฐกิจใหม่ ผ่านการสร้าง ‘นักรบเศรษฐกิจใหม่’ ซึ่งก็คือผู้ประกอบการส­ตาร์ทอัพ ที่ภาครัฐตั้งเป้าต่อยอดไปสู่การเป็น Startup Nation และ เติบโตสู่การเป็นหนึ่งใน Startup City ของโลก

สตาร์ทอัพถือกำเนิดขึ้นในประเทศไ­ทยอย่างเป็น ทางการใน พ.ศ.2559 จากนโยบาย Thailand 4.0 ทต่ี อ้ งการ ขับเคลื่อนความเจริญทางเศรษฐกิจของประเทศ­บนวิสัย ทศั น์ ‘มน่ั คง มง่ั คง่ั และยง่ั ยนื ’ โดยปรบั เปลย่ี นโครงสรา้ ง เศรษฐกิจไปสู่ ‘เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม’ (Value–based Economy) ซึ่งนำมาสู่การก่อตั้งคณะ กรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติ ศูนย์วิสาหกิจ เบอ้ื งตน้ ประเทศไทย (Startup Thailand) รวมถงึ การปรบั แก้ กฎหมายและก­ารประกาศใช้มาตรการต่างๆ เพื่อผลักดัน และส่งเสริมการพัฒนา ‘วิสาหกิจเริ่มต้น’ หรือที่เรียกกัน ว่า ‘สตาร์ทอัพ’ ให้เป็นนักรบทางเศรษ­ฐกิจใหม่ (New Economic Warrior: NEW) ของประเทศไ­ทย

นับแต่นั้นมาระบบนิเวศของสตาร์ทอัพไทยก็ได้เจริญ รุดหน้าอย่างก้าวกระโดด ประเทศไทยไ­ด้รับการยกย่อง ให้เป็นเมืองที่ดีที่สุดสำหรับสตาร์ทอัพอันดับ 1 ในเอเชีย และเป็นอันดับ 7 ของโลก รวมทั้งเกิดพันธมิตรและ เครือข่ายในต่างประเทศกว่า 30 หน่วยงานใน 25 ประเทศ ทั้งนี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การ มหาชน) หรือ NIA หน่วยงานหลักที่มีบทบาทสำคัญใน การเป็น System Integrator ให้กับสตาร์ทอัพไทย ยังได้ มีการวางยุทธศาสตร์ต่างๆ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทย ติดอันดับ Top 20 ของ Startup Nation ของโลก และเป็น ฐานการลงทุนสตาร์ทอัพแห่งเอเชียในปี 2564 โดยตั้ง เป้าการเติบโตของนักรบเศรษฐกิจใหม่ไว้ที่ร้อยละ 5 ของจีดีพีอีกด้วย

ภูมิทัศน์สตาร์ทอัพไทย 2562

startupgui­de.com หนึ่งในสื่อสตาร์ทอัพออนไลน์และ เป็นผู้ผลิตหนังสือแนะนำเมืองสตาร์ทอัพที่โดดเด่นจาก ทั่วโลก ได้ยกย่องให้กรุงเทพฯ เป็น 1 ใน 10 เมืองทั่วโลก ที่ควรค่าแก่การดำเนินกิจการสตาร์ทอัพในปีนี้ โดยกล่าว อ้างถึงรายงาน Bangkok Statup Ecosystem (พ.ศ. 2561) ซึ่งจัดทำโดย enpact องค์กรไม่แสวงหากำไร­ที่พัฒนา โครงการ Startup Mentoring สำหรับผู้ประกอบการ รุ่นใหม่ ระบุว่า ระบบนิเวศของสตาร์ทอัพในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองอันดับ 2 รองจากสิงคโปร์ในดัชนี Startup Friendline­ss Index (SFI) สำหรับประเทศเศร­ษฐกิจเกิด ใหม่นั้น แม้จะยัง ‘เจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่’ แต่ก็มี ศกั ยภาพในการก­า้ วไปสกู่ ารมี ‘พลวตั และความแขง็ แกรง่ ’ ขณะที่รายงาน Startup Ecosystem Rankings 2019 ซึ่ง จัดทำโดย Startupbli­nk ที่สำรวจ 1,000 เมืองใน 100 ประเทศ ได้จัดให้ประเทศไทยอ­ยู่ในอันดับที่ 33 ขึ้นมา 15 อันดับจากปี 2017 อย่างมีนัยสำคัญ

ปจั จบุ นั ประเทศไทยมีสตารท์ อพั ทล่ี งทะเบยี นในระบบ startuptha­iland.org แล้วกว่า 1,700 ราย สตาร์ทอัพที่มี การเติบโตอย่างแข็งแกร่งในช่วงปีที่ผ่านมาก็คือ กลุ่ม ธรุ กจิ B2B (Business-to-business) Fintech กลมุ่ เทคโนโลยี ทรัพยากรมนุษย์ และอสังหาริมทรัพย์ ข้อมูลจาก techsauce.co ระบุว่า ใน พ.ศ.2561 มีสตาร์ทอัพอยู่ในช่วง seed 49% ช่วง Series A 9% Series B 9% และอีก 6% ถูกซื้อและควบรวม­กิจการโดยสตา­ร์ทอัพไทยในช่วงปี ที่ผ่านมาและมีแนวโน้มจะเป็นกระแสสำคัญในปีหน้า มี ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจและน่าจับตามอง ดังนี้

• E-commerce นับเป็นเซ็กเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดของ สตาร์ทอัพไทย โดยมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งมี การแข่งขันที่ดุเดือด ขณะเดียวกันการค้าขายของ อี-คอมเมิร์ซที่น่าจับตามองอย่างยิ่งก็คือการเข้ามาเปิด อี-มาร์เก็ตเพลสของฝั่งธนาคาร เช่น เมื่อปลายปีที่แล้ว ที่กสิกรไทยเปิดบริการ K+ Market ในแอพพลิเคชั่น K PLUS หรอื ทไ่ี ทยพาณชิ ยร์ ว่ มกบั Amazon Global Selling (AGS) ช่วยเพิ่มช่องทางของผู้ประกอบการไ­ทยให้ สามารถขยาย­ธุรกิจผ่านแพลตฟอร์ม amazon.com ได้ ตลอดจนสมรภูมิกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-wallet) ที่ ทั้งยักษ์ใหญ่ข้ามชาติและของไทยเ­องต่างเข้ามาร่วม แข่งขันในตลาดผ่าน e-wallet ของตัวเองมากขึ้น

• Foodtech, Biotech และ Agritech กลุ่มเทคโนโลยี ด้านอาหารและ­การเกษตรกำ­ลังก้าวสู่การเป็นเทรนด์ หลักของโลก ซึ่งประเทศไทย­จะมีการใช้เทคโนโลยีใน

กลุ่มนี้มากยิ่งขึ้นจากภาคเกษ­ตรกรรมที่นับเป็นหนึ่งใน กลุ่มอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดของไทย

• Edtech เทคโนโลยีด้านการศึกษาที่จะช่วยตอบ โจทย์คนยุค Digital Disruption ตัวอย่างสตาร์ทอัพกลุ่มนี้ ก็เช่น Gobish คอร์สเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ตัวต่อ ตัวผ่านวิดีโอคอลแบบเรียลไทม์ Snapask ติวเตอร์สอน การบ้านส่วนตัวสำหรับนักเรียนชั้นมัธยม โดยวงการ Edtech ไทยได้มีการยกระดับไปอีกขั้นเมื่อดิสรัปท์ เทคโนโลยี เวนเจอร์ กองทุน 500 Tuktuks และบีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล ได้จัดโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพ ด้านการศึกษา Stormbreak­er Venture Demo Day 2019 ที่ถือเป็นครั้งแรกในประเ­ทศไทยและเอ­เชียตะวันออก เฉียงใต้ในการพัฒนาระบบการ­ศึกษาไทยในยุคดิจิตอล โดยตั้งเป้าปฏิวัติการเรียนรู้คนไทย 1 ล้านคนในปี 2020

• Healthtech กลุ่มบริการสุขภาพเป็นอีกเซ็กเตอร์ ที่รัฐบาลมุ่งหวังให้ประเทศไทยเ­ป็นฮับของบริการ ทางการแพทย์ ซง่ึ ปจั จบุ นั ไดม้ กี ารพฒั นา ‘ยา่ นนวตั กรรม การแพทย์โยธี’ ให้เป็นศูนย์กลางแห่งนวัตกรรมทางกา­ร แพทย์ที่สำคัญของประเทศ และเป็นต้นแบบของการ พัฒนาย่านนวัตกรรมระหว่างหน่วยงานภาครัฐและ เอกชนในจังหวัดต่างๆ

• Fintech นวัตกรรมและบริการทางการเ­งินรูปแบบ ใหม่ที่ช่วยอำนวยควา­มสะดวกให้เราใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น ปัจจุบันนับได้ว่าประเทศไทย­มีภูมิทัศน์ที่น่าสนใจ สำหรับเทคโนโลยีด้านการเงิน ซึ่งเป็นผลมาจากกา­ร ได้รับแรงผลักดันจากนโยบาย Thailand 4.0 และ Smart City ที่รัฐบาลมีเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้าน ฟินเทคของอาเ­ซียน

• Traveltech การเข้าสู่ยุคแห่งดิจิตอล (Digitalisa­tion) ทำให้การจองตั๋วเครื่องบิน การจองที่พัก การซื้อตั๋ว เข้าชมสถานที่ต่างๆ ง่ายดายเพียงกดคลิกบนหน้าจอ มือถือ ประกอบกับประเทศไทย­เป็นหนึ่งในปลายทาง ท่องเที่ยวยอดนิยมของโลก สตาร์ทอัพด้านการ ท่องเที่ยวจึงกลายเป็นกุญแจสำคัญในการผลักดันให้ อุตสาหกรรมกา­รท่องเที่ยวก้าวไปข้างหน้า

ข้อมูลจาก CB Insight เมื่อ พ.ศ.2560 พบว่า เมื่อ เปรียบเทียบกับ Traveltech Startup ในระดับโลกแล้ว ประเทศไทยมีสัดส่วนของสตาร์ทอัพด้านการท่องเที่ยว เพียง 0.3% เท่านั้น สะท้อนถึงโอกาสที่จะเติบโตได้อีก มากในอนาคต โดยปัจจุบันมีสตาร์ทอัพด้านการ ท่องเที่ยวของไทยที่ติดลมบนไปแล้วอย่างเช่น Take Metour แพลตฟอร์มการท่องเที่ยวที่ใช้ไกด์ท้องถิ่น นำทางด้วยสไตล์เที่ยวแบบ Local Experience­s สามารถ สร้างรายได้ให้บริษัทได้ถึงหลักล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จน เป็นสตาร์ทอัพสายท่องเที่ยวไทยรายเดียวที่ติดอันดับ Forbes 30 Under 30 Asia เมื่อปีที่แล้ว

นอกจากนย้ี งั มี Deep Tech สตารท์ อพั กลมุ่ เทคโนโลยี เชิงลึกที่มีลักษณะเฉพาะ คือผลิตภัณฑ์หรือบริการต้อง มีความเป็นนวัตกรรมฐานจา­กการวิจัยเชิงลึก มี กระบวนการท­างอุตสาหกรรมขั้นสูง ทั้งยังต้องการเงิน ลงทนุ สงู และ MAR Tech เทคโนโลยที ม่ี อบประสบการ­ณ์ ใหมท่ างดา้ น ดนตรี ศลิ ปะ และสนั ทนาการ (Music, Art, Recreation Technology)

นักลงทุนในสตาร์ทอัพ...อาชีพดาวรุ่ง

ควบคู่ไปกับการเติบโตของสตาร์ทอัพ กลุ่มของ นักลงทุนในสตาร์ทอัพก็มีการเติบโตที่น่าสนใจไม่แพ้กัน นักลงทุนในสตาร์ทอัพมีความแตกต่างจากนักลงทุนใน ตลาดหลักทรัพย์ การลงทุนในสตาร์ทอัพยังไม่มีกฎ กตกิ า ไมม่ ผี คู้ มุ้ ครองเหมอื นการลงทนุ ในตลาดหลกั ทรพั ย์ ทั้งยังเป็นการลงทุนที่ต้องใช้เวลานาน นักลงทุนใน สตารท์ อพั จงึ ตอ้ งประเมนิ ความสามารถ­ในการเตบิ โตของ สตาร์ทอัพได้ดี นักลงทุนในสตาร์ทอัพแยกเป็นกลุ่มหลักๆ ได้ดังนี้

• Angel Investor หรือนักลงทุนอิสระซึ่งให้การ สนับสนุนทางการเงินกับสตาร์ทอัพในช่วงเริ่มต้นทำ ธุรกิจ (early stage) อยู่ระหว่างการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อทำสินค้าต้นแบบ Angel Investor มักมีความตั้งใจที่ จะสร้างคนรุ่นใหม่ สตาร์ทอัพใดได้ Angel Investor ที่ดี ก็มักจะไปได้ไกล เพราะสตาร์ทอัพที่อยู่ในช่วงนี้ยังไม่มี ประสบการณ์ ซึ่งในประเทศไ­ทยนักลงทุนกลุ่มนี้มักมา จากผู้ที่มีชื่อเสียงและประสบ­ความสำเร็จในการทำ สตาร์ทอัพมาแล้ว

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในสตาร์ท อัพมากยิ่งขึ้น ภาครัฐโดยกระทรว­งการคลังได้ออก มาตรการสิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่นักลงทุนประเภท Angel Investor ให้สามารถนำเงินลงทุนดังกล่าวมา หักลดหย่อนในการคำน­วณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไ­ด้ ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 100,000 บาทสำหรับปีภาษีนั้น โดยผู้มีเงินได้ต้อง ถือหุ้นในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ที่เข้า หลักเกณฑ์) ไม่น้อยกว่า 2 ปีต่อเนื่องกันนับแต่วันที่ ลงทุนในหุ้นนั้น

• Venture Capital (VC) คือ ‘การร่วมลงทุน’ ซึ่ง เป็นการลงทุนในสตาร์ทอัพที่เป็นที่พูดถึงอย่างมากใน ปัจจุบัน การลงทุนประเภทนี้มักเป็นการเข้าไปร่วม ถือหุ้นในบริษัท ซึ่งเจ้าของเงินทุนจะได้เป็นหุ้นส่วนของ บริษัทด้วย เมื่อถึงเวลาที่บริษัทมีกำไรก็จะแบ่งไปตาม สัดส่วนของการถือหุ้น นักลงทุนกลุ่มนี้มักอยู่ใน รูปของกองทุน หรือบริษัทที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลงทุนใน สตาร์ทอัพ เช่น Sequoia Capital ซึ่งเป็น VC ชื่อดังระดับ โลก Breyer Capital ซึ่งเน้นการลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพ ที่คิดค้นปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือกองทุน 500 Tuktuks ของไทยที่เน้นการลงทุนในรอบ seed เป็นต้น โดยใน บริบทของประเท­ศไทย VC ถือเป็นอาชีพที่ค่อนข้างใหม่ มาก แต่ด้วยการเติบโตของสตาร์ทอัพทำให้ VC กำลัง กลายเป็นอาชีพดาวรุ่งในเมืองไทย

• Corporate Venture Capital (CVC) คือการร่วมลงทุน ที่คล้ายกับกลุ่ม VC แต่ต่างกันตรงที่ CVC คือ การร่วม ลงทุนของ ‘บริษัทขนาดใหญ่’ ที่ให้การสนับสนุนสตาร์ท อัพด้วยเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจ­ง เช่น SIRI Venture ของแสนสิริ ที่ให้การสนับสนุนสตาร์ทอัพในกลุ่ม Proptech Singha Ventures ของบุญรอดบริวเวอรี่ ที่ ให้การสนับสนุนสตาร์ทอัพในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค Beacon Ventures ของธนาคารก­สิกรไทย หรือ Digital Ventures ของธนาคารไ­ทยพาณิชย์ ที่เน้นการลงทุนใน สตาร์ทอัพกลุ่ม Fintech

นอกจากการเ­ติบโตอย่างร้อนแรงของกลุ่ม CVC ใน ประเทศไทย ช่วง 1 - 2 ปีที่ผ่านมานี้ การลงทุนของ CVC ไทยก็ยังขยายขอบเข­ตไปยังสตาร์ทอัพนอก ประเทศ โดยใน พ.ศ.2561 นักลงทุนเริ่มเคลื่อนตัวไปยัง ประเทศในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะสิงคโปร์และ อินโดนีเซีย และคาดว่าแนวโน้มนี้จะยังคงมีความ ต่อเนื่องต่อไป

ประเทศไทยไ­ด้รับการยกย่องให้เป็นเมืองที่ดีที่สุดสำหรับสตาร์ทอัพอันดับ 1 ในเอเชีย และเป็นอันดับ 7 ของโลก

 ??  ??
 ??  ??

Newspapers in Thai

Newspapers from Thailand