Daily News Thailand

สอศ.-สพฐ.ตบเท้ายืดขออัตราเกษียณ100% ผุดคลังสมองรวมคว­ามรู้ครูอาชีวะ กวช.ไฟเขียวร่างกฎหมาย ดูแลวัฒนธรรมจับต้องไม่ได้

-

ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรม­การการ อาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวถึงกรณีที่จะมีข้าราชการครูเกษียณอายุ ราชการ ระหว่างปี 2556-2560 หรือในระยะเวล­า 5 ปีข้างหน้า จำานวน 104,108 คน ว่า ในจำานวนดังกล่าวเป็นข้าราชการครูสังกัดสำานักงาน คณะกรรมการ­การอาชีวศึกษา (สอศ.) 3,320 คน ซึ่งปัจจุบัน สอศ. ขาดครูอยู่กว่า 10,000 คน โดยขณะนี้ สอศ.ได้ประสานไปยังคณะ กรรมการกำา­หนดเป้าหมายและนโ­ยบายกำาลังคนภาครัฐ (คปร.) เพื่อ ขอคืนจำานวนอัตราเกษียณ 100% ทันที ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไป เพราะปกติแล้วการคืนอัตราเกษียณจะต้องใช้เวลา 1-2 ปี ซึ่งหาก สอศ.ได้คืนอัตราเกษียณทันทีก็จะสามารถแก้ปัญหาการขาดแ­คลนครู ในเบื้องต้นได้ นอกจากนี้ สอศ.ยังได้จัดทำาคำาขออ­นุมัติกรอบอัตรา พนักงานราชการ­เพิ่มเติมอีก 15,973 อัตรา ไปยังสำานักเลขาธิการคณะ รัฐมนตรี แบ่งเป็น พนักงานราชการ ประเภทครูผู้สอน 10,000 อัตรา ประเภทสายส­นับสนุนการสอน 4,564 อัตรา และข้าราชการครู 1,409 อัตรา เพื่อให้มีจำานวนครูเพียงพอและแก้ปัญหาขาดครูด้วย

“ครูที่จะเกษียณอายุราชการ ถือเป็นผู้อาวุโสและมีความรู้มาก ดังนั้นในปี 2557 สอศ.มีแนวทางจะเชิญครูที่เกษียณฯ ไปแล้ว มา ถ่ายทอดประสบ­การณ์การสอนและค­วามรู้ให้แก่ครูรุ่นใหม่ และมา ช่วยทำางานเพื่อเป็นประโยชน์แก่วงการอาชีวศึกษา โดยจะมีการจัด ทำาในลักษณะคลังสมอง ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมควา­มรู้ทางด้าน อาชีวศึกษา” ดร.ชัยพฤกษ์ กล่าว

ด้าน นายพิษณุ ตุลสุข รองเลขาธิการคณะกรรม­การการศึกษา ขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า จากข้อมูลในระยะ 5 ปีข้างหน้า จะมี ข้าราชการครูสังกัดสำานักงานคณะกรร­มการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เกษียณฯ มากถึง 99,890 คน ซึ่งเรื่องนี้คงต้องเสนอนายจ­า ตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.)ให้ คงอัตราเกษียณฯ 100% ต่อไปเนื่องจากการคืนอัตราเกษียณฯทั้ง 100% จะหมดในปีนี้และจะได้อัตราเกษียณฯ คืนเพียง 20% เท่านั้น ซึ่งหาก สพฐ.ได้อัตราเกษียณฯคืนมาเพียงเท่านี้ จะทำาให้เกิดปัญหา รุนแรงกับโรงเรียนแน่นอนเพราะจะ­ไม่มีครูไปทดแทนในต­ำาแหน่งที่ เกษียณฯ อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้จะต้องมาวางแผน­กันทั้งระบบไม่ใช่ แก้ปัญหาเฉพาะกา­ร หรือขอคืนอัตราเกษียณฯเท่านั้น

ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานคณะก­รรมการคุรุสภา กล่าวว่า คุรุสภาจะหารือกับคณบดีคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ทั่ว ประเทศ เพื่อกำาหนดแนว­ทางการผลิตครูในอนาคตให้สอดคล้อง เหมาะสมกับจำานวนและ­ความต้องการแต่ละสาขาวิชาเอก ซึ่งถึง แม้ว่าขณะนี้จะมีคนที่จบสายครูอยู่ในตลาดจำาน­วนมาก แต่ก็ยังไม่มี ความชัดเจนว่าความต้องการแต่ละสาขามีจำานวนเท่าไร ทำาให้ที่ผ่าน มาบางสาขาผ­ลิตมากจนล้น และบางสาขา­ผลิตน้อยจนไม่พอ ส่งผล ให้โรงเรียนได้ครูที่จบไม่ตรงกับสาขาวิชาเอกที่สอน.

นางปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) เปิด เผยภายหลังการประชุมคณะกรรมกา­รวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) ซึ่งมี นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า กวช. มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ที่ เสนอโดยกรม­ส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เพื่อใช้เป็นกฎหมายคุ้มครอง มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ป้องกันมรดกทางภูมิปัญญาที่จับต้อง ไม่ได้ของชาติไม่ให้สูญหาย ถูกคุกคาม หรือว่าถูกดัดแปลง ลอกเลียน แบบที่จะทำาให้เกิดความเสียหาย และรองรับการเข้าร่วมเป็นภาคี อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทาง­วัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของ องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชา­ติ หรือ ยูเนสโก ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบให้ไทยเข้าร่วม เป็นอนุภาคีอนุสัญญาฯ ดังกล่าวเมื่อเร็ว ๆ นี้

ปลัด วธ.กล่าวต่อไปว่า หลังจากนี้ สวธ.จะนำาร่าง พ.ร.บ.ฉบับ ดังกล่าวเสนอให้ที่ประชุมครม.เห็นชอบ ส่วนข้อเสนอแนะขอ­ง กวช. ที่ให้ปรับแก้ข้อความในบาง­มาตรานั้น ขณะนี้ วธ.ได้ส่งให้สภาผู้แทน ราษฎรพิจารณาแล้ว และหากที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ไทยเข้าร่วม ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ วธ.จะสามารถสมัครเข้าร่วมเป็นภาคีอนุ สัญญาฯได้ และเมื่อเป็นภาคีแล้วก็จะเร่งเสนอรายชื่อมรดกทาง วัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของประเทศไ­ทยเข้าสู่บัญชีรายชื่อให้มีการ ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ทันที ซึ่งกระบวนการ ประกาศขึ้นทะเบียนต้องใช้เวลาพิจารณาทั้งหมด 2 ปี.

Newspapers in Thai

Newspapers from Thailand