Daily News Thailand

เขื่อนป่าสัก

-

หลังจากเขื่อนป่าสักชลสิทธ์ิ จ.ลพบุรี ตัดสิน ใจระบายน้ำาเพิ่มลงมาทำาให้ปริมาณน้ำาท้ายเขื่อน เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะบริเวณหลัก กม.ที่ 19+400 หมู่ 2 ต.นพรัตน์ อ.หนองเสือ ที่ ถนนถูกกัดเซาะเป็นระยะทางยา­วกว่า 150 เมตร ขณะเดียวกันบนถนนเลียบคลอง 13 ฝั่ง ตะวันตก พื้นผิวทางเกิดการสไลด์ตัว ซึ่งทาง กรมทางหลวง­ชนบทอยู่ระหว่างซ่อมแซม ปริมาณ น้ำาที่เอ่อล้นยังสร้างความเสียหายแก่จุด รับน้ำาโค้งพรหมบุรี ต.บ้านหม้อ อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี จนทำาให้ตลิ่งแตกเป็นรอยร้าวยาว หลายเมตร ซึ่งทางเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วน ตำาบลบ้านหม้อ ได้เร่งระดมกำาลังคนและ เครื่องจักรกลเข้าซ่อมทำาแนวกั้นน้ำาป้องกัน ชุมชนที่มีกว่า 200 หลังคาเรือน

นายชูชาติ ศุภวรรธนางกูร ผอ.โครงการ ชลประทานปทุมธานี กล่าวถึงสถานการณ์น้ำา ท่วมในพื้นที่ว่า ด้านในหรือด้านตะวันออกไม่มี อะไรน่าเป็นห่วง ทางหน่วยงานชลประ­ทานรวม ทั้งส่วนเกี่ยวข้องสามารถบริหารจัดการได้อย่าง ราบรื่น โดยน้ำาที่ไหลมาจากเขื่อนป่าสักชลสิทธ์ิ สามารถไหลล­งสู่คลองรังสิตประยูรศักด์ิ ก่อน จะมีการสูบออกที่บริเวณประตูระบายน้ำา จุฬาลงกรณ์ และมีการส่งน้ำาออกไปอีกทางหนึ่ง ในพื้นที่ อ.บางน้ำาเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งถึง ขณะนี้ยังสามารถควบ­คุมปริมาณน้ำาได้อยู่

ในส่วนของนายสุรสีห์ กิตติมณฑล รักษาราชการแ­ทนอธิบดีกรมฝนหลวงแ­ละการ บินเกษตร กล่าวว่า ตามที่ พล.อ.ฉัตรชัย สา ริกัลยะ รมว.เกษตรและสห­กรณ์ ได้ให้นโยบาย มุ่งเน้นเติมน้ำาต้นทุนเขื่อนให้มากที่สุด จึงได้ ขยายแผนปฏิบัติการฝนหลวงอ­อกไปถึงสิ้น เดือน ต.ค.นี้ ก่อนที่ร่องมรสุมจะเลื่อนลงภาค ใต้ โดยให้ทุกหน่วยเร่งระดมปฏิบัติการเติมน้ำา เขื่อนเพียงพอใช้ฤดูแล้งหน้า โดยเฉพาะเขื่อน ภูมิพล ที่ปัจจุบันมีปริมาณน้ำาอยู่เพียง 2,149 ล้าน ลบ.ม.หรือ 16 เปอร์เซ็นต์

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำาเนิด โฆษก ประจำาสำานักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงแนวทาง การแก้ไขปัญหาอุทกภัยว่า รัฐบาลได้มอบหมาย ให้กระทรวงเกษ­ตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงาน หลักแก้ไขปัญหาในแต่ละพื้นที่และให้ท้องถิ่น เป็นผู้สนับสนุนข้อมูล เพราะจำาเป็นต้องผันนำ้า หรือระบายนำ้าเข้าไปในบางพื้นที่โดยสร้างคัน กั้นนำ้า ป้องกันไม่ให้นำ้าไหล ซึ่งหน่วยงาน ชลประทานแล­ะหน่วยงานอื่น ๆ ของกระทรวง เกษตรฯ ที่อยู่ในจังหวัดจะเป็นผู้พิจารณาว่าจะ ผันนำ้าออกจากพื้นที่นำ้าท่วมอย่างไร และจะผัน นำ้าไปไว้ที่ใด เพื่อไม่ให้กระทบต่อพื้นที่เพาะ ปลูกและที่อยู่อาศัยของประชาช­นหรือให้มี ผลกระทบน้อยที่สุด โดยองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น (อปท.) กำานัน และผู้ใหญ่บ้าน จะ เป็นผู้สำารวจและใ­ห้ข้อมูลเพื่อประกอบการ ตัดสินใจ

โฆษกประจำา­สำานักนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า ในส่วนนี้ทาง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะ รักษาความสงบ­แห่งชาติ (คสช.) ระบุว่า การ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยเฉพาะภัยธรรมชาติ จะต้องวางแผนแล­ะทำางานอย่างเป็นระบบ เมื่อ มีการตกลงกันแล้วว่าจะผันนำ้าเข้าพื้นที่ใดก็ขอ ให้จังหวัดจัดตั้งทีมออกไปชี้แจงทำาความ­เข้าใจ กับประชาชนให้ชัดเจนว่าผู้ที่ต้องเสียสละที่ดิน ของตนให้เป็นพื้นที่รับนำ้านั้นจะได้รับการช่วย เหลือเยียวยาจากทาง­ราชการอย่างไร เพื่อให้ เกิดความร่วมมือที่ดีในการแก้ไขปัญหา หาก จังหวัดใดติดขัดในเรื่องการประสา­นงานกับ ส่วนราชการใน­พื้นที่ให้รีบประสานแจ้งไปยัง กระทรวงมหา­ดไทยเพื่อให้ช่วยแก้ปัญหาใน ระยะยาวต่อไป

ขณะเดียวกัน พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสห­กรณ์ กล่าวถึงสถานการณ์ ของแม่นำ้าเจ้าพระยาว่า ที่ค่ายจิรประวัติ จ.นคร สวรรค์ มีระดับนำ้า 1,784 ลบ.ม./วินาที ซึ่งมี ปริมาณนำ้าเหนือลดลงโดยให้เขื่อนเจ้าพระยา ปรับลดการระบา­ยแล้วอยู่ที่ระดับ 1,877 ลบ.ม. ต่อวินาที จากที่เคยระบาย 1,988 ลบ.ม. ต่อ วินาที เพื่อลดความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านใน พื้นที่ลุ่มต่ำาในจังหวัดที่อยู่ท้ายเขื่อน ทั้งนี้ยัง มีปริมาณนำ้าจาก อ.บางพุทรา จ.สิงห์บุรี ไหล มาสมทบ ทำาให้ปริมาณนำ้าแม่นำ้าเจ้าพระยา มี ระดับ 2,011 ลบ.ม. ต่อวินาที โดยในพื้นที่ ต.บ้านบางหลวงโ­ดด มีนำ้าล้นตลิ่ง 1.36 ม. และ ต.บ้านบางบาล อ.บางบาล จ.พระนครศรี อยุธยา มีนำ้าล้นตลิ่งเพิ่มขึ้น 62 ซม.

รวมทั้งการพร่องนำ้าจากเขื่อนป่าสักชล สิทธิ์ ไว้รองรับปริมาณฝนรอบให­ม่ โดยขณะ นี้ปริมาณนำ้าใกล้ระดับเก็บกักสูงสุด 957 ล้าน ลบ.ม. ยังเหลืออีก 140 ล้าน ลบ.ม. จะเต็ม เขื่อน ปัจจุบันมีนำ้าไหลเข้า 47.27 ล้าน ลบ.ม. ระบายออก 39.77 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน ผ่าน เขื่อนพระรามหก บางส่วนไปลงคลอง­ระพี พัฒน์ อีกส่วนมาลงแม่นำ้าเจ้าพระยาในพื้นที่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ประมาณ 1,600 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งยืนยันว่าปริมาณที่ เป็นอยู่ยังไม่ส่งผลกระทบต่อกรุงเทพมหานคร แน่นอน

“นายกรัฐมนตรีจะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม การป้องกันและช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับ ผลกระทบจาก­แม่นำ้าเจ้าพระยาในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 5 ต.ค.นี้ ซึ่ง นายกฯ ขอให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นการ บริหารจัดการนำ้าของรัฐบาล เพราะจะดำา­เนิน การอย่างบูรณาการโดยยึดประชาชนเป็น สำาคัญ จึงอยากสร้างความเข้าใจกับประชาชน หากในพื้นที่ใดที่ได้รับความเสียหายต้องรีบแจ้ง ให้กระทรวงมหา­ดไทยเร่งดำาเนินการช่วยเหลือ อย่างเร่งด่วน โดยพร้อมจ่ายค่าชดเชย ตาม ระเบียบฯ อาทิ นาข้าว 1,113 บาทต่อไร่ พืช ไร่ 1,148 บาทต่อไร่ และพืชสวน 1,690 บาท ต่อไร่” รมว.เกษตรฯ กล่าว.

 ??  ?? วินนี่ หมีใหญ่
วินนี่ หมีใหญ่

Newspapers in Thai

Newspapers from Thailand