Hello! (Thailand)

Podcasters รวิศ หาญอุตสาหะ Mission to the Moon

จาก Gen 3 แห่ง SRICHAND สู่ Podcaster และเจ้าของงานเขียนที่มีคนติดตามมากเป็นอันดับต้นๆ ของไทย

-

เสียงทุ้มนุ่มมีเอกลักษณ์ยามเล่าถึงสิ่งที่เขาอ่านจาก นิตยสารและหนังสือ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีสาระและเป็น ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตเรื่อยไปจนถึงการดูแล ธุรกิจ ผ่านพอดคาสต์ชื่อ Mission to the Moon ที่มีผู้ฟัง มากเป็นอันดับต้นๆ ของไทย

เจ้าของเสียงนั้นก็คือคุณแท็ป-รวิศ หาญอุตสาหะ แห่งแบรนด์เครื่องสำอางไทย SRICHAND ที่แบ่งเวลา จากธุรกิจมาทำพอดคา­สต์และเขียนหนังสือขายดีติด อันดับเบสต์เซลเลอร์อีกหลายเล่ม

ล่าสุดเขาเพิ่งจะมีทอล์กโชว์เป็นของตัวเองซึ่ง sold out ตั๋วได้ภายในเวลาไ­ม่ถึงชั่วโมง และแว่วว่าในอีก ไมช่ า้ เขาจะเขยี นหนงั สอื เกย่ี วกบั เดก็ ออกวางแผงอ­กี เลม่

HELLO! Education จึงจับเข่าคุยกับเขา แม้คุณแท็ป จะออกตัวว่าเป็นเด็กผลการเรียนปานกลางไ­ม่โดดเด่น แต่เพราะมีคุณแม่ (ขนิษฐา หาญอุตสาหะ) ที่ปลูกฝัง นิสัยรักการอ่าน ทำให้เขานำทักษะการอ่านนี้มาต่อยอด เพิ่มพูนความรู้ในคลังสมอง และนำความรู้ที่ได้มา ถ่ายทอดสู่สาธารณะ จนมีคนติดตามเขานับแสนราย

Q: คุณแม่มีบทบาทอะไรใ­นเส้นทางการศึกษาของ คุณบ้าง

A: อย่างมากเลยครับ ต้องยกความดีความชอบให้ คุณแม่ คุณแม่ผมจบอักษรฯ ก็จะสอนภาษาอังกฤษ เพราะเป็นสิ่งที่ท่านถนัด เนื่องจากตอนผม­เด็กๆ คุณพ่อ (วริ ฬุ ห์ หาญอตุ สาหะ) งานยงุ่ มาก ผมกจ็ ะอยกู่ บั คณุ แม่ เสียเยอะ ทำให้ผมเชื่อว่าถ้าเราอยากให้ลูกเป็นยังไง เรา ก็ต้องปลูกเมล็ดพันธุ์นั้น ผมยอมรับว่าที่ผมเอาตัวรอด มาได้หลายครั้ง ก็เพราะภาษาอังกฤษนี่แหละ

Q: คุณแท็ปเริ่มต้นวัยเรียนที่ไหน

A: ที่กรุงเทพคริสเตียนฯ ซึ่งไกลบ้านมากครับ ต้องตื่น ตี 5 ทุกวันตั้งแต่ป.1 ถึงป.6 จนคุณแม่สงสารเห็นว่าผม ต้องตื่นแต่เช้ามืด ก็เลยให้ย้ายมาบดินทรเดชา ซึ่งอยู่ ใกล้บ้านกว่า ผมเรียนที่นั่นจนกระทั่งจบม.3 แล้วไปเข้า เตรียมอุดมฯ ตอนม.4

Q: เป็นเด็กเตรียมอุดมฯ ได้ แสดงว่าเรียนดี

A: ผลการเรียนผมอยู่ในกลุ่มปานกลางครับ ไม่ได้ดีมาก แต่ก็ไม่ได้แย่ แล้วก็ชอบวิชาคำนวณมาตั้งแต่เด็ก เลย เรียนสายวิทย์-คณิต พอม.5 ก็สอบเทียบ ซึ่งยุคนั้นเป็น ยุคท้ายๆ ของการสอบเ­ทียบแล้ว ผมได้เรียนวิศวะ ไฟฟ้าที่จุฬาฯ ต้องบอกว่าสิ่งที่ได้จากการเรียนวิศวะคือ ความเข้าใจตรรกะเห­ตุผล เพราะว่าวิชาวิศวะอยู่บน พื้นฐานของ logic thinking อย่างเดียว เป็นการเรียนที่ สนุกดีครับ ถึงแม้ว่าผลการเรียนจะไม่ค่อยดีเท่าไร เพราะเป็นช่วงเวลาที่ได้ประสบการณ์ที่มีค่าหลายอย่าง ถึงจะไม่ได้เข้าชมรมจริงจัง แต่ผมชอบเล่นกีตาร์ใน วงดนตรีโรงเรียนมาตั้งแต่ตอนเรียนเตรียมอุดมฯ อยู่ แล้ว พอมาเรียนจุฬาฯ ก็เล่นดนตรีนิดหน่อย และใช้ เวลาไปกับการเรียนเสียเป็นส่วนใหญ่

จบปุ๊บผมก็ไปเป็นวิศวกรที่ UCOM อยู่สองปี แล้ว รู้สึกอยากไปเรียนเมืองนอก ก็เลือกเรียนที่ Vanderbilt University ที่แนชวิลล์ จริงๆ แล้วผมสมัครยูดีกว่านี้ไว้ ด้วย แต่เนื่องจากรีบไป ประสบการณ์ยังน้อย เกรด เฉลี่ยปริญญาตรีไม่ดี ถึงแม้คะแนน GMAT จะดีมากก็ เถอะ แต่เพราะผมเคย­ไปเรียนซัมเมอร์ที่ยูนี้มาก่อนแล้ว ชอบก็เลยโอเค ซึ่งไม่ได้เป็นยูที่ติดท็อป 10 แต่ก็ไม่ได้ เป็นยูที่แย่ ติดหนึ่งใน Top 25

Q: ไปเรียนต่อทางด้านไหน

A: เรียนโท MBA เมเจอร์ทางด้าน Finance และ Accounting เพราะผมชอบ­เลข ไม่ได้รู้สึกแย่ที่จะทำงาน กับตัวเลข เป็นช่วงเวลาที่สนุกมาก ว่างเมื่อไรก็ไปขับรถ เที่ยวทั่วอเมริกา ได้เห็นอะไรที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ได้เจอ คนใหม่ๆ เยอะเลย เป็นช่วงเวลาสองปีที่ดีมากสำหรับ ผม เพราะเขาสอ­นหนังสือดีมาก ไม่ได้สอนหนังสือยาก แต่เขาสอนให้ practical สามารถเอาไ­ปใช้ได้จริง อย่าง สอบคำนวณเด็กไทยชนะหมด เพราะทฤษฎีมันง่าย แต่ สิ่งที่เขาพยายามเ­น้นคือการเอามาป­รับใช้กับงานได้จริง กลับมาผมก็ทำงานแบงก์อยู่หลายปี ทำพวกเทรดเ­งิน ก่อนจะกลับมาทำ SRICHAND

Q: ได้นำสิ่งที่เรียนมาใช้กับ SRICHAND บ้างไหม

A: วิชาที่ใช้เยอะมากเลย­ก็คือบัญชี เพราะบัญชีเหมือน ภาษา ถ้าคนอ่านไม่เป็นก็จะไม่เข้าใจว่าโครงสร้างบัญชี คืออะไร เรื่อง operation ก็ใช้เยอะ พวกการวางแ­ผน จัดการทรัพยากร หรือ Corporate Finance ว่าการใช้เงิน ของเรามีประสิทธิภาพหรือเปล่า ตอนแรกๆ เข้ามาทำ เป็นช่วงวางระบบก็เหนื่อยเหมือนกัน แต่ถือเป็น ประสบการณ์ที่ดี ได้เห็นบริษัทเราค่อยๆ ใหญ่ขึ้นทีละ นิดๆ สนุกดี (ยิ้ม)

Q: จากที่ฟังพอดคาสต์ของคุณมา เป็นนักอ่านตัวยง รู้สึกว่าคุณจะ

A: วันๆ หนึ่งผมอ่านหนังสือเยอะมากครับ แล้วตอน กลับมาทำ SRICHAND ผมต้องจับงานมาร์เก็ตติ้งด้วย ซึ่งไม่ได้เรียนมา ก็เลยต้องหาความรู้จากการอ่านเอง เพราะไม่มีเวลาจะไปเรียนเพิ่มเติมแล้ว ผมก็จะอ่าน หนังสือบริหารธุรกิจเยอะ มาช่วงนี้ผมจะอ่านจิตวิทยา

‘ตอนนี้โลกเราวิวัฒนาการมาถึง จุดที่ต้องถูกเปลี่ยนอีกครั้ง เรากำลังอยู่บนต้นทางการ เปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่มาก’

และพฤติกรรมมากหน่อยเพราะเป็นเรื่องใหม่ ก็สนุกดี แล้วพออ่านจิตวิทยาเยอะ ก็เริ่มอยากอ่านพวก อัตชีวประวัติคนสำคัญของโลก

Q: ใครเป็นคนจุดประกายให้อยากเขียน และทำ พอดคาสต์

A: จุดเริ่มต้นของการเขียนมาจากการ­อ่าน เมื่ออ่าน เยอะก็เลยอยากเขียน แรกๆ ผมเขียนบล็อกสั้นๆ ก่อน รู้สึกว่าเป็นงานอดิเรกที่สนุก ได้ใช้สมองดี ก็เลยเขียน เรื่อยมา แล้วก็กลายเป็นหนังสือ พอเขียนหนังสือก็ได้ ทำพอดคาสต์ด้วย ทำให้ผมได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ทุกวัน เพราะว่าต้องทำพอดคาส­ต์ทุกวัน ซึ่งเวลาเตรียมเนื้อหา เราต้องพยายามทำ­ความเข้าใจกับสิ่งที่เราจะพูดจริงๆ เพราะไม่อย่างนั้นพูดไม่ได้ กว่าจะได้หนึ่งเรื่อง ต้องอ่าน ที 5 - 6 เรื่อง แต่ก็ถือเป็นการอัพเดตความรู้เราไปในตัว ด้วย เพราะเราได้อ่าน ได้คิด ได้เรียบเรียง และได้เล่าให้ คนอื่นฟัง เราก็จะจดจำเรื่องที่เล่าได้ประมาณหนึ่ง แรกๆ คนฟังผมน้อยมากครับ ปัจจุบันมีคนฟังวันละ 60,000 - 70,000 คน

Q: มีหนังสือมาแล้วกี่เล่ม

A: 6 เล่มแล้วครับ เริ่มจาก Marketing Everything!, คิด จะไปดวงจนั ทร์ อยา่ หยดุ แคป่ ากซอย : A Thinker’s Guide to the Moon, มาร์เก็ตติ้งลิงกลับหัว, อย่าปล่อยให้ใคร ฆ่าวาฬของคุณ : A Thinker’s Guide to Conquering The Ocean, ที่...หัวมุมถนน และ The Disruptor

Q: เห็นว่าทำทอล์กโชว์ด้วย

A: ครับ เป็น Super Productive Show ที่จัดขึ้นรอบเดียว เป็นเนื้อหาในธีมเดียวกับที่ผมทำพอดคาส­ต์กับเดอะ สแตนดาร์ด และมีแขกรับเชิญที่เปิดเผยไม่ได้เพราะ อยากเก็บเป็นเซอร์ไพรส์ จะเป็นโชว์แรกของผม และ เทอมที่จะถึงนี้ผมจะไปสอนนักศึกษาปริญญาโทที่ ธรรมศาสตร์ด้วย

Q: ทำงานมากขน­าดนี้ ไม่ทราบว่ามีวิธีแบ่งเวลา อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

A: ผมตื่นประมาณตีสาม สายสุดคือตีสี่ อ่านหนังสือนิด หน่อย ตีสี่ครึ่งถึงสวนลุม วิ่งเสร็จก็คุยกับเพื่อน กลับไป อาบน้ำแล้วเข้าออฟฟิศก่อนแปดโมงเช้า คุยกับลูกน้อง ดูแลทีมงาน เย็นกลับไปส่งลูกเข้านอน จากนั้นสองทุ่ม ครง่ึ ทำพอดคาสต์ ก่อนจะเข้านอนตอนห้าทุ่ม ผมนอน น้อยครับ วันหนึ่งประมาณ 4 - 5 ชั่วโมง นอกจากนี้ เวลาไปไหน ผมจะไม่ขับรถเอง เพื่อจะได้นั่งทำงานใน รถ เวลาที่ผมประหยัดได้เยอะมากก็คือเวลาเดินทาง นานๆ ทีผมถึงจะขับรถเอง และเป็นกิจกรรมเพื่อความ สนุกสนานมากกว่า

Q: เห็นว่าคุณ fasting ด้วย

A: ครับ วันหนึ่งๆ ผมกินข้าวแค่สองมื้อ วันละ 6 ชั่วโมง แล้วจากนั้นไม่กินอะไรอีกเลย ไม่ใช่เพื่อลดน้ำหนักนะ หลักการของมันก็คือว่าปกติเวลาเรากินอาหารไป มัน จะกลายเป็นไกลโคเจนไ­ปสะสมอยู่ที่ตับ ถ้าเราเติมมัน เข้าไปในช่วงระหว่าง 12 ชั่วโมง สมองจะใช้แต่ ไกลโคเจนซึ่งง่ายกว่า แต่ถ้าเกิดเราไม่กินอะไรเข้าไปเลย พอผ่าน 12 ชั่วโมงไป สมองจะถูกบังคับให้ใช้คีโตนใน ตับ ซึ่งที่จริงคือไขมันที่สะสมอยู่ เราเรียกว่าสภาวะ ‘คีโตซิส’ ที่สมองชอบมาก ทำให้สมองไบรท์ คนที่ชอบ เหนื่อยช่วงบ่ายๆ ถ้าหากลองงดอ­าหารจะหายเ­ลย ตอน นี้ซีอีโอ Start up ในอเมริกาหลายคนกินข้าวแค่วันละมื้อ เดียวเอง ไม่ใช่เพื่อลดน้ำหนักนะ แต่เพื่อไม่ให้ brain power ตก

ผมกไ็ มร่ วู้ า่ คนอน่ื ทำแลว้ ดขี น้ึ หรอื เปลา่ แตโ่ ดยสว่ นตวั ผมชอบ ที่ทำเพราะผมฟังจากพี่หมูอุ๊กบีซึ่งแกทำงาน เยอะ ก็เลย fasting เพื่อให้สมองสามารถ­ทำงานได้ ตลอดเวลาโด­ยที่ไม่เหนื่อย อันนี้ก็เป็น body hack อย่าง หนึ่งที่หลังๆ มีคนทำเยอะมา­ก ผมเองก็ fasting ด้วย วิ่ง ด้วย ก็ไม่ได้เหนื่อยนะ ก็อยู่ได้

Q: คิดว่าหนังสือลำดับต่อไปที่ใกล้วางแผงจะเป็น เรื่องเกี่ยวกับอะไร

A: สำหรับเล่มนี้ยังไม่มีชื่อเลยครับ ซึ่งเนื้อหาจะไม่ เหมือนเล่มที่ผ่านๆ มา แต่จะเป็นหนังสือที่ผมอยากเล่า ให้ผู้อ่านทราบว่า ในอนาคตผมคิดว่าเด็กเจเนอเรชั่น Alpha จะเอาตัวรอดอย่างไร ซึ่งเด็กเจเนอเรชั่นนี้เป็นรุ่น ลูกผม และเป็นเจเนอเรชั่นที่เติบโตมากับ Digital Native ซึ่งในมุมหนึ่งผมเป็นคนที่ติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอด รู้สึกว่าอยากเล่าให้พ่อแม่คนอื่นฟังว่าผมเห็นอะไรบ้าง ในเด็กเจเนอเรชั่นนี้ ซึ่งจะมีความเป็นปัจเจกมากขึ้น สนใจเรื่องสิทธิเสรีภาพของตัวเองมากขึ้น

ตอนนี้โลกเราวิวัฒนาการมาถึงจุดที่ต้องถูกเปลี่ยน อีกครั้งหนึ่ง เรากำลังอยู่บนต้นทางการเปลี่ยนแปลงที่ ยิ่งใหญ่มาก โดยที่ยังไม่มีใครรู้ว่าปลายทางคืออะไร สิ่ง ที่น่าสนใจก็คือ ผมคิดว่ายุคนี้เป็นยุคที่เปิดกว้างมากๆ เราสามารถน­ำสิ่งที่ตัวเองสนใจมา­ทำเงินได้หมดเลย ซึ่ง น่าตื่นเต้นเอามากๆ

Q: อยากฝากอะไ­รถึงผู้ปกครองของเ­ด็กรุ่น Alpha

A: สิ่งที่เราเคยเชื่อว่าดีว่ามีประโยชน์ จะไม่เป็น ประโยชน์ต่อเด็กรุ่นต่อไปจริงๆ เพราะสิ่งที่โลกให้คุณค่า ความสำคัญจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป คำว่า ‘มั่นคง’ อาจจะไม่มีอีกเลยก็ได้ เพราะจะเกิดความเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำใจยอมรับยากเหมือนกัน ผมคิดว่าเราควรเปิดโอกาสให้ลูกได้มีโอกาส explore สิ่งที่เขาอยากทำเ­อง ในฐานะพ่อแม่เป็นธรรมดาที่เราจะ รู้สึกเป็นห่วง แต่เราควรตีกรอบความเป็นห่วงให้ถูกต้อง โดยไม่ไปจำกัดสิทธิเสรีภาพและอิสรภาพทางคว­ามคิด ของลูก เพราะไม่อย่างนั้นแล้วลูกจะน่าสงสารมาก

ผมว่าเราควรเปิดโอกาสให้เด็กทำสิ่งที่เขาคิดว่า ตัวเองทำได้ดี เราจะบังคับเด็กให้เรียนเหมือนกันหมด ทกุ คนคงไมไ่ ด้ แลว้ ถา้ เขาไมม่ คี วามสขุ กบั งานกไ็ มม่ ที าง ทำงานได้ดีหรอก คนที่ทำงานอย่างมีความสุข เขาจะส่ง ต่อความสุขนี้ไปให้คนอื่นได้ด้วย ซึ่งผมถือว่ามีค่ามาก นะ อย่างผมทำงานทุกวัน ผมไม่คิดว่าเป็นงานนะ แต่ เป็นวิถีชีวิตไปแล้ว เป็นสิ่งที่เราตื่นขึ้นมาแล้วอยากทำ

Q: ตอนนี้เป็นห่วงอะไรในกา­รเลี้ยงดูลูกมากที่สุด

A: ผมว่า environmen­t เป็นเรื่องน่าเป็นห่วงที่สุด เพราะ ว่าอยู่นอกเหนือการควบคุมของเราจริงๆ แม้แต่รัฐบาล ไทยก็คอนโทรลไม่ได้เพราะเป็นเรื่องระดับโลก ซึ่งมนุษย์ ยังร่วมมือกันไม่ค่อยได้สักเท่าไร เรายังไม่เห็นความ พยายามที่ชัดเจน ผมคิดว่าคนกรุงเทพฯ เจอ PM 2.5 มารอบหนึ่งแล้ว แต่นี่แค่ชิมลาง สิ่งที่ตามมาจะใหญ่ กว่านี้มาก รุ่นลูกเราต้องเจอหนักกว่านี้อีกเยอะมาก แต่ ผมเชื่อว่ามนุษย์เราสามารถ evolve ได้เรื่อยๆ อยู่แล้ว แต่อย่าลืมว่าปัญหานี้เกิดจากน้ำมือของคนยุคเราที่ สร้างไว้ ไม่ใช่พวกเขา

‘เราควรตีกรอบความเป็นห่วง ให้ถูกต้อง โดยไม่ไปจำกัดสิทธิ เสรีภาพและอิสรภาพทาง ความคิดของลูก’

 ??  ?? (บนขวา) กับครอบครัวเล็กๆ ของเขา (ล่างขวา) นอกจากจะจัดพอดคาสต์แล้ว เขายังขึ้นเวทีทอล์ก เพื่อแบ่งปัน ประสบการณ์ชีวิตและงานให้ผู้ฟัง
(บนขวา) กับครอบครัวเล็กๆ ของเขา (ล่างขวา) นอกจากจะจัดพอดคาสต์แล้ว เขายังขึ้นเวทีทอล์ก เพื่อแบ่งปัน ประสบการณ์ชีวิตและงานให้ผู้ฟัง
 ??  ??
 ??  ??

Newspapers in Thai

Newspapers from Thailand