Hello! (Thailand)

โรคซึมเศร้า... ภัยเงียบที่อาจทำร้ายลูกคุณ

-

ดูเหมือนว่าระยะหลังมานี้โรคซึมเศร้าจะเป็นโรคที่ถูกเอ่ยถึงอยู่เสมอ เพราะเป็นโรคที่คุกคามวิธีการ ใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยอย่างสภาวะอาร­มณ์ที่หม่นหมองหดหู่ หรือในขั้นรุนแรงก็คือการทำร้ายตัวเองจนถึงขั้นฆ่าตัวตาย จากสถิติพบว่าโรคซึมเศร้าเป็นปัจจัยสัมพันธ์ กับการฆ่าตัวตายของไทย­สูงถึง 8% เลยทีเดียว และกลุ่มที่น่าเป็นห่วงที่สุดก็คือเด็กวัยรุ่น เราจะปกป้อง พวกเขาไม่ให้คิดผิดได้อย่างไร มาไขคำตอบนั้นด้วยกัน โรคซึมเศร้าคืออะไร?

คือความผิดปกติของอารมณ์ซึ่งเป็นผลจากระดับ ฮอรโ์ มนในสมองทม่ี คี วามผดิ ปกติ เปน็ สภาวะทางอา­รมณ์ ตา่ งจากความรสู้ กึ ซมึ เศรา้ ทว่ั ๆ ไป โดยมลี กั ษณะอาการท่ี เด่นชัดคือ มีอารมณ์เศร้ามากเกินไป มีความรุนแรงอยู่ คอ่ นขา้ งจะยาวนาน (มากกวา่ 2 สปั ดาห)์ และยดื เยอ้ื จนสง่ ผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ และการดำเนินชีวิต โดยรวม เชน่ เรม่ิ มนี ำ้ หนกั ตวั ลดลงจากการ­เบอ่ื อาหาร กนิ ได้น้อยถึงไม่กินเลย บางรายอาจเ­ป็นลักษณะตรงกันข้าม คอื มนี ำ้ หนกั ตวั เพม่ิ ขน้ึ จากการกนิ มากจนเกนิ ไป

บ่อยครั้งในผู้ที่มีอารมณ์ซึมเศร้าเราจะพบปัญหา เรื่องการนอนรว­มอยู่ด้วย ส่วนใหญ่เป็นลักษณะหลับ ไม่สนิท หลับๆ ตื่นๆ หรือตื่นเร็วกว่าปกติ ทำให้นอน ไม่เต็มตา รู้สึกอ่อนเพลีย มีปัญหาด้านความจำ คิด อะไรไม่ค่อยออก ส่งผลให้การเรียนและประสิทธิภาพใน การทำงานแย่ลง ทางด้านของอารมณ์มักจะมีความ รสู้ กึ หดหู่ เบอ่ื หนา่ ยทอ้ แท้ (persistent low mood) อยแู่ ทบ จะทั้งวัน และมีความรู้สึกดังกล่าวอยู่ทุกวันต่อเนื่องกัน เกิน 2 สัปดาห์ขึ้นไป กระทบต่อหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ เชน่ ไมส่ ง่ การบา้ น ไมท่ ำงาน ไมไ่ ปโรงเรยี น ผลการเรยี น แย่ลงทุกวิชา (loss of function) ไม่ได้รับความสุขจาก งานอดิเรกที่ตนเองเคยชอ­บ เช่น อ่านหนังสือพิมพ์ ดูทีวี เล่นกีฬา (anhedonia)

ผ้ทู ี่ตกอย่ใู นภาวะซึมเศร้าในระดับที่มีความรุนแรงมาก จะเริ่มหมดความกร­ะตือรือร้น หมดความสนใ­จในสิ่ง แวดลอ้ ม แยกตวั จากคนรอบขา้ งมากขน้ึ เรอ่ื ยๆ (withdrawn /social isolation) จนสุดท้ายจะเริ่มเก็บตัว ในกรณีที่มี อาการรุนแรงสงู มากจะมีความคดิ ในแง่ลบต่อตนเอง ร้สู ึก วา่ ตนเองไรค้ า่ รสู้ กึ วา่ ตนเองเปน็ ภาระ รสู้ กึ ผดิ โทษตวั เอง มากเกินกว่าเหตุ อยากตาย ร้องไห้อยู่เรื่อยๆ บางรายมี อาการจติ หลอนซง่ึ มคี วามอนั ตรายสงู สดุ เพราะอาจนำ­ไป สู่ความคิดที่จะทำร้ายตนเองและ­ฆ่าตัวตายในที่สุด ทง้ั หมดทก่ี ลา่ วมานค้ี อื หนา้ ตาของโรคซมึ เศรา้ ครบั

โรคซมึ เศรา้ : ชว่ งแรกมกั จะดยู าก เนอื่ งจากอาการ อาจไม่ชัดเจน

หลายครั้งเราอาจจะคุ้นเคยกับความรู้สึกซึมเศร้าที่ เกิดขึ้นกับตัวเราเองหรือเพื่อนเราในชีวิตแต่ละวัน (มาก บ้างน้อยบ้าง) จนกลายเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ได้มีใครคิด จะใส่ใจหรือให้ความสำคัญอะไรกับมันเพราะคิดว่า เดี๋ยวคงหายเอง หรือบังเอิญเจอกับอารมณ์ซึมเศร้า ที่มาในลักษณะแฝง ซึ่งมักจะแสดงออก­มาในรูปของ ความหงุดหงิด เจ้าอารมณ์ โมโหโทโสง่าย โดยไม่มีใคร เอะใจว่านั่นอาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคซึมเศร้าใน เวลาต่อมา ส่วนใหญ่คิดว่าคงเป็นเพราะความ­เครียด จากการทำงา­น หรือปัญหาในชีวิตเยอะ เลยทำให้ หงุดหงิดง่ายและกลายเ­ป็นคนเจ้าอารมณ์ไป ซึ่ง สุดท้ายถ้าปล่อยให้ล่วงเลยไปเรื่อยๆ ก็อาจลงเอยกล­าย เป็นโรคซึมเศร้าอย่างเต็มรูปแบบได้เช่นเดียวกัน

พบได้บ่อยในผู้ที่ปรับตัวยาก ไม่ยืดหยุ่น มีความคาด หวังในชีวิตสูง ส่วนใหญ่ดีขึ้นหรือหายเองได้ถ้าได้อยู่ใน สิ่งแวดล้อมที่ดี มีคนใกล้ชิดคอยรับฟังปัญหา ได้รับคำ ปรึกษาที่ดีหรือมีเพื่อนมีครอบครัวคอยให้กำลังใจ แต่ใน กรณตี รงกนั ขา้ มคอื ผทู้ ข่ี าดคนใหค้ ำปรกึ ษา ขาดมติ รทด่ี ี ไม่ค่อยชอบเข้าสังคม และมีความขัดแย้งที่รุนแรงใน ครอบครัว ประกอบกับในรายที่เคยมีประวัติเป็นโรค ซึมเศร้ามาตั้งแต่วัยรุ่น และหรือมีประวัติครอบครัวหรือ เครือญาติใกล้ชิดเคยเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน (โรค ซึมเศร้าถ่ายทอดโดยทา­งพันธุกรรมได้ และมักจะพบใน ผู้ที่มีอาการมาตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น) ในกรณีนี้ผู้ที่เป็นโรค ซึมเศร้าควรต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและได้รับ การช่วยเหลือแก้ไขอย่างถูกต้องเสียแต่เนิ่นๆ เพราะมี แนวโน้มค่อนข้างสูงที่จะไม่หายเองง่ายๆ หรือหายแล้ว เป็นซ้ำอีก มีความเรื้อรังและมีความรุนแรงมากขึ้น เรื่อยๆ เสี่ยงต่อการดื้อต่อการรักษาและทำร้ายตัวเองสูง

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งคือ คนใกล้ชิดอาจไม่ แน่ใจหรือไม่กล้าพูดเพราะเกรง­ใจ หรือกลัวว่าจะ ทะเลาะกัน ก็เลยปล่อยให้ปัญหายืดเยื้อและกลายเป็น โรคซึมเศร้าในเวลาต่อมา

โรคซึมเศร้าในเด็กและวัยรุ่น

เราอาจเคยไ­ด้ยินบ่อยๆ ว่าโรคซึมเศร้านั้นเกิดได้ เฉพาะในผู้ใหญ่ แต่อันที่จริงแล้วเด็กก็เป็นโรคนี้กันได้ และอาจส่งผลกระทบใน­ระยะยาวได้มากกวา่ ผใู้ หญเ่ สยี ดว้ ยซำ้ (คอื เปน็ ตอ่ เนอ่ื งมาเรอ่ื ยๆ เปน็ ๆ หายๆ จนเขา้ วยั ผใู้ หญ)่ ในประเทศไท­ยอัตราความชุกของโรคซึมเศร้าใน เด็กและวัยรุ่นนั้นอยู่ที่ 2 - 4% ว่ากันคร่าวๆ คือ ประมาณ 1 ใน 4 ของวัยรุ่นมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้า โดยในเด็กผู้หญิงนั้น เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นจะมีความเสี่ยง สูงต่อการเป็นซึมเศร้ามากกว่าเพศชายถึง 2 เท่า การ พบโรคซึมเศร้าในคนที่อายุยังน้อยนั้นมีโอกาสที่จะส่ง ผลกระทบทรี่ ุนแรงตอ่ อนาคตของเด็กไดอ้ ยา่ งใหญ่หลวง โดยเฉพาะใน­ด้านการศึกษาและการป­รับตัวเข้ากับ สังคม และที่สำคัญโรคซึมเศร้าดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น แล้วนั้น อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ฆ่าตัวตายตามมาไ­ด้ หากไม่ได้รับการดูแลและป้องกันเสียตั้งแต่เนิ่นๆ

ลูกคุณเข้าข่ายซึมเศร้าหรือไม่?

- 1 - 5 ขวบ สงั เกตจากอารม­ณ์ การดำเนนิ ชวี ติ ความ เป็นอยู่ และพฤติกรรม เสียใจง่าย อารมณ์หงุดหงิด รอ้ งไหไ้ มห่ ยดุ กนิ ไดน้ อ้ ยหรอื ไมก่ นิ เลย หลบั ยาก ตน่ื บอ่ ย ไม่เล่น กลัวโรงเรียน กลับมาติดพ่อติดแม่มากจากที่เคย แยกได้ มพี ฒั นาการถดถอย นำ้ หนกั ตวั ไมข่ น้ึ

- 5 - 12 ขวบ ส่วนใหญ่มีอาการทางกา­ย ปวดหัว ปวดท้อง อาจมีอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียว เบื่อง่าย ไม่สนใจเรียน การเรียนตกต่ำลง และมักพบว่ามีอาการ วิตกกังวลปนอยู่ด้วย

- เด็กโต & ผู้ใหญ่ มักหมดความสน­ใจ หรือหมด ความกระตือรือร้นในกิจกรรมที่เคยทำ ที่เคยชอบ หรือมี ความสุข ใจคอหดหู่ ซึมเศร้า รู้สึกว่าตนเองไร้คุณค่า เริ่มเก็บตัวอยู่คนเดียว พูดน้อยลง บางรายอาจห­นีออก จากบ้าน หรือเริ่มใช้สารเสพติด มีพฤติกรรมเสี่ยงทาง เพศ หนีโรงเรียนตั้งแต่เป็นวัยรุ่น

3 ปัจจัยหลักที่ทำให้เป็นโรคซึมเศร้า 1. ปัจจัยทางชีวภาพ

พันธุกรรม คือยีนและการถ่ายทอดทางพันธุกรรม พบว่าโรคซึมเศร้ามีการถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรม การศึกษาในฝาแฝด­ไข่ใบเดียวกัน (monozygoti­c) เทียบ กับเด็กฝาแฝดที่เกิดจากไข่คนละใบ (dizygotic) พบว่ามี การถ่ายทอดทางพันธุกรรมของโรค­ซึมเศร้าได้สูงถึง 25% และ 50% ตามลำดับ ดังนั้นเด็กที่มีพ่อแม่เคยเป็น โรคซึมเศร้า ลูกจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า เพิ่มขึ้น 2 - 3 เท่าเมื่อเทียบกับในเด็กทั่วไปที่ไม่ได้มี กรรมพันธุ์และพ่อแม่ไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้า และในเด็กที่ มีปัจจัยทางด้านกรรมพันธุ์เข้ามาเกี่ยวข้องนั้นมักพบว่า จะเริ่มเป็นซึมเศร้าตั้งแต่อายุยังน้อย คือก่อนอายุ 18 ปี

สาเหตุทางกาย สารเคมีที่เป็นสารสื่อประสาทใน สมองบางตัวมีความแปรปรว­นขาดความสม­ดุล โดยพบ วา่ ในผทู้ เ่ี ปน็ โรคซมึ เศรา้ จะมฮี อรโ์ มนซโี รโทนนิ (serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (norepineph­rine) อยู่ในระดับที่ต่ำ หรือต่ำมากๆ (ซึ่งในส่วนนี้สามารถแก้ไขให้ดีขึ้นได้โดย การกินยาปรับฮอร์โมนและยังสามารถรักษาให้กลับมา เป็นปกติได้)

เป็นโรคเบาหวา­น โรคเรื้อรัง ในเด็กมักมีปัญหาด้าน พัฒนาการ หรือมีระดับสติปัญญาบกพร่อง รวมถึงการ เปลี่ยนแปลงของร­ะดับฮอร์โมนที่มักจะเกิดขึ้นในช่วง วัยรุ่น

2. ปัจจัยทางจิตวิทยา ลักษณะวิธีคิด

ผู้ที่มีวิธีคิดหรือทัศนคติเชิงลบกับตัวเอง ไม่ยืดหยุ่น มีความคาดหวังสูง มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้ามาก กว่าคนทั่วไป

ผู้มีปัญหาด้านบุคลิกภาพทุกประเภทมีแนวโน้มที่จะ ซึมเศร้ามากกว่าคนทั่วไปอยู่แล้ว แต่ที่ต้องให้ความ สนใจมากเป็นพิเศษคือในกลุ่มที่ช่างวิตกกังวล ย้ำคิด ย้ำทำ และไม่ยืดหยุ่น

3. สิ่งแวดล้อม ครอบครัว

ความขัดแย้ง การหย่าร้าง การสูญเสียบุคคลอันเป็น ที่รัก และภาวะตึงเครียดจากความรุนแรงในครอบ­ครัว ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าทั้งต่อตัวเด็ก และตัวผู้ใหญ่เอง วัยเด็กได้รับความกระทบ­กระเทือน ทางจิตใจสูง รู้สึกไม่อบอุ่นหรือไม่ปลอดภัย ตกอยู่ ท่ามกลางความ­ขัดแย้งและความหว­าดกลัวตลอดเวลา เด็กที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อายุ ยังน้อย ไม่ว่าจะผ่านการมองเห็นหรือถูกกระทำโดยต­รง

โรงเรียน

ถูกเพื่อนรังแก (bully) เครียดเรื่องผลการเรียน ถูก abuse โดยปล่อยข่าวลือเท็จทำให้รู้สึกอับอาย ถูก อัปเปหิ (exclude) ออกจากกลุ่ม ทำให้เด็กวัยนี้มีปัญหา โรคซึมเศร้าได้บ่อย ในกลุ่มเด็กหญิง วิธีการรังแกจะ ซ่อนเร้นกว่าในเด็กชาย ทำให้ตรวจพบค่อนข้างยาก

สังคมเศรษฐกิจ

การแข่งขันที่สูง การขาดความ­เอื้ออาทรแก่กัน การ ใช้ชีวิตแบบเร่งรีบ ไม่มีเวลาพักผ่อน ขาดการออกก­ำลัง กาย ขาดกิจกรรมสันทนาการ ตัดขาดจากครอ­บครัว หรือเพื่อนฝูง

7 วิธีป้องกันและเฝ้าระวัง

1. ในครอบครัวที่มีกรรมพันธุ์ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

2. ให้ความใกล้ชิดและเรียนรู้ถึงความรู้สึกนึกคิดที่ถูก สร้างโดยประสบ­การณ์และธรรมชาติให้มีความละเอียด อ่อนและแตกต่างกันในแต่ละบุคคล

3. หมั่นสังเกตอารมณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ยามเครียด โดยเฉพาะกา­รเก็บตัวและโดดเดี่ยวตนเอง ต้องระวังการฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเอง

4. การกรีดข้อมือส่วนใหญ่มาจากความรู้สึกไร้ค่า ไม่ เป็นที่รัก เด็กไม่สามารถสัมผัสถึงคุณค่าของตนเองไ­ด้ ขั้นรุนแรงมักเกิดตามหลังการมีปากเสียงรุนแรงกับแฟน หรือผู้ปกครอง

5. หลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์รุนแรงภายในค­รอบครัว

6. การดำเนินของโรคซึมเศร้าที่เกิดครั้งแรกในช่วงวัย เด็กนั้น พบว่าการดำเนินของโรคมีความสลับซับซ้อน และมีความเรื้อรังและมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำสูง

7. ผู้ที่เคยรับการรักษาจนหายดีแล้วควรป้องกันระยะ ยาวเพื่อไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีก

บททิ้งท้าย

ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าหรือมีอาการซึมเศร้าที่อยู่ในขั้น รุนแรง มีอารมณ์ซึมเศร้าตลอดเวลา มีความคิด มีการ วางแผนและรู้สึกอยากตายอยู่อย่างต่อเนื่อง มีความ หุนหันพลันแล่นสูง จิตหลอน แพทย์จำเป็นต้อง admit ให้ยาก่อนแล้วจึงค่อยพิจารณาเรื่องการพูดคุยทำ จิตบำบัดเป็นขั้นตอนถัดมา การเข้ารับการดูแลรักษาได้ เร็วจะสามารถล­ดความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายได้ รวม ถึงการให้การดูแลช่วยเหลือที่เหมาะสมจาก­ครอบครัว และเพื่อน

ต้องไม่ลืมว่าในผู้ที่มีความเสี่ยงทางด้านพันธุกรรม และเริ่มเป็นเมื่ออายุยังน้อย (ก่อนอายุ 18 ปี) นั้น การ ดำเนินของโรคอาจ­จะไม่สิ้นสุดได้โดยง่าย เพราะมี โอกาสที่จะกลับมาเกิดซ้ำได้สูงโดยอัตราการเกิดเป็นซ้ำ อยู่ที่ 25% ในช่วง 1 ปีแรกหลังจากรักษาหาย 50% ใน ช่วง 2 ปี 75% ในช่วง 5 ปี

และใน 5 - 10% ของผู้ป่วยซึมเศร้าอาจพัฒนาไป

เป็น bipolar ได้ภายใน 6 - 10 ปีหลังวินิจฉัย และมักเกิด หลังจากเป็นซึมเศร้ารอบที่ 2

โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อาการโรคซึมเศร้าที่มีความรุนแรงในระดับปานกลาง และในระดับสูงจำเป็นต้องได้รับการดูแลที่ใกล้ชิดจาก แพทย์เนื่องจากมีความแปรปรว­นของระดับฮอร์โมนใน สมองสูง ต้องแก้ไขในเบื้องต้นด้วยการกินยาจนอาการ พ้นขีดอันตรายเสียก่อนแล้วจึงค่อยใช้เวลาในการ ให้การฟื้นฟูโดยจิตบำบัดในคราวต่อๆ มา

สำหรับผู้ที่เคยเป็นโรคซึมเศร้ามาแล้ว การเฝ้าระวังมิ ให้กลับมาเป็นซ้ำนั้นเป็นสิ่งที่จะต้องดูแลเป็นลำดับต้นๆ ประกอบกับการระมัดระวังไม่ให้ต้องเผชิญกับสิ่ง แวดล้อมที่ก่อให้เกิดความตึงเครียดต่อเนื่องหรือความ ขัดแย้งมากจนเกินไป โดยเฉพาะคว­ามขัดแย้งภายใน ครอบครัว ควรฝึกตนเองให้รู้จักผ่อนหนักเป็นเบาและ ปล่อยวาง ในครอบครัวที่มีเด็ก แนะนำว่าไม่ควรนำเด็ก เข้ามาในวงจรข­องความรุนแรง เนื่องจากเด็กยังเป็นวัย ที่มีความเปราะบ­างทางจิตใจสูงและความอด­ทนต่อ ความเครียดของสมองยังไม่ดีพอเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ การปล่อยปละละเลย­ไม่ดูแลเด็กก็เช่นเดียวกัน จะส่ง ผลกระทบทำใ­ห้การพัฒนาของสมอง­และจิตใจเด็กมี ปัญหาได้ในทั้งระยะสั้นคือตั้งแต่ก่อนเข้าวัยผู้ใหญ่และ ในระยะยาว

ปรับหลักวิธีคิดให้ถูก

การมีอารมณ์ซึมเศร้าและมีความคิดอยากตายอยู่อย่าง ต่อเนื่องถือเป็นภาวะฉุกเฉิน ไม่มีคำว่า ‘หายเอง’ โรค ซึมเศร้าเกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนในสมอง ไม่ใช่และไม่ได้เกิดจากความอ่อนแอ สามารถรักษา ให้หายกลับเป็นปกติได้

“In actual fact, depression is treatable and to a fair number of cases suicide is preventabl­e”

 ??  ??
 ??  ??
 ??  ?? การศึกษาพบว่าในเด็กผู้หญิง มีการเปลี่ยนแปลงของ ฮอร์โมนในร่างกายเมื่อเข้าสู่ ช่วงวัยรุ่น ซึ่งส่งผลให้การ ทำงานของระ­บบต่อมไร้ท่อ มีความผิดปกติและการเผชิญ ความเครียดทำให้ระดับ cortisol (สารเครียด) ใน ร่างกายสูงขึ้น และถ้าคงอยู่ เป็นระยะเวลาน­านอาจส่งผล ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน สมองและนำม­าซึ่งอาการ ซึมเศร้าได้
การศึกษาพบว่าในเด็กผู้หญิง มีการเปลี่ยนแปลงของ ฮอร์โมนในร่างกายเมื่อเข้าสู่ ช่วงวัยรุ่น ซึ่งส่งผลให้การ ทำงานของระ­บบต่อมไร้ท่อ มีความผิดปกติและการเผชิญ ความเครียดทำให้ระดับ cortisol (สารเครียด) ใน ร่างกายสูงขึ้น และถ้าคงอยู่ เป็นระยะเวลาน­านอาจส่งผล ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน สมองและนำม­าซึ่งอาการ ซึมเศร้าได้
 ??  ??
 ??  ??

Newspapers in Thai

Newspapers from Thailand