Daily News Thailand

เพื่อการประมง

-

มาจากพระรา­ชดำาริ ที่ได้รับการ สนับสนุนโดยศูนย์วิจัยและ พัฒนาประมงทะ­เลอ่าวไทย ตอนกลาง (ชุมพร) เล่าให้ฟัง ว่า การทำาประม­งของบ้านเกาะ เตียบ ส่วนใหญ่จะเป็นปูม้าเป็น หลัก เพราะเป็นพื้นที่ที่มีปูม้า อาศัยอยู่มาก เนื่องจากพื้นที่ป่า ส่วนใหญ่เป็นป่าชายเลนและ­มีหญ้าทะเลที่ เหมาะให้ลูกปูได้หลบอาศัย เดิมชาวบ้านจะ จับปูม้าได้ปริมาณมาก ต่อมาจำานวนปูเริ่มลด ลง เนื่องจากทำากา­รประมงมากจ­นธรรมชาติ ไม่สามารถผลิตปูม้าได้ทันตามที่ต้องการ เนื่องจากเมื่อจับปูม้าด้วยเครื่องมือประมง ต่าง ๆ อาทิ อวนลาก อวนรุน สอบและอวน จมปู ชาวบ้านก็จะนำาไปขาย จึงทำาให้โอกาส การขยายพันธุ์ของปูม้าลดลง กระทั่งได้มีการ ไปศึกษาธนาคารปูแสมที่จังหวัดตราด จึงได้นำา แนวคิดนั้นมาประยุกต์เป็นธนาคารปูม้ามาตั้ง แต่ปีพ.ศ. 2545 ซึ่งวิธีการทำาธนาค­ารก็เป็นวิธี การที่ง่ายด้วยวิธีธรรมชาติ คือ นำาแม่ปูม้าที่มี ไข่ติดหน้าท้อง หรือที่เรียกว่า “ไข่นอก กระดอง” มาเลี้ยงในกระชังจนกว่าไข่จะฟัก ออกมาเป็นลูกปูกลับสู่ทะเล

น.ส.จินดา เพชรกำาเนิด นักวิชาการ ประมงชำานา­ญการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมง ทะเลอ่าวไทยตอนกล­าง (ชุมพร) เปิดเผยว่า การดำาเนินงานของโคร­งการฯดังกล่าว ทางศูนย์ วิจัยฯจะให้ความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตของปูม้า ซึ่ง ระยะเวลาที่แม่ปูม้าอยู่ในธนาคารปู สังเกตได้ ง่าย ๆ คือ แม่ปูม้าที่มีไข่แก่ติดหน้าท้องจะมีสี ต่างกันออกไป เนื่องจากไข่แก่ไม่เท่ากัน เช่น ไข่ที่มีสีส้ม-เหลือง ใช้ระยะเวลาอยู่ในธนาคาร ปู 4-7 วัน ไข่ที่มีสีนำ้าตาล ใช้ระยะเวลาอยู่ใน ธนาคารปู 2-4 วัน ไข่ที่มีสีเทา ใช้ระยะเวลา อยู่ในธนาคารปู 1-3 วัน และไข่ที่มีสีดำา ใช้ ระยะเวลาอยู่ในธนาคารปู 1-2 วัน ซึ่งไข่สีดำา คือไข่ที่พร้อมจะฟักออกเป็นตัวอ่อน แม่ปู 1 ตัว สามารถผลิตไข่ได้จำานวน 229,538 -2,859,061 ฟอง โดยวงจรชีวิตของปูจะแบ่ง ดังนี้ คือ ระยะแรกเรียกว่า ระยะโซเอี้ย คือ เป็นไข่ปูม้าที่ถูกฟักออกมาแล้ว อายุ1-10 วัน จะมีปริมาณ 650,000 ตัว ระยะที่ 2 คือ ระยะ เมก้าโลปา คือเป็นลูกปูม้าน้อย ที่มีอายุ10-15 วัน ระยะที่ 3 คือ ระยะยังแครบเป็นลูกปูม้าที่ มีอายุ 15-19 วัน และปูม้าที่สามารถวางไ­ข่ได้ จะมีอายุ 3-5 เดือนนั่นเอง.

 ??  ??
 ??  ??

Newspapers in Thai

Newspapers from Thailand