Hello! (Thailand)

โสภาวดี เพชรชาติ ความสุขบนหลังอาน กับจักรยานที่พาท่องสู่โลกใบใหม่

ความสุขบนหลังอาน กับจักรยานที่พาท่องสู่โลกใบใหม่

-

หลังจากการปั่นจักรยานได้รับความนิยมสูงชนิดที่ ใครๆ ก็ต้องมีจักรยานเอาไว้ออกปั่นกัน ก็ถึงวันที่ กราฟค่อยๆ ลดลงมาจนอยู่ในภาวะปกติ ซึ่งคำว่า ปกติที่ว่านี้ หมายถึงคนที่ปั่นเพราะความ­รักในอิสระ เมื่อยามได้อยู่บนหลังอานจริงๆ และยังออกปั่นอยู่ อย่างสม่ำเสมอ

คุณนุ่น-โสภาวดี เพชรชาติ Marketing Division Manager แห่ง Club 21 (Thailand) เป็นอีกคนหนึ่งที่ยัง มั่นคงอยู่กับกิจกรรมกลางแ­จ้งนี้ และยังไม่มีทีท่าว่า จะผละออกไป­ง่ายๆ เธอเล่าให้ฟังว่า เริ่มปั่นจักรยาน มาได้ราว 6 - 7 ปีก่อน ด้วยจักรยานซิตี้ไบค์หน้าตา วินเทจ ที่ตั้งใจเพียงจะมีไว้ปั่นเล่นๆ โดยมีคุณปุ๋ย (พงศ์ธร เพชรชาติ) คู่ชีวิตของเธอ เป็นบัดดี้ที่ปั่นด้วย กันตั้งแต่วันแรกมาจนถึงวันนี้

“เราจะมีกลุ่มเพื่อนที่ปั่นจักรยานคล้ายๆ กัน ตอน ที่นุ่นเริ่มปั่นใหม่ๆ สนามเขียวที่สุวรรณภูมิเพิ่งเริ่มมี เราเลยเป็นรุ่นแรกๆ ที่ไปกัน จากนั้นก็ค่อยๆ ขยับตัว เองขึ้นมาสายเพอร์ฟอร์แมนซ์ ทั้งที่เมื่อก่อนมองคน ปั่นสายนี้ที่ต้องใส่หมวกเหมือนไอ้มดแดง กางเกง รัดรูป ไม่ใช่แนวฉันแน่ๆ ของฉันต้องวินเทจเก๋ๆ ถุงมือ ถักๆ สิ” เธอเล่าย้อนถึงจุดเริ่มที่หากไปค้นภาพนักปั่น สายแฟชั่นในยุคนั้นคงต้องค้นกันอยู่นานพอดู เพราะ ปัจจุบันภาพถ่ายของเธอล้วนมีแต่ภาพของนักปั่น หญิงในชุดเพอร์ฟอร์แมนซ์ แถมภาพถ่ายในลุคนี้ยัง หาได้ง่ายกว่าภาพถ่ายในชุดแคชชวลหรือชุดปกติ ของเธอเสียด้วย

“เริ่มออกทริปปั่นกับเพื่อนๆ โดยการเอาจักรยาน ใส่รถไปจอดแล้วปั่นไปในเส้นที่คนอื่นเขาปั่นกัน ไป อัมพวาบ้าง บางพระบ้าง ขึ้นเขาลงห้วยกับเขา เราก็ ยังเข็นอยู่ ปั่นไปปั่นมารถเราชักเริ่มหนัก (หัวเราะ) เลยเปลี่ยนเป็นจักรยานเสือหมอบรุ่นผู้หญิง ที่ไม่ได้ เพอร์ฟอร์แมนซ์อะไรมาก แต่ความรู้สึกเปลี่ยนเลย นะคะ มันเร็วและเบาด้วย เราเปลี่ยนไปโดยธรร­มชาติ น่ะค่ะ เพราะวัตถุประสงค์ในการปั่นเราเปลี่ยนด้วย ถ้าไม่ใช้แบบนั้นเราก็จะไปกับคนอื่นไม่ได้”

เมื่อได้จักรยานที่ช่วยให้เธอปั่นได้เบาแรงและไ­ป ไกลได้มากขึ้น คุณนุ่นก็ออกทริปไกลกับเพื่อนร่วม ก๊วน จาก 50 กิโลเมตร สู่ 70 จนถึงเลข 100 กิโลเมตร ในที่สุด และการปั่นที่พาให้เธอก้าวข้ามไปสู่หลักไมล์ ที่แข็งแรงขึ้น คือทริปกรุงเทพฯ - หัวหิน โดยอิงช่วง เวลาเดียวกับทริปจักรยานประเพ­ณีกรุงเทพฯ - หัวหิน ซึ่งจัดกันต่อเนื่องทุกปีในเวลานั้น

“นุ่นไม่ใช่พวกลงสนามแ­ข่ง ไม่ได้ลงทะเบียนกับ เขา ก็อาศัยวันของเขาเพื่อสร้างอารมณ์ให้ตัวเอง โดย มีรถเซอร์วิสซึ่งเป็นรถตู้ขับตามเราไปต­ลอด ปั่นไม่ไหว ก็เก็บจักรยานขึ้นรถ แต่ก็ถือว่าใช้น้อยมาก สำหรับ การปั่นทางไกลครั้งแรก ไม่คิดว่าจะถึงแต่ก็ถึงเป็น ทริปแรกที่เซอร์ไพรส์ตัวเองสุด ทั้งที่ตอนนั้นเรายังปั่น แบบงงๆ หยิบกระติกน้ำกินบนจักรยานยังทำไม่ได้ เลย ต้องจอดแล้วหยิบ ซึ่งมันทำให้คนอื่นต้องเสีย ขบวน เราก็ต้องฝึก อยากหยิบสามทีอาจหยิบได้ที เดียว อีกสองครั้งกลืนน้ำลายไปก่อน ยอมทนเพื่อจะ ได้ไปกับเขา ยังคิดเลยว่ารอดชีวิตมาได้ยังไง (หัวเราะ) ร่างกายเราไม่ได้ฟิต ไม่ได้เทรนมาเพื่อปั่นระยะยาว เป็นลูกบ้าที่อยากไปสนุกๆ ขำๆ แต่ดันขำไปจนถึง” เธอเล่าถึงประสบการณ์แรกที่จุดชนวนให้ทริปต่อๆ มา นั้นท้าทายยิ่งขึ้น จากที่เคยปั่นแต่ทางราบ เป้าหมาย เริ่มเปลี่ยนไปสู่การปั่นขึ้นเขา โดยมีเส้นทางวัดใจอยู่ ที่เขาใหญ่ ซึ่งนักจักรยานทุกคนล้วนใช้เป็นเส้นทาง ทดสอบตัวเอง รวมถึงนักจักรยานหลายๆ คนก็อาศัย เส้นนี้เป็นเส้นฝึกซ้อมอยู่เป็นประจำ

“เราซ้อมเองจนแน่ใจว่าจะไปได้ ด้วยการปั่น เส้นทางแถวบ้านนุ่นที่มวกเหล็ก ตรงนั้นจะมีอุโมงค์ ต้นไม้ มีเนินอีเหลอที่เป็นตัวชี้วัดว่า ถ้าเราขึ้นเนินนี้ได้ เราถึงจะไปเขาให­ญ่”

คุณนุ่นและเพื่อนๆ เลือกใช้เส้นทางปั่นขึ้นเขาใหญ่ ทางด่านเนินหอม จังหวัดปราจีนบุรี แล้วปั่นไปจนถึง ที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และใช้เส้นทาง

นี้เป็นประจำจนถึงวันนี้หากไปปั่นที่นั่น “ทางดี สวย และมีเนินรับเนินส่ง ชอบมาก นุ่นเป็นคนกลัวขาลงเนิน ที่สุด จนตอนนี้ก็ยังกลัวอยู่ ที่เขาใหญ่จะมีจุดที่เรียกว่า แอ่งกระทะ เป็นเหมือนแอ่งที่ลงไปแล้วขึ้นทันที ในใจคิด ว่าถ้าเราลงไม่แรง เราก็จะขึ้นไม่ถึง แต่พอต้องลงมันก็ ทำได้ แรงส่งเกือบถึง ที่เหลือก็ปรับจานเปลี่ยนเกียร์ โชค ดีว่ามีรุ่นพี่คอยสอนว่าต้องไปอย่างนี้ เทคนิคอย่างนี้”

แม้ก่อนหน้านี้คุณนุ่นจะไม่ค่อยได้ออกกำลังกายนัก มีเล่นโยคะ และตีเทนนิสบ้าง แต่ก็ไม่ได้จริงจัง เมื่อมา ปั่นจักรยานก็ไม่ได้ฝึกกับโค้ช อาศัยว่าปั่นบ่อยและมี เพื่อนในกลุ่มคอยให้คำแนะนำ ทั้งเรื่องร่างกาย เทคนิค รวมไปถึงจักรยานที่ตอนนี้เปลี่ยนมาเป็นจักรยาน คาร์บอนซึ่งให้เพอร์ฟอร์แมนซ์ที่ดีกว่า

“เราเรียกเขาว่าโค้ชพี่เอ็ด (อภิศักดิ์ สายบัว) แล้วเรา ก็เป็นเหมือนนักเรียนโข่งที่ทำบ้างไม่ทำบ้าง ในกลุ่มเรา มีผู้หญิงปั่นกันหลายคน หลายคนไปเรียนกับโค้ชจริงจัง แต่นุ่นไม่สามารถเพรา­ะเราต้องทำงาน วันธรรมดาที่ไป สุวรรณภูมิไม่ได้ก็ต้องขึ้นเทรนเนอร์ แล้วก็พบว่าตัวเอง ไม่ชอบการขึ้นเทรนเนอร์เพราะมันอยู่ในห้อง ไม่สนุก เราไม่ชอบออกกำลังกายในห้องแอร์ นุ่นว่าการปั่น จักรยานมันต้องได้เคลื่อนที่ ต้องมีลมปะทะหน้า”

เมื่อผ่านเขาใหญ่ไปได้ ดอยอินทนนท์ที่ถือเป็นสุด ยอดในเมืองไทยของนักปั่นก็เข้ามาอยู่ในแผนของกลุ่ม ความที่เป็นดอยที่สูงที่สุด และมีความชันตลอดเส้นทาง

ทำให้เธอคิดอยู่ในใจว่า “ฉันไม่มีวันไปขึ้นดอยอินทนนท์ บ้าเหรอ แค่นั่งรถก็เหนื่อยแล้ว มีแต่คนบ้าเท่านั้นที่จะ ไป รู้สึกตัวอีกทีเราได้แต่พยักหน้า แล้วบอกว่า…จะไป

“เป็นหนแรกที่มีความรู้สึกว่ามาทำอะไรเ­นี่ย คือนุ่นมี คำเดียวในใจ ถึงคือถึง ไม่ถึงมีรถเซอร์วิส ไม่มีอะไรดี กว่าการได้ไปสนุกกับเพื่อน เรามีคนในพื้นที่พาไปเพราะ มีรุ่นพี่บอกว่าถ้าไม่แน่ใจต้องมีคนพาขึ้น ก็มีน้องชื่อเกม มาเป็นคนดูแล เขารู้ว่าเราควรจอด­หรือทำยังไง จะคอย บอกตลอดว่าพี่ต้องเติมเจลหรืออะไรก็ตามก่อนแรง ตัวเองจะหมด เพราะถ้าหิวแล้วเติมจะไม่ทัน ต้องไม่เติม ตอนหมดถัง ซึ่งเราประเมินเองไม่ถูก

“ตอนนั้นจอดไปเรื่อยๆ ค่อยๆ ผ่านไปแต่ละจุดวัดใจ จนถึงเนินพระธาตุรู้สึกตัวเองจะไม่ไหวแล้ว เกมก็บอก อีกนิดพี่ สิบเมตรก็จอดได้ เราก็รู้สึกว่าถ้าเขาไม่รังเกียจ ที่เราจะจอดบ่อยๆ เราก็จะจอดแล้วนะ เพราะเส้นนี้รถ เซอร์วิสไม่ได้ตามเราตลอด ต้องนัดเป็นจุด จำได้ว่าตอน ท้ายๆ ตัวเองจอดทุกสิบเมตร แต่ที่ต้องฝืนไปให้ถึง เพราะว่าเดินเข็นขึ้นไปจะเป็นตะคริวยิ่งกว่าปั่นอีก ขา เราเกร็งและใส่รองเท้าคลีตตลอด จนสุดท้ายเราบอก เกมว่าไม่เอาแล้ว มาถึงแค่ตรงนี้ก็ภูมิใจสุดๆ แล้ว แต่ เกมบอกว่า พี่นุ่นครับ เนินนี้โหดสุด ถ้าพี่เลิกตอนนี้พี่จะ เสียใจ โห ประโยคนี้ไม่ได้แล้ว ไปก็ไป ถึงยอดดอยก็มี สามีกับพี่เอ็ดรออยู่”

เธอเล่าถึงตรงนี้ด้วยความภูมิใจที่ไม่ถอดใจในตอน นั้น “ขึ้นไปถึงนี่น้ำตาไหลเลย ขนลุก แล้วนุ่นพกรูป ในหลวงรัชกาลที่ 9 ใบเล็กๆ ไปด้วยเพื่อเป็นกำลังใจ ข้างหลังรูปเขียนว่า ‘ความเพียรที่บริสุทธิ์จะช่วยเรา’ มันเป็นการฝึกความเพียรของตัวเอง แล้วก็คิดว่าคงหน เดียวในชีวิต ใครชวนอีกก็ไม่ไปแล้ว พอแล้ว แต่ปรากฏ ว่าอีกสองปีถัดมาก็ยังไปอีก (หัวเราะ) รอบสองเราขึ้น เองได้ เพราะตัวเราเองก็พัฒนาขึ้น เวลาดีขึ้น ก็ไปได้ อย่างสนุกสนานเฮฮา”

ไม่ว่าอะไรก็ตาม เมื่อได้ทำบ่อยๆ ฝึกฝนบ่อยๆ ร่างกายก็จะจดจำและพัฒนาตัวเองเพื่อขยับขีดความ สามารถขึ้นไปเรื่อยๆ เช่นเดียวกับการปั่นของคุณนุ่น ที่ต่อให้เส้นทางในการปั่นจะยากขึ้นแค่ไหน เธอก็พา จักรยานของเธ­อขึ้นไปได้

“ล่าสุดไปปั่นที่น่านมาเมื่อเดือนมกราคม เราไปปั่นที่ น่านกันสามปีแล้ว ปีแรกปั่นไปแค่ 70 กิโลฯ ถึงบ่อเกลือ ส่วนแก๊งผู้ชายเขาไปกันถึงยอดภูคา เราก็นั่งรถตู้ตาม ครั้งที่สองเราก็ปั่นไปถึงบ่อเกลืออีก ใจยังก้ำกึ่งกับน้องๆ ผู้หญิงในกลุ่มจะขึ้นยอดภูคากับเขาไหม สุดท้ายไม่ได้ ขึ้น ยังคาใจ จนรอบนี้ได้ขึ้นเสียที

“เราแพลนกันในแก๊งผู้หญิงว่า จะเติมเจลทุกระยะ เท่านี้ หลายคนเขาช­าเลนจ์ตัวเองว่า ถ้าขึ้นภูคาเท้าจะ ต้องไม่แตะพื้น แต่เราไม่ เราแตะพื้นแล้วเติม เส้นนี้ต่าง จากอินทนนท์ที่สูง 2,000 กว่าเมตร แล้วชันขึ้นไป แต่ น่านนี่เราพักกันที่ปัว ก็ต้องขี่มา 70 กิโลฯ ถึงบ่อเกลือ

‘นนุ่ พกรปู ในหลวงรชั กาลที่ 9 ใบเลก็ ๆ ไปดว้ ยเพอื่ เปน็ กำลงั ใจ ขา้ งหลงั รปู เขยี นวา่ ...ความเพยี รทบี่ รสิ ทุ ธจิ์ ะชว่ ยเรา...’

‘การเปลยี่ นแปลงที่ไดจ้ ากการ ปนั่ คอื เรอื่ งความคดิ บางเรอื่ ง ที่ไมค่ ดิ วา่ เราทำได้ ถา้ เราลองทำ และทำแบบไม­เ่ ครยี ด สนกุ กบั มนั เราจะทำได’้

กอ่ น ขน้ึ เขาหลายลกู รวมแลว้ สงู พนั กวา่ เมตร แลว้ จากบ่อเกลือขึ้นภูคาอีก 1,700 เมตร รวมวันนั้น ทง้ั วนั เราอยบู่ นอานจกั รยาน 7 ชว่ั โมงกวา่ แลว้ ปนี เขาไป 3,000 กวา่ เมตร มากกวา่ อนิ ทนนทน์ ดิ หนง่ึ ” เธอเลา่ ดว้ ยนำ้ เสยี งชวนสนกุ เมอ่ื พดู ถงึ กจิ กรรมโปรด

“นนุ่ เปน็ คนไมก่ ลวั แดด และตวั เองกม็ กี ระอยแู่ ลว้ เลยเฉยๆ คิดว่าชีวิตเราไม่ต้องขึ้นอยู่กับความสวย ของใบหนา้ เทา่ ไร ไมต่ อ้ งขาวมากกไ็ ด้ (หวั เราะ) แตก่ ็ ต้องป้องกันค่ะ ตอนแรกใส่มาสก์ แต่หายใจไม่ออก กเ็ ลยไมใ่ สแ่ ลว้ ทกุ วนั นถ้ี อื วา่ ตวั เองขเ่ี ยอะเหมอื นกนั สปั ดาหห์ นง่ึ ตอ้ งมเี สารอ์ าทติ ย์ วนั ธรรมดาถา้ ไปไดก้ ็ ไปปั่นที่สุวรรณภูมิ อยากไปปั่นต่างประเทศเห­มือน กัน คุยกันตลอดว่าอยากไปเวียนนา อยากไปญี่ปุ่น ไปเวียดนาม ในแก๊งปีนี้มีทริปไปเวียนนากัน แต่เรา ตดิ ธรุ ะเลยยงั ไปไมไ่ ด”้

นอกจากก๊วนสาวๆ ที่ยังขี่อยู่ด้วยกัน ในวงการ ปั่นยังมีสาวๆ อีกหลายคนที่ยึดเอาการปั่นเป็น กิจกรรมโปรด คุณนุ่นเองก็มองว่ากิจกรรมชนิดนี้ ผู้หญิงทำได้ดีไม่แพ้ผู้ชายเลย “ด้วยสรีระ น้ำหนัก และด้วยความมีวินัย นุ่นเห็นน้องผู้หญิงหลายคนที่ ปั่นได้ดี เขามีวินัยจริงจัง ฝึกตามที่โค้ชบอก นุ่นว่า กีฬาอะไรก็ตามที่เป็นเรื่องเอนดูแรนซ์ คนเล่นจะ ต้องมีวินัยและสม่ำเสมอ ค่อยๆ ฝึกไป ใจร้อนไม่ได้ ฉะนั้นพื้นฐานหรือจริตแบบนี้จึงเหมาะกับผู้หญิง ตราบใดที่คุณไม่กลัวแดด หรือกลัวเจ็บสรีระตอน ปั่น คุณจะเล่นกีฬานี้ได้อย่างสนุก

“อีกสิ่งหนึ่งที่มันจรรโลงใจเ­ราดีเวลาออกทริป ปั่นคือการสนุกสนานกับแอ็กเซสเซอรี่ส์จักรยาน นุ่นไม่ได้มองว่าชุดจักรยานช่วยให้เราปั่นดีขึ้น แต่ มันก็คงจะเกี่ยวตรงที่ถ้าชุดหลวมไปก็คงขัดกับหลัก แอโรไดนามิกส์ ต้านลม หรือถ้าซับเหงื่อไม่ดีเราก็ จะไม่สบายตัวเวลาปั่น ชุดจักรยานสำหรับนุ่นมันก็ เหมือนผู้หญิงเวลาช็อปปิ้งน่ะ เราชอบเสื้อผ้า พอ ชีวิตเราอยู่กับการปั่นจักรยาน เราถ่ายรูปกันเวลา ออกไปปั่น มันก็อดไม่ได้ที่จะมีเสื้อจักรยานใหม่อยู่ แทบทุกอาทิตย์ บางวันที่ออกปั่นก็มีธีมชุด จนตอน นี้เริ่มจะมีตู้เสื้อผ้าเฉพาะชุดจักรยานแล้ว (หัวเราะ)”

นับจากวันแรกที่เธอพาตัวเองไปอยู่บนหลังอาน เมื่อมองย้อนกลับไปจากวันนี้ คุณนุ่นมองเห็นการ เปลี่ยนแปลงบางอ­ย่างที่เกิดขึ้นกับตัวเอง นอกจาก ร่างกายที่แข็งแรงขึ้นจากเมื่อก่อน

“การเปลี่ยนแปลงที่นุ่นได้จากการปั่นคือเรื่อง ความคดิ บางเรอ่ื งทไ่ี มค่ ดิ วา่ เราทำได้ ถา้ เราลองทำ และทำแบบไม่เครียด สนุกกับมัน เราจะทำได้ การ ปน่ั จกั รยานมนั คอื ความสนกุ ทไ่ี ดเ้ จอเพอ่ื น ธรรมชาติ ของเราไม่ใช่นักแข่ง ไม่ใช่คนที่ปั่นเร็ว แล้วเวลาปั่น เราตอ้ งมสี ติ เพราะวดื เดยี วมนั ลม้ ไดเ้ ลยนะ จกั รยาน มันช่วยฝึกสติกับสมาธิมาก เส้นทางช่วงไหนที่ ไม่มั่นใจ นุ่นจะขึ้นรถ เราประเมินตัวเองได้

ดีที่สุด แล้วมันทำให้เรารู้สึกว่าเวลา ไปเที่ยวถ้ามีจักรยานไป

ปั่นด้วย มันทำให้

ทริปนั้นมีเสน่ห์

ขึ้น”

 ??  ??
 ??  ?? (ภาพในล้อมกรอบ) ทริปน่าน เป็นทริปที่เธอปั่นมาแล้ว 3 ปี ติด โดยคุณนุ่นมีเพื่อนร่วมทีม ปั่นด้วยกัน การปั่นจักรยาน จึงเป็นกีฬาที่ทำให้ทั้งไม่เหงา และสามารถม­คี วามเปน็ สว่ นตวั ได้ด้วยการปั่นเพียงลำพัง แต่ เพื่อนร่วมปั่นที่ดีที่สุดของเธอ คือสามี คุณปุ๋ย-พงศ์ธร เพชร ชาติ (ขวา) ซึ่งเป็นบัดดี้ที่ปั่น ด้วยกันมาตั้งแต่วันแรกจนถึง
วนั นี้
(ภาพในล้อมกรอบ) ทริปน่าน เป็นทริปที่เธอปั่นมาแล้ว 3 ปี ติด โดยคุณนุ่นมีเพื่อนร่วมทีม ปั่นด้วยกัน การปั่นจักรยาน จึงเป็นกีฬาที่ทำให้ทั้งไม่เหงา และสามารถม­คี วามเปน็ สว่ นตวั ได้ด้วยการปั่นเพียงลำพัง แต่ เพื่อนร่วมปั่นที่ดีที่สุดของเธอ คือสามี คุณปุ๋ย-พงศ์ธร เพชร ชาติ (ขวา) ซึ่งเป็นบัดดี้ที่ปั่น ด้วยกันมาตั้งแต่วันแรกจนถึง วนั นี้
 ??  ??
 ??  ??
 ??  ??
 ??  ?? คณุ นนุ่ ในชดุ ลำลองสบายๆ ทงั้ เสอื้ ตวั โครง่ กางเกงยดื ขายาว และรองเทา้ ผา้ ใบ สมกบั ทเี่ ธอปนั่ จกั รยานเปน็ งาน อดเิ รกอยา่ งจรงิ จงั
คณุ นนุ่ ในชดุ ลำลองสบายๆ ทงั้ เสอื้ ตวั โครง่ กางเกงยดื ขายาว และรองเทา้ ผา้ ใบ สมกบั ทเี่ ธอปนั่ จกั รยานเปน็ งาน อดเิ รกอยา่ งจรงิ จงั

Newspapers in Thai

Newspapers from Thailand