Daily News Thailand

ดึงทตเดินแบบผ้าไหมไทย สร้างภาพลักษณ์ท่องเที่ยว ชี้หนุนทรัพย์สินทางปัญญา

-

นางปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทาง ปัญญา เปิดเผยว่า ในวันที่ 8 ส.ค.นี้ นายนิวัฒน์ธำารง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ จะเปิดงานมหกรรม­ผ้าไหมไทย ร่วมเทิดไท้ราชินี ประจำาปี 56 ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อน้อมรำาลึก ถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ที่ทรงมีต่อเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ช่างทอ ผ้าไหม และวงการผ้าไหมทั้งระบบ รวมถึงการยก ระดับคุณภาพสินค้าผ้าไหมไทยให้มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันในระดับสากลได้ และโปรโมตผ้าไหม ไทยแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติก่อนเดินทางกลับ ประเทศ

“ภายในงานจะ­มีการดึงนางแบบและ­นาย แบบระดับอาชีพของไทยและ­ต่างประเทศมา­ร่วม เดินแฟชั่น พร้อมทั้งได้รับความร่วมมือจาก เอกอัครราชทูต และคณะภริยาทูต20 ประเทศมาร่วม เดินแบบชุดผ้าไหมไทยด้วย โดยเป็นอัครราชทูต 4 ประเทศคือประเทศอาเ­จนตินา, นอร์เวย์, แอฟริกาใต้ และยูเครน ส่วนภริยาทูตมี 16 ประเทศ เช่น ออสเตรเลีย, เบลเยียม, แคนาดา, ชิลี, เดนมาร์ก, เยอรมนี, เป็นต้น”

ทั้งนี้ในการจัดนิทรรศการครั้งนี้จะมีการแสดง ผ้าไหมทั้ง 4 ภาค ที่เป็นเอกลักษณ์ของภูมิภาค ต่าง ๆ โดยเชื่อมโยงกับแหล่งผลิต ซึ่งเป็นสถานที่ ท่องเที่ยวของจังหวัดด้วย เช่น ผ้าไหมภุมเวียงของ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยนิทรรศการนี้ได้จัดขึ้น บริเวณโถงทางเ­ดินผู้โดยสารขาออ­กให้นักท่องเที่ยว ได้เยี่ยมชมก่อนเดินทางออกจาก­ไทย เพื่อให้เกิด ความประทับใจและเป็นแรงจูงใจอยากกลับมา ประเทศไทยใ­หม่อีกครั้ง

“งานมหกรรมผ้าไหมไทย ร่วมเทิดไท้ราชินี ประจำาปี 56 ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยเป็นการ ร่วมมือกันระหว่างกระทรวงพ­าณิชย์, คมนาคม และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย­หรือ ททท. ซึ่งจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 3-13 ส.ค. 56 นี้ แต่จะเปิดงานอย่าง เป็นทางการในวันที่ 8 ส.ค.”

สำาหรับภายในงานดังกล่าว เชื่อว่าจะสามารถ ผลักดันทำาให้นักท่องเที่ยวต่างชาติรับรู้ถึงสถานที่ใน การผลิตผ้าไหม ที่สำาคัญในอนาคตอา­จช่วยผลักดัน ให้แหล่งผลิตผ้าไหมของไทย­เป็นแหล่งท่องเที่ยว แห่งใหม่ ที่จะส่งเสริมให้เกิดการสร้างรายได้เข้า ประเทศเป็นจำานวนมาก

รายงานข่าวจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา แจ้งว่า วัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระมหา กรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม ราชินีนาถ ในการสนับสนุนและส่งเสริมผ้าไหมไทย เพื่อเผยแพร่ คุณค่า และเอกลักษณ์ของผ้าไหม, ส่ง เสริมภาพลักษณ์และยกระดับผ้าไหมไทยสู่ตลาด โลก, แสดงถึงภูมิปัญญาไทยและศักยภาพในการ ออกแบบและผ­ลิตผ้าไหมไทยให้เป็นที่ยอมรับใน ระดับสากล, ส่งเสริมศักยภาพ และสร้างโอกาสให้ กับผู้ประกอบการผ้าไหมไทยในก­ารจำาหน่ายและ ขยายตลาดผ้าไหมไทย, ส่งเสริมการท่องเที่ยวสู่ หมู่บ้านผลิตผ้าไหมไทยในจังหวัดต่าง ๆ

ขณะเดียวกัน ก็จะช่วยส่งเสริมนักออกแบบ และผู้ผลิต เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา ได้มีโอกาส แสดงผลงานท­รัพย์สินทางปัญญาเพื่อสร้างกระแสใน การนิยมบริโภคสินค้าไทย รวมถึงสร้างแรงจูงใจให้ผู้ ประกอบการเ­ข้ารับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และผลงานขอ­งตน

“ผ้าไหมแต่ละท้องถิ่นมีการผลิตที่แตกต่าง กันซึ่งเป็นผลพวงมาจา­กวัฒนธรรม วัตถุดิบ โดย แต่ละที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและสะท้อนถึง วัฒนธรรมที่สั่งสมและถ่ายทอดมาจาก­รุ่นสู่รุ่น จน กลายเป็นสินค้าที่มีคุณค่าและยากที่จะสามารถลอ­ก เลียนแบบ”

ทั้งนี้ที่ผ่านมาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินีนาถ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน สัญลักษณ์ “ตรานกยูง” ให้เป็นเครื่องหมายรับรอง คุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย 4 ชนิด เพื่อให้มีการ ใช้เครื่องหมายรับรองอย่างกว้างขวางทั้งในและต่าง ประเทศ

อย่างไรก็ตาม สำาหรับตราสัญลักษณ์ดังกล่าว ประกอบด้วยนกยูงสีทอง เป็นผ้าไหมที่ผลิตโดย ใช้เส้นไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน, นกยูงสีเงิน เป็นผ้าไหมที่ผลิตโดยใช้เส้นไหมพันธุ์ ไทยพื้นบ้านหรือพันธุ์ไทยปรับปรุงเป็นเส้น, นกยูง สีน้ำาเงิน เป็นผ้าไหมที่ผลิตโดยใช้เส้นไหมแท้เป็นทั้ง เส้นพุ่งและเส้นยืน ทอด้วยกี่แบบใดก็ได้ ย้อมด้วย สีธรรมชาติ และนกยูงสีเขียว เป็นผ้าไหมที่ผลิตด้วย เส้นไหมแท้เป็นส่วนประกอบหลัก มีเส้นใยอื่นเป็น ส่วนประกอบที่รองลงมา.

Newspapers in Thai

Newspapers from Thailand