Daily News Thailand

2 นักวิทย์ดีเด่น กับงานวิจัยเพื่อชาวอีสาน

-

ปัญหาการแพร่ระบาดของโร­คพยาธิ ใบไม้ตับที่นำาไปสู่โรคมะเร็งท่อนำ้าดี ถือเป็น ปัญหาด้านสุขภาพและสาธ­ารณสุขที่สำาคัญของ ไทย โดยเฉพาะใน­ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือ ภาคอีสาน รวมถึงประเทศในแ­ถบลุ่มนำ้าโขง เช่น กัมพูชา ลาว และเวียดนามตอนใต้

ด้วยความสนใจ­ที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว อย่างยั่งยืน เป็นที่มาของผลงาน­วิจัยที่ “ศ.ดร. โสพิศ วงศ์คำา” และ “รศ.ดร.บรรจบ ศรีภา” 2 นัก วิทยาศาสตร์การแพทย์ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) มุ่งสะสมองค์ความรู้ที่สร้างประโยชน์แก่ สังคมมากว่า 30 ปี จนได้รับการยอมรับในระดับ นานาชาติ

และทำาให้ทั้งสองท่านได้รับการเชิดชู เกียรติจากคณะกรรม­การมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโล­ยีในพระบรมรา­ชูปถัมภ์ ให้เป็น “นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำาปี 2556”

โดย ศ.ดร.โสพิศ อาจารย์ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาส­ตร์ มข. บอกถึงผลงานวิจัยที่ทำามา ว่า เป็นการศึกษายีนที่มีความสัมพันธ์กับการก่อ มะเร็ง และการแพร่ลุกลามของมะเ­ร็งท่อนำ้าดี โดย ในระยะ 10 ปีแรก ได้ศึกษาเรื่องแลคตินในพืช ซึ่ง เป็นกลุ่มชีวโมเลกุลในพืชและสัตว์ ที่จับกับหมู่ นำ้าตาลของโมเ­ลกุลอื่นอย่างจำาเพาะ จากนั้นนำา ความรู้มาประยุกต์ใช้กับการวิจัยด้านมะเร็งท่อนำ้าดี ในช่วง 20 ปีต่อมา

ศ.ดร.โสพิศ บอกว่า เนื่องจากมะเร็งท่อ นำ้าดีเป็นมะเร็งที่โตช้าแต่แพร่ลุกลามเร็ว ทำาให้ วินิจฉัยได้เมื่อเป็นระยะท้ายของโรคซึ่งการรักษาไม่ ได้ผลดี การหาตัวบ่งชี้มะเร็งท่อนำ้าดีเพื่อวินิจฉัย มะเร็งท่อนำ้าดีให้ได้อย่างถูกต้องและตั้งแต่ระยะแรก หรือยังไม่แพร่ลุกลาม จะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงการ รักษาในระยะที่การรักษาได้ผลดีมากขึ้น

ทั้งนี้ ตัวบ่งชี้มะเร็งส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม นำ้าตาลบนชีวโมเลกุลหลายชนิด และการสร้าง สายนำ้าตาลเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงรวดเ­ร็วตาม สภาวะของเซ­ลล์ ด้วยหลักการดังกล่าว จึงได้มุ่ง เน้นการวิจัยเพื่อตรวจหาหมู่นำ้าตาลบนชีวโมเลกุล ซึ่งนำาสู่การพบมิวซิน MUC5AC ในซีรัม ของผู้ ป่วยมะเร็งท่อนำ้าดี และพัฒนาวิธีตรวจเพื่อให้ สามารถทำาไ­ด้ในโรงพยาบา­ลทั่วไป ทำาให้แพทย์ สามารถวินิจฉัย พยากรณ์โรค และเลือกแนวทาง การรักษาให้กับผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังศึกษายีนที่สัมพันธ์กับการก่อ และการแพร่ลุกลามของมะเ­ร็งท่อ นำ้าดี ซึ่งเป็นข้อมูลสำาคัญที่นำาไปสู่การ พัฒนาการรักษาแนวใหม่แบบมุ่งเป้า ขณะนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาฤทธ์ิยา และสารสกัดจากสมุนไพรที่ออกฤทธ์ิ ยับยั้งการแบ่งตัวและการแพร่ลุกลาม ของเซลล์มะเร็ง

ด้าน รศ.ดร.บรรจบ หัวหน้า ศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลก ด้านการวิจัยและการควบ­คุมโรคพยาธิใบไม้ตับ คณะแพทยศาส­ตร์ มข. บอกว่า ได้ทำาการศึกษา ค้นคว้าและวิจัยเชิงลึกทางด้านกลไกการเ­กิดโรค โดยเฉพาะด้านอิมมูโนพยาธิวิทยา จนเข้าใจ กระบวนการเ­กิดการอักเสบจากการ­ติดเชื้อพยาธิ ใบไม้ตับ

และได้ค้นพบองค์ความรู้ใหม่ที่สำาคัญคือ สารคัดหลั่งจากตัวพยาธิสามารถแทรก­ซึมผ่าน เซลล์เยื่อบุท่อนำ้าดีแล้วกระตุ้นการอักเสบอย่าง รุนแรงในบริเวณที่ตรวจพบสารจ­ากตัวพยาธิ รวม ทั้งทำาให้มีการแบ่งเซลล์มากขึ้น และมีการตายของ เซลล์ลดลง ซึ่งเป็นกลไกสำาคัญในการนำาไ­ปสู่การ เป็นโรคมะเร็งท่อนำ้าดี

จากงานวิจัยพื้นฐานที่ได้รับการยอมรับ และนำาไปต่อยอดในระดับนานาชาติ รศ.ดร.บรรจบ ยังได้นำาองค์ความรู้ลงพื้นที่ชุมชนและจัดตั้ง “ละว้าโมเดล” โครงการต้นแบบ เพื่อควบคุมและ ป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับแบบบูรณาการ โดย ศึกษาเชื่อมโยงแบบคร­บวงจรทั้งวงจรพยาธิ พาหะ ระบบนิเวศ และคน แบบชุมชนมีส่วนร่วม

ผลของโครงก­ารกว่า 5 ปี ทำาให้ชุมชนมี ความรู้ความเข้าใจโรคนี้มากขึ้น มีอัตราการติดพยาธิ น้อยลง และที่สำาคัญอัตราการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ในปลาขาวนา­จากแก่งละว้าลดลงจากสูงสุดร้อยละ 70 เหลือเพียงน้อยกว่าร้อยละ 1 ในปัจจุบัน

รศ.ดร.บรรจบ บอกอีกว่าโรคพยาธิใบไม้ ตับเกิดจากการไม่ยอมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการ บริโภคของประช­าชนในพื้นที่ ที่ยังกินปลานำ้าจืดที่ ปรุงไม่สุก นอกจากนี้ยังมีความเชื่อผิด ๆ เรื่องการ กินยาถ่ายพยาธิและการดื่มเหล้าขาวแกล้มปลาดิบ สามารถฆ่าพยาธิได้ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ผู้กินก้อย ปลาแกล้มเหล้าขาว จะติดพยาธิมากกว่าผู้กินก้อย ปลาอย่างเดียว เพราะเหล้าขาวทำาให้พยาธิมีการ แตกตัว และเดินทางเข้าท่อนำ้าดีเร็วขึ้น ส่วนการ กินยาถ่ายพยาธิบ่อย ๆ จะไปกระตุ้นให้เกิดมะเร็ง ท่อนำ้าดีเร็วขึ้น เพราะชาวบ้านกินยาถ่ายพยาธิแล้ว ยังคงกินปลาดิบอยู่อีก ทำาให้เกิดการอักเสบซำ้า ซ้อนนั่นเอง

ผลงานของนักวิจัยไทย ก็แสดงให้เห็น แล้วว่า คนไทยมีความสามารถ เป็นที่ยอมรับใน ระดับนานาชาติ เรื่องของเทคโน­โลยีบางอย่างจึง ไม่จำาเป็นต้องพึ่งแต่ของนอกเพียงอย่างเดียวอีก ต่อไป.

 ??  ??
 ??  ??
 ??  ??

Newspapers in Thai

Newspapers from Thailand