Hello! (Thailand)

Podcasters แทนไท ประเสริฐกุล Witcast

เจ้าของพอดคาส­ต์หนุ่มเนิร์ดอารมณ์ดี Witcast ผทู้ ำให้โลกวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องสนุก

-

แทนไท ประเสริฐกุลเป็นใคร

เขาเปน็ ลกู ชายคนโตของ­รศ.ดร.เสกสรรค์ ประเสรฐิ กลุ แห่งคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ จิระนันท์ พิตรปรีชา กวีซีไรต์และนักเขียนชื่อดัง

เขาเป็นพี่ชายของวรรณ­สิงห์ ประเสริฐกุล แห่ง รายการสารค­ดี ‘เถอ่ื น Travel’ ทน่ี ำเสนอสารคด­กี ารเดนิ ทาง ในพื้นที่ที่มีข้อพิพาทหรือที่ที่ห่างไกลจากกา­รเป็นสถานที่ ท่องเที่ยว

เขาเป็นเจ้าของรางวัลเหรียญทองแดงจา­กการแข่งขัน โอลิมปิกวิชาการในยุคที่การแข่งขันนี้ยังไม่เป็นที่รู้จัก แพร่หลายอย่างเช่นทุกวันนี้

เขาเป็นนักเรียนทุนพสวท. ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา ปรญิ ญาเอกโดยใช­เ้ วลาเรยี นนานกวา่ เพอ่ื นรว่ มทนุ ถงึ 10 ปี

เขาเป็นเจ้าของมุกตลกแบบเนิร์ดๆ ในพอดคาสต์ เนิร์ดๆ อย่าง Witcast ที่มีคนฟังขาประจำทั้งที่เนิร์ดและ ไม่เนิร์ดมากมาย โดยนำเสนอเ­รื่องที่คนเนิร์ดๆ สนใจ ไม่ ว่าจะเป็นเรื่องพฤติกรรมของหมึกกระดอง เรื่อยไปจนถึง หนังจักรวาลมาร์เวล และซีรี่ส์ดังอย่าง Game of Throne

เขาเป็นคนเขียนหนังสือและคอลัมนิสต์สายเนิร์ดที่มี คนติดตามข้อเขียนของเขามา­กมายเช่นกัน ด้วยเหตุผล เหล่านี้เชื่อว่าบทสัมภาษณ์นี้จะทำให้คุณรู้จักเขามากขึ้น และชอบความ­เนิร์ดของเขาเหมือนอย่างที่เรารู้สึก

Q: ช่วยเล่าถึงวัยเด็กที่หล่อหลอมคุณมา

A: ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงป.5 ผมกับน้องอยู่กับยายที่ตรัง เพราะหลังจากพ่อแม่ออกจากป่าก็ไปเรียนต่อที่อเมริกา ยาวเลย แต่ก็กลับมาเยี่ยมเราทุกปี มาทีก็เอาของเล่นมา ฝาก พาไปเที่ยวทะเลบ้างอะไรบ้าง พอดียายเปิดร้าน ขายเครื่องเขียนและหนังสือชื่อศิริบรรณ ยายก็จะเลี้ยง แบบคณุ หนมู าก หา้ มทำอะไรทไ่ี มป่ ลอดภยั กเ็ ลยไมค่ อ่ ย ได้ลุยเท่าไร แต่ได้เปิดโลกจากการ­อ่านเพราะที่บ้านขาย สารานุกรมแปลจากญี่ปุ่น บางเล่มก็เกี่ยวกับเจ็ดสิ่ง มหัศจรรย์ของโลก บางเล่มเป็นตอนบุกป่าแอมะซอน หรือชมโลกใต้ทะเลลึก ก็เลยชอบเรื่องโลกธรรมช­าติมา ตั้งแต่เด็ก แล้วจะมีของเล่นเป็นด้วงกว่าง แล้วก็ปลากัด ตามสไตล์เด็กต่างจังหวัด

Q: เรียนดีไหม

A: เป็นบางวิชา อย่างสปช. (สร้างเสริมประสบการณ์ ชีวิต) แต่กพอ. (การงานพื้นฐานอาชีพ) ไม่ค่อยดี จำได้ ว่าครูจะชอบส่งไปเป็นตัวแทนโรงเรียนตอบปัญหา วิทยาศาสตร์อะไรทั้งหลายเพราะ­มักจะชนะกลับมา แต่ ว่าเลขไม่ค่อยเก่ง พละก็ห่วยมาก

จนถงึ ป.5 พอ่ แมเ่ รยี นจบกลบั มา ผมกบั นอ้ งเลยยา้ ยมา

กรุงเทพฯ เรียนที่อนุบาลสามเสน ก่อนจะเรียนมัธยมที่ สามเสนวิทยาลัย ตอนนั้นไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเราสำเนียง ทองแดง ก็ถูกเพื่อนล้อบ้าง ตอนมัธยมต้นจะชอบเรียน วทิ ยท์ ไ่ี มใ่ ชส่ ายคำนวณ แมเ่ หน็ แววกเ็ ลยพาไปสมคั รสอบ โครงการพสว­ท. (โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความ สามารถพเิ ศษทางวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลย)ี ซง่ึ เขาเปดิ รับเด็กตั้งแต่ม.ต้น ก็สอบข้อเขียนและสัมภาษณ์ ปรากฏ ว่าผมสอบได้ แล้วพอม.4 ปุ๊บก็เข้าโครงการนี้เลย เหมือน เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของคนที่เก่งวิทย์ ซึ่งไม่จำเป็นต้อง เรยี นหมอหรอื วศิ วะทเ่ี ปน็ วทิ ยาศาสตรป์ ระยกุ ต์ แตเ่ ปน็ นกั วทิ ยาศาสตรเ์ พยี วๆ เลย

Q: วิชาที่เรียนเปลี่ยนไปไหม

A: เหมือนเดิมครับ แต่หลังเลิกเรียนต้องติวพิเศษ พวก ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ เลขอะไรก็ว่าไป แล้วต้องเข้าค่าย ประจำปีที่เด็กในโครงการ­ทั่วประเทศมาร­วมกันเพื่อ ทำความรู้จัก และมีรุ่นพี่ที่เป็นนักวิทยาศาสตร์มาพูดให้ ฟังว่า สาขานี้เรียนแบบนี้นะ น่าสนใจอย่างนี้ๆ บางทีก็ พาไปดูดาว ไปเก็บแพลงก์ตอน

แล้วทีนี้ด้วยความที่พสวท. อยู่ภายใต้สสวท. (สถาบัน ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์) ซึ่งดูแลโครงการโ­อลิมปิก วชิ าการดว้ ย และพอเดก็ พสวท.ขน้ึ ชน้ั ม.5 จะเรม่ิ ถกู ดนั ให้ ลองไปโอลิมปิกดู ผมก็เลยเข้าไปคลุกคลีในโครงการ โอลิมปิกชีวะด้วย ทำให้เรามีความอินเตอร์ขึ้นเรื่อยๆ เพราะตอ้ งอา่ นตำราภาษาอ­งั กฤษลว้ นๆ เลย เปดิ ดกิ ฯ ไป อ่านไป จนจบม.6 ก็ได้เหรียญทองแดงจา­กการแข่ง โอลิมปิกวิชาการ ถือเป็นใบเบิกทางที่สำคัญในการเรียน ต่อมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เพราะการันตีว่าเรียน ไหวแน่

Q: เรียนต่อที่ไหน

A: เขาส่งไปเตรียมความพร้อมที่อเมริกาก่อนหนึ่งปี เริ่ม จากเข้าค่ายนักเรียนทุนรัฐบาลไทยเพื่อปูพื้นวัฒนธรรม และภาษาอังกฤษก่อน 3 - 4 เดือน จากนั้นไปเรียนที่ Tabor Academy แถบอีสต์โคสต์ ได้เรียนหลักสูตร วิทยาศาสตร์ที่เข้มข้นด้วย ซึ่งผมก็ประคองเกรด­มาเรื่อย เพราะเราไม่ได้เรียนดีเลิศ เรียนดีเป็นบางวิชา สุดท้ายก็ เข้าเรียนที่ Cornell University ในสาขา Neuro Science and Animal Behavior ซึ่งเป็นวิชาที่ผมสนใจ

Q: การเรียนการสอนใน­มหาวิทยาลัยคล้ายกับการ เรียนที่ผ่านๆ มาไหม

A: ตอนมัธยมเราเรียนไปเพื่อทำข้อสอบปลายภา­ค ถ้าได้ คะแนนดีเราดีใจ แต่พอเรียนมหาวิทยาลัย มันดึงเราให้ ลกึ ลงสโู่ ลกวชิ าการในระดบั ทล่ี กึ ซง้ึ กวา่ เดมิ เหมอื นวา่ เรา เรียนเพราะอยา­กไขปริศนาของสิ่งมีชีวิตทั้งมวล เราไม่ได้ ทอ่ งชอ่ื เสน้ เลอื ดในสมองเพอ่ื ไปสอบ แตอ่ ยากรวู้ า่ อวยั วะ ก้อนนี้สร้างจิตใจเราได้ยังไง มันเป็นเรื่องมหัศจรรย์มาก เลยนะ อย่างสิงโตตัวผู้ที่ฆ่าจ่าฝูงเสร็จก็จะไล่ฆ่าลูกของ จ่าฝูงตัวเก่าทิ้งหมดเลย ไม่กินด้วยนะ เพื่อให้ตัวเมียใน ฮาเร็มพร้อมที่จะมีลกู กับมัน หรือหมึกกระดองจะมีตัวผ้ทู ี่ เรียกว่า satellite male ซึ่งตัวเล็กมากแล้วหน้าตาเหมือน ตัวเมียเป๊ะเลย ทำให้ตัวผู้ตัวใหญ่นึกว่าเป็นตัวเมียก็จะ ปล่อยให้เข้ามาในเขตขอ­งมัน แล้วพอตัวใหญ่เผลอ เจ้า satellite male กจ็ ะเขา้ ไปผสมพนั ธก์ุ บั ตวั เมยี แลว้ จากไป อย่างรวดเร็ว ปรากฏการณ์แบบนี้พบในสัตว์หลายชนิด มาก ซง่ึ กจ็ ะทำใหเ้ รารสู้ กึ ทง่ึ วา่ เฮย้ ...มนั มแี บบนด้ี ว้ ย

หรอื จากนน้ั เรากอ็ ยากหาคำอธบิ ายตอ่ ไปวา่ มนั เกดิ ขน้ึ ได้ ยงั ไง ทำใหเ้ รารสู้ กึ ตน่ื ตาตน่ื ใจมาก

หรือแม้กระทั่งตอนเรียนเรื่องสมอง ผมก็ตื่นตาตื่นใจ กับอาการแปลก­ๆ ทางสมอง เช่นบางคนมีอาการเส้น ประสาทของก­ารมองเห็นไปไขว้กับเส้นประสาทการ ได้ยิน ทำให้ทุกครั้งที่ได้ยินเสียงจะเห็นสีไปด้วย สมมุติ เป็นโน้ตดนตรี ก็จะได้ยินโน้ตตัวนี้และเห็นเป็นสีแดง สีฟ้า สีเหลือง หรือบางคนจะเห็นพยัญชนะเป็นสี ก.ไก่ เป็นสีแดง ข.ไข่เป็นสีน้ำเงิน

Q: คุณกลับมาเรียนด้าน Marine Science ที่คณะ วิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ต่อ ตามด้วยปริญญาเอกทาง ด้านชีววิทยา ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหิดล ซึ่งน่าจะ ไปทางวิชาการเต็มตัว อะไรเป็นแรงบันดาลใจที่ ทำให้อยากเขียนหนังสือ

A: ตอนเรียนเมืองนอกผมจะช­อบเข้าร้านหนังสือ ซึ่งจะ มีแผนกหนึ่งเลยที่เรียกว่า Popular Science ซึ่งเป็น หนังสือวิทยาศาสตร์ที่มีสาระ เขียนโดยนักวิทยาศาสตร์ ที่คนทั่วไปอ่านสนุก บางเล่มเป็นเบสต์เซลเลอร์เลยก็มี ทำให้ผมอยากเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ เรามาเติม ช่องว่างนี้ก็แล้วกัน โดยเริ่มจากงานเขียนก่อน จนมา เจอสิ่งที่เรียกว่า podcast ซึ่งเริ่มมีในโลกนี้เมื่อปี 2005 ผมมารู้จักประมาณปี 2007

ตอนแรกก็เป็นผู้ฟังก่อน ช่วงเรียนโทนี่แหละ เพราะ ว่าต้องขับรถทางไกลไ­ปทำวิจัยบ่อย เลยหาอะไรฟังก็ไป เจอรายการอัพเดตข่าวสารวิทยาศาสตร์ ซึ่งสนุกมาก บางทีก็คุยเรื่องหนังเรื่องซีรี่ส์เรื่องอาหารหรือเรื่องการ ออกกำลงั กาย บางทกี ม็ คี นี รฟี ส์ หรอื ทอม ครซู มานง่ั คยุ สองชั่วโมง คุยเรื่องวัยเด็กคุยเรื่องประสบการ­ณ์การทำ หนัง ซึ่งมีเรื่องราวเบื้องหลังเยอะแยะเล­ย เขาเรียกการ คุยแบบนี้ว่า Long form ทำให้ผมฝันไว้ในใจว่าสักวันเรา จะเอาองค์ประกอบที่ชอบจากแต่ละรายการมา­รวมกัน เช่นการคุยแบบกันเองเปิดใจไร้ขอบเขตไม่มีเซ็นเซอร์ จนปี 2012 ผมกบั แฟนซง่ึ ใชช้ อ่ื วา่ อาบนั สามญั ชนก็เลย ลองอัดพอดคาสต์ดู

Q: เทปแรกเป็นอย่างไรบ้าง

A: มีช่วงเคอะเขินเยอะครับ หน้าที่ผมคือมาเล่าเรื่อง วิทยาศาสตร์สายชีวภาพ ก็จะเป็นแนวตลกบ้าๆ บอๆ ติงต๊อง ชอบพูดเรื่องขี้ เรื่องนม เรื่องตูด กับคุณป๋องแป๋ง ซึ่งเป็นแฟนพันธุ์แท้ประวัตินักวิทยาศาสตร์ เขาหลงใหล ฟิสิกส์กับดาราศาสตร์ โดยมีอาบันคอยฟังและซักถาม เป็นสามมุมที่ประสานกันพอดี ตอนนั้นคุณป๋องแป๋ง เขียนคอลัมน์ให้ a day เหมือนกัน ผมเลยชวนมา­นั่ง ล้อมวงคุยกันที 2 - 3 ชั่วโมง ก็มีทั้งคนที่ชอบมากกับคน ที่บอกว่ายาวจัง จนผ่านไปเจ็ดปีตอนนี้ คนถามว่าทำไม สั้นจัง (หัวเราะ)

คำขวัญของรายการ­เราคือ ‘รายการคุยวิทย์ติดตลก พกไว้ฟังยามเปลี่ยวสมอง’ คีย์หลักของผมคือฮาไว้ก่อน แต่ไม่หยาบคายหรือเกรี้ยวกราด บางทีสุภาพเกินไป ด้วยซ้ำ แล้วตอนหลังก็อยากคุยเรื่องหนังด้วย เพราะ ความเนิร์ดในห้องเรียนมาคู่กับความเนิร์ดในโลกไซไฟ ดว้ ย กจ็ ะคยุ เรอ่ื ง Game of Throne เรอ่ื งจกั รวาลมารเ์ วล ก็ได้เพื่อนเยอะมากค­รับ แต่ก็มีเสียเพื่อนด้วย เพราะผม กับคุณป๋องแป๋งมีความไม่ลงรอยกันทางความคิด ผมก็ เพิ่งรู้นะว่าเพราะอะไร­วงดนตรีดังๆ ถึงแยกวง นั่นเพราะ การร่วมทีมกับใครสักคนมันจะมีช่วงที่ลงตัวเป๊ะ แล้วพอ ไปถึงจุดหนึ่งจะเริ่มรู้สึกว่าไม่ใช่แล้วล่ะ ก็จะแยกกันไป ตามทางของตัวเอง

Q: โฆษณาเข้าไหม

A: แค่คิดว่าทำยังไงให้เจ๋งสุด แล้วทำเสร็จออกมาได้ก็ หมดแรงแล้ว เลยไม่เคยหาสปอนเ­ซอร์จริงจังสักที อย่าง ดีก็ขายของ tie in อย่างพูดเรื่องการไปดวง­จันทร์ แล้ว สั่งโคมไฟรูปพระจันทร์มาขายก็ขายดี นอกนั้นก็แค่บอก ว่าใครฟังแล้วชอบ บริจาคมาได้เลย ตอนละ 100 - 200 บาท เป็นแนวขำๆ แต่ตอนหลังกลายเป็นได้สปอนเซอร์ หลักจากสกสว. (สำนักงานคณะกรร­มการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) เพราะแต่ก่อนเราจะ เอาข่าวงานวิจัยของฝรั่งมาเล่าตลอดเลย เขาเลยชวน เรามาเล่าเรื่องงานวิจัยของไทยบ้าง เราก็เลยทำเป็นซีรี่ส์ ขึ้นมาชื่อ ‘วิทย์ไทย’ ปีนี้เข้าปีที่สามแล้ว

Q: มีอะไรน่าสนใจบ้าง

A: ที่ผ่านมาก็มีไปคุยกับอาจารย์ม.ขอนแก่น ซึ่งวิจัย เรื่องพยาธิ อาจารย์เดวิดที่เป็นฝรั่งมาสร้างสถานีตรวจ จับรังสีคอสมิกบนยอดดอยอินทนนท์และได้รับรางวัล นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย อยู่เมืองไทยหลายสิบปี จนพูดไทยปร๋อ ก็ไปถามแกว่าศึกษาอะไร อยู่เมืองไทย เป็นไงบ้าง มีไปเชียงใหม่คุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านผึ้ง เปิด โลกชีวิตของผึ้ง ดูว่าเราได้โปรดักส์อะไรจากผึ้งมาใช้ได้ บ้าง ตามอาจารย์รัศมีซึ่งเป็นนักโบราณคดีไปดูโลง ผีแมนในถ้ำที่แม่ฮ่องสอน

เราถึงเพิ่งรู้ว่าประเทศไทย­เราก็มีคนทำวิจัยเจ๋งๆ เยอะเลย แล้วคุยสนุกด้วยมันส์มาก เหมือนเขามาเล่า ให้เพื่อนต่างสาขาฟัง ซึ่งผมดีใจมากที่เราสามารถ รวบรวมข้อมูลมาได้เป็นตอนๆ จากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละ ด้าน น่าเสียดายว่าบทสนทนาที่น่าสนใจเหล่านี้ไม่มี พื้นที่ในรายการทีวี

Q: ในอนาคตคิดว่าจะทำอะไรอีกบ้าง

A: ซีซั่นต่อไปกำลังคิดอยู่ว่า จะสัมภาษณ์ใครดี เห็น สกสว. เขาเกริ่นๆ มาว่า ลองดูงานวิจัยของตำรวจไ­หม เกี่ยวกับเด็กแว้น คือตอนนี้เริ่มขยายวงไม่ใช่แค่ วิทยาศาสตร์แล้ว นี่ผมก็เพิ่งไปคุยกับอาจารย์พิไล พูลสวัสดิ์ ซึ่งทำวิจัยเรื่องนกเงือกที่นราธิวาสมา อาบัน เป็นคนต้นคิดว่าเราน่าจะคุยกับทั้งนักวิจัยและชาวบ้าน ว่าเขาทำยังไงถึงได้รับความร่วมมือจากชุมชนที่นั่น

Q: รู้สึกภูมิใจกับพอดคาสต์ตอนไหนมากที่สุด

A: ตอนการขี้ในอวกาศ เพราะผมไปอ่านเจอว่าคนเรา เวลาขี้ต้องมีแรงโน้มถ่วงช่วยเยอะ แล้วถ้าต้องอยู่ใต้ สภาวะไร้น้ำหนักละจะทำยังไง นีล อาร์มสตรองเขาต้อง ขี้ในห้องที่แคบมาก โดยมีเพื่อนอีกคนนั่งข้างๆ ซึ่งทุลัก ทุเลมาก พอมาเล่าก็เลยตลก กับอีกตอนที่รู้สึกว่าเป็น ประโยชน์กับสังคม คือเราไปสัมภาษณ์ชาวเลที่หาด ราไวย์ซึ่งโดนนายทุนไล่ที่ แล้วเขาได้นักวิจัยมาช่วยขุด กระดูกบรรพบุรุษไปตรวจดีเอ็นเอว่าเขาอยู่ที่นี่มา 700 กว่าปีแล้วนะ ทำให้ชนะในชั้นศาล

Q: ที่ผ่านมาคุณพ่อคุณแม่มีส่วนช่วยให้เราเป็นเรา อย่างทุกวันนี้ยังไง

A: พ่อแม่ช่วยสร้างบรรยากาศ­ว่าการอยากรู้อยากเรียน เป็นเรื่องธรรมดามา­ก การอ่านเป็นเรื่องธรรมดา การ อยากรู้หลายๆ ด้านเป็นเรื่องธรรมดา เช่นพ่อผมเนี่ย เรียนสายรัฐศาสตร์ก็จริง แต่พ่อก็แนะนำเรื่องวิทยา ศาสตร์ให้ผมด้วยซ้ำ เรื่องจักรวาล ดาราศาสตร์ พ่อ กระตุ้นให้เราอยากรู้ แล้วแม่ก็จะคอยส่งผมไปค่ายโน้น ค่ายนี้ที่คิดว่าน่าจะชอบ บางทีผมก็ต่อต้านบ้าง แต่ไป แล้วโคตรชอบเล­ย อยากดูจูราสสิกปาร์กหรือ แม่พาโดด เรียนไปดูเลย และตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายก็สร้างรากฐาน ตระกูลได้มั่นคง ทำให้ผมไม่ต้องลำบากเรื่องความเป็น อยู่ วันนี้เราอยากรู้เรื่องวิวัฒนาการของเ­ต่าก็สามารถนั่ง อ่านได้ทั้งวันโดยไม่ต้องกังวลว่าต้องช่วยแม่ล้างผักหั่น หมู ทำให้เราได้ใช้ชีวิตตามความต้องการโดยที่ไม่มีการ ดับฝัน

Q: คิดว่าจะทำพอดคา­สต์ไปถึงเมื่อไร

A: ผมคงจะคุยเรื่องที่สนใจอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะ แก่ เพราะยังมีความรู้ที่สนุกๆ นอกห้องเรียนอีกเยอะ มากที่รอให้เราค้นหา

‘พอเรียนมหาวิทยาลัย มันดึงเราให้ลึกลงสู่โลกวิชาการ ในระดับที่ลึกซึ้งกว่าเดิม เหมือนว่าเราเรียนเพราะอยา­ก ไขปริศนาของสิ่งมีชีวิตทั้งมวล’

 ??  ??
 ??  ??
 ??  ??
 ??  ?? (ล่างซ้ายสุด) เมื่อครั้งจบการศึกษาจาก Cornell University (ล่างซ้าย) กับ คุณแม่ซีไรต์ จิระนันท์ พิตรปรีชา
(ล่างซ้ายสุด) เมื่อครั้งจบการศึกษาจาก Cornell University (ล่างซ้าย) กับ คุณแม่ซีไรต์ จิระนันท์ พิตรปรีชา
 ??  ??
 ??  ?? คุณแทนกับวรรณสิงห์ น้องชายรูปหล่อเมื่อวัยเด็ก (ขวา) ร่วมทีมนักเรียนทุน พสวท.
คุณแทนกับวรรณสิงห์ น้องชายรูปหล่อเมื่อวัยเด็ก (ขวา) ร่วมทีมนักเรียนทุน พสวท.

Newspapers in Thai

Newspapers from Thailand