Daily News Thailand

ความหวังของคนไทยค­าดปี 59 อาจได้ผลสรุป

-

37.22/40.12 และ 45.10 ตามลำาดับ และถ้า นับเฉพาะประช­ากรในกลุ่มอายุ15-24 ปี จาก ปี พ.ศ.2551-2554 พบว่ามีอัตราป่วยต่อแสน ประชากร เท่ากับ 62.79 / 76.49/79.75 และ 90.06 ตามลำาดับ ซึ่งมีจำานวนมากเ­ป็น 2 เท่า ของอัตราป่วยทั้งประเทศ

“วัคซีนเอดส์” จึงเป็นความหวังที่จะช่วย ลดและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในประชากร ทุกกลุ่มของประเทศ และนับเป็นเวลากว่า10 ปี แล้ว ที่นักวิจัยไทยได้ทำาการวิจัยและพัฒนา วัคซีนเอดส์มาอย่างต่อเนื่อง

ศ.พญ.พรรณี ปิติสุทธิธรรม หัวหน้า ภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน หัวหน้าศูนย์ ความเป็นเลิศด้านการทดสอบ­วัคซีนทางคลินิก มหาวิทยาลัยมหิดล ตำาบลศาลาย­า จังหวัด นครปฐม “สถานการณ์ และความก้าวหน้าการวิจัยพัฒนาวัคซีนเอดส์ ในประเทศไท­ยและนานาชา­ติ” ในการประชุม วิชาการวัคซีนแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อ กลางเดือนกรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมาว่าขณะนี้ โครงการทดส­อบวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ ที่ทำา ในประเทศไท­ยมีความคืบหน้าไปมาก จากการ วิจัยเมื่อปี 2552 ในมนุษย์ระยะที่ 3 หรือ อาร์วี 144 ในกลุ่มผู้ใหญ่ที่ไม่ติดเชื้อ จำานวน 16,000 คน ได้ข้อสรุปว่าวัคซีนดังกล่าวมีประสิทธิภาพ สามารถลดโอ­กาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีได้ ถึง 31.2% จึงได้มีการศึกษาต่อเนื่องในโครงกา­ร อาร์วี 305 โดยการให้วัคซีนกระตุ้นในอาสาสมัคร กลุ่มเดิมจำานวน 165 ราย ที่ได้รับวัคซีนครบและ ไม่ติดเชื้อโดยจะทำาก­ารฉีดจำานวน 2 ครั้ง ห่างกัน ครั้งละ6 เดือน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการฉีดวัคซีน และติดตามผล และได้มีการต่อยอดเป็นโครงการ อาร์วี 306 เพื่อศึกษาลักษณะการตอบ­สนองของ ภูมิคุ้มกันดั้งเดิมและภูมิคุ้มกันจำาเพาะ ในสารคัด หลั่งจากเยื่อบุปากมดลูกและนำ้าอสุจิ ซึ่งโครงการ อาร์วี 306 นี้ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรม­การ จริยธรรมการวิจัยในคน คณะเวชศาสต­ร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดลแล้ว และได้เริ่มดำาเนินการมา แล้วตั้งแต่ 28 มกราคม 2556 โดยคาดว่าทั้งโครง การอาร์วี 305 และอาร์วี 306 จะสามารถสรุปผล ได้ภายในปี 2559

“ทั้งนี้ตนมีความหวังว่า หากการวิจัย ประสบความส­ำาเร็จ วัคซีนดังกล่าวจะสามารถ ใช้ป้องกันโรคเอดส์ได้เหมือนกับวัคซีนป้องกัน โรคต่าง ๆ ทั่วไป เพียงแต่จะใช้ไม่ได้ผลกับผู้ที่ ติดเชื้อแล้วเท่านั้น”

ศ.พญ.พรรณี กล่าวอีกว่า ในวันนี้การ พัฒนาวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ของประเทศไ­ทย จัดว่าได้ผลไปในทางที่ดี แต่ยังไม่สามารถการันตี ได้ว่าจะประสบคว­ามสำาเร็จหรือไม่ ซึ่งนักวิจัยด้าน วัคซีนจะทราบดีว่า ความล้มเหลวในการ­วิจัยวัคซีน ต่าง ๆ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอน และการวิจัย พัฒนาวัคซีนแต่ละชนิดต้องใช้เวลาที่ยาวนานมาก

“อย่างไรก็ตามสิ่งที่เป็นอุปสรรคสำาคัญ ของนักวิจัยด้านวัคซีนก็คือเงินทุนในการ สนับสนุนการวิจัยด้านวัคซีนที่ต่อเนื่อง อย่าง กรณีของการวิจัยวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ที่ได้รับ การสนับสนุนทุนจากประเทศ­สหรัฐอเมริกา ซึ่ง ตนเองก็คาดหวังว่าในอนาคตรัฐบาลไทยจะมี นโยบายที่ชัดเจนและให้การสนับสนุนทุนอย่าง ต่อเนื่องเช่นกัน เราลงทุนในแง่ของบุคลากร ส่วนภาครัฐจะต้องหาแหล่งทุนสนับสนุน”

“การมีสถาบันวัคซีนแห่งชาตินับว่าเป็น เรื่องที่ดี ที่มีหน่วยงานกลางใ­นการเป็นผู้ผลักดัน ให้เกิดการจัดการความรู้ด้านวัคซีน การเผยแพร่ ความรู้ด้านวัคซีนแบบบูรณาการ ครอบคลุมองค์ ความรู้ตลอดวงจรกา­รพัฒนาวัคซีน ตั้งแต่การ พัฒนานโยบาย การวิจัยพัฒนา การผลิตและการ ใช้วัคซีนในระดับชาติ ซึ่งเป็นกลไกสำาคัญอย่าง หนึ่งที่สามารถเชื่อมโยงการขับเคลื่อนงานด้าน วัคซีนให้เดินหน้า แต่เนื่องจากการวิจัยด้านวัคซีน มีความซับซ้อน ดังนั้นการมีเพียงหน่วยงานเดียว อาจจะไม่เพียงพอ” ศ.พญ.สุพรรณี กล่าว

ในขณะที่ ดร.นพ.จรุง เมืองชนะ ผู้ อำานวยการส­ถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การ มหาชน) กล่าวว่า ด้วยความที่วัคซีนเป็นธุรกิจอย่าง เต็มตัว สิ่งที่ประเทศกำาลังพัฒนาจะต้องประสบคือ ปัญหาการขาดแ­คลนวัคซีน และหากไม่มีการฉีด วัคซีนก็จะมีคนเสียชีวิตในโลกนี้ไม่ตำ่ากว่า15 ล้าน คนต่อปี และหนทางให้ได้มาซึ่งวัคซีนก็ไม่ใช่ทาง ตรง แต่เป็นทางคดเคี้ยวและมีความเสี่ยงสูง

ปัจจุบันปริมาณการใช้วัคซีนในประเทศ กำาลังพัฒนามีมากถึง88% ของตลาดรวม แต่มูลค่า วัคซีนมีเพียง 12% เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นวัคซีน ราคาถูก ดังนั้นจึงไม่ดึงดูดใจในแง่การค้า เป็นผล ให้การผลิตวัคซีนสำาหรับประเทศที่กำาลังพัฒนามี ทิศทางลดลงอย่างชัดเจน หากบริษัทวัคซีนต่าง ๆ หยุดผลิต ปัญหาที่ตามมาคือไทยหรือบางประเทศ ก็ไม่สามารถสำาร­องวัคซีนเป็นจำานวนมาก­ได้ และ ไทยอาจไม่สามารถหาซื้อวัคซีนติดต่อกันทุกปี ได้ อีกทั้งแม้ประเทศจีน อินเดีย บอกว่าผลิตวัคซีน ได้ในราคาถูก แต่ไทยก็ซื้อในราคาที่แพง เพราะ มันเป็นเรื่องของธุรกิจ เมื่อเปรียบเทียบกับ อุตสาหกรรมอื่นจะเห็นว่าต้นทุนวัคซีนเพิ่มขึ้นทุก ปี ดังนั้นหากเราผลิตวัคซีนได้สำาเร็จเราก็จะมีความ มั่นคงเรื่องการใช้วัคซีนในประเทศม­ากขึ้น

“ตอนนี้มีข้อสรุปจาก WHO มาว่า ภายในปี ค.ศ. 2020 ประเทศที่กำาลังพัฒนาอาจ จะต้องพึ่งตัวเองในการผ­ลิตวัคซีนไว้ใช้เองภายใน ประเทศ แต่เมื่อเปรียบเทียบแล้วประเทศไทย­อยู่ ในภาวะถดถอ­ย 80% ของมูลค่าที่ใช้ในการผลิต วัคซีน ไทยต้องนำาเข้าจากต่างประเทศเป็นเงินทั้ง สิ้นกว่า 2,400 ล้านบาทต่อปี ปัจจุบันการผลิต วัคซีนจากต้นนำ้าของประเทศ­ไทยก็เหลือแค่2 ตัว เท่านั้น ซึ่งมันสะท้อนอะไรได้หลาย ๆ อย่าง แต่ หลายฝ่ายทั้งนักวิชาการ คนทำางานต่างก็ยืนยันว่า ยังไงคนไทยก็ต้องพึ่งตนเองในเรื่องการผลิตวัคซีน ให้ได้” ดร.นพ.จรุง กล่าว

“วัคซีนเอดส์” ในวันนี้ยังเป็นเพียงแสง สว่างที่ปลายอุโมงค์ แต่ถ้าหากรัฐบาลให้ความ สำาคัญและหันมาให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ อย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าในอนาคตคน­ไทยจะได้ใช้ วัคซีนเอดส์ที่คิดค้นและพัฒนาโดยคนไท­ยอย่าง แน่นอน อีกทั้งยังสามารถส่งไปขายยังต่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศไทย­ได้อีกด้วย.

บดินทร์ชัย เกรียงไกรชาญ

 ??  ??
 ??  ?? ศ.พญ.พรรณี
ปิติสุทธิธรรม
ดร.นพ.จรุง
เมืองชนะ
ศ.พญ.พรรณี ปิติสุทธิธรรม ดร.นพ.จรุง เมืองชนะ

Newspapers in Thai

Newspapers from Thailand