Daily News Thailand

เรื่อง : โจล แอเคนบาค ภาพ : ฟิลลิป ทอลีดาโน, โรเบิร์ต คลาร์ก, แมกซ์ อากีเลรา-เฮลล์เวก และมาร์ก ทีสเซน นิตยสารเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย เดือนพฤศจิกายน 2559

-

ลอน มัสก์ อยากไปดาวอังคาร คำากล่าวอันลือเลื่องของผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ บริษัทสเปซเอกซ์ (SpaceX) คือเขาอยากตา­ยบนดาว อังคาร และไม่ใช่แค่ยานตกตาย เทคโนโลยีที่อาจช่วย ป้องกันอุบัติเหตุดังกล่าวผ่านการทดสอบ­สำาคัญในคืน หนึ่งเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว เมื่อจรวดฟัลคอน 9 (Falcon 9) ที่สร้างโดยสเปซเ­อกซ์ ทะยานขึ้นจากแหลม คะแนเวอรัลในรัฐฟลอริดา พร้อมบรรทุกดาวเทียม สื่อสาร 11 ดวง

หลังบินขึ้นไม่กี่นาที จรวดเร่ง (booster) ก็ถูก ปลดออก เหมือนกับจรวดเร่งนับพันลำาที่ใช้กันมาตั้งแต่ อรุณรุ่งของยุคอวกาศ ซึ่งเผาไหม้ในบรรยากาศ­และ เหลือชิ้นส่วนตกกระจาย­ในมหาสมุทร แต่จรวดเร่งลำานี้ ไม่ถูกทิ้ง แทนที่จะตกลงไปเฉ­ย ๆ มันกลับหมุนตัว ติด เครื่องเพื่อชะลอการตก­และบินไปหาแท่นลงจอดที่อยู่ ใกล้ พูดให้ง่ายคือมันบินถอยหลัง

บริษัทสเปซเอกซ์เพิ่งบรรลุก้าวย่างสำาคัญใน ความพยายาม­สร้างจรวดใช้ซ้ำาได้ มัสก์คำานวณว่า เทคโนโลยีนี้อาจลดค่าใช้จ่ายในการส่งจรวดลงเหลือหนึ่ง ในร้อย ซึ่งทำาให้สเปซเอกซ์ได้เปรียบในธุรกิจส่งดาวเทียม และการส่งสิ่งอุปกรณ์ (supply) ให้สถานีอวกาศ นานาชาติ แต่นั่นไม่ใช่จุดหมายของมัสก์ เขาบอกในกา­ร แถลงข่าวคืนนั้นว่า การลงจอดขอ­งจรวดเร่งเป็น “ก้าว สำาคัญบนเส้นทางสู่ความสามารถ­ในการจัดตั้งเมืองบน ดาวอังคาร”

บริษัทสเปซเอกซ์ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี2002 ยังไม่เคย ส่งคนไปอวกาศ แต่หวังที่จะเปลี่ยนเรื่องนี้ภายในปีหน้า ด้วยการนำามนุษย์อวกาศของนา­ซาไปยังสถานีอวกาศ ด้วยจรวดฟัลคอน 9 (Falcon 9) บริษัทกำาลังสร้าง จรวดที่ใหญ่ขึ้น ได้แก่จรวดฟัลคอนเฮฟวี (Falcon Heavy) แต่จรวดลำาใหม่ก็ยังไม่ใหญ่พอที่จะนำามนุษย์ไป ดาวอังคารได้ และยังไม่มีวี่แววว่า สเปซเอกซ์ได้พัฒนา เทคโนโลยีอื่นใดที่จำาเป็นต่อการรักษาชีวิตมนุษย์ให้อยู่ รอดและมีสุขภาพดีบนดาวอังคาร หรือในการเดินทาง อันยาวนาน กระนั้น มัสก์ก็ประกาศเมื่อเดือนมิถุนายนที่ ผ่านมาว่า สเปซเอกซ์มุ่งส่งมนุษย์อวกาศชุดแรกไปดาว อังคารในปี 2024 และจะลงจอด­ในปี 2025

องค์การนาซาซึ่งนำามนุษย์ไปลงดวงจันทร์เมื่อปี 1969 และเริ่มสำารวจดาว­อังคารด้วยยานสำารว­จมาตั้งแต่ ก่อนนั้น บอกว่า มีแผนส่งมนุษย์อวกาศไปดาว­อังคารเช่น กัน แต่จะรอจนกระทั่งทศวรรษ 2030 และจะไปโคจ­รรอบ ดาวเคราะห์แดงเท่านั้น นาซายังบอกด้วยว่า งานอันตราย และยากเย็นอย่างการนำายา­นขนาดใหญ่ลงจอดเป็น “เป้า หมายที่ขอบฟ้า” ที่จะลุล่วงในทศวรรษ­ต่อจากนั้น และยัง ไม่มีการพูดถึงเมืองบนดาวอังคารแต่อย่างใด

สิ่งที่นาซาทำานอก­เหนือจากการออก­แบบจรวดไป ดาวอังคารของตนเ­อง คือการทุ่มเทวิจัยเรื่อง การดูแลผู้โดยสาร ตัวอย่างเช่นเมื่อเดือน มีนาคมที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศ สกอตต์ เคลลี และ มีฮาอิล กอร์เนียนโก ชาวรัสเซีย กลับสู่ โลกหลังใช้ชีวิตอยู่บนสถานีอวกาศนาน 340 วัน พวกเขาทำา “ภารกิจหนึ่งปี” โดยเป็นหนูทดลอง ในการศึกษาว่า การอยู่ในอวกาศเป็นเวลานาน (เที่ยวบินไปกลับดาวอังคารใช้เวลาเกือบสามปี) จะมีผลต่อร่างกายและจิตใจมนุษย์อย่างไร

ภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดให้ภาพความสนุก ของสภาพไร้น้ำาหนัก แต่การสัมภาษณ์เคลลีกับ กอร์เนียนโกจากสถา­นีอวกาศเผยให้เห็นอีกแง่ หนึ่ง หน้าพวกเขาบวม­เพราะเลือดไม่ไหลลง มนุษย์อวกาศต้องทำาตัวให้ชินกับการยึดร่างกาย เข้ากับส้วมดูด และแม้แต่การเช็ดตัวด้วยผ้า หมาดตลอดทั้งปี ในการเดินทางไปดาวอังคาร ซึ่งไกลและอันตรายกว่ามาก สิ่งที่อวกาศกระทำ­าต่อ ร่างกายมนุษย์อาจเป็นปัญหามหึมา “พวกเขาจะป่วย เมื่อ ไปถึงค่ะ” เจนนิเฟอร์ โฟการ์ตี รองหัวหน้านัก วิทยาศาสตร์ในโครงการวิจัยมนุษย์ที่ศูนย์อวกาศจอห์นสัน ขององค์การนาซาในเ­มืองฮิวสตัน บอก

กระดูกจะสลายตัวในความโน้มถ่วงเป็นศูนย์ กฎ ทั่วไปคือคุณจะเสียมวลกระดูกร้อยละหนึ่งต่อเดือน การ ออกกำาลังกายอย่างหนักช่วยได้ แต่อุปกรณ์ใหญ่โตที่ ใช้บนสถานีอวกาศหนักเกินไปสำาหรับภารกิจดาวอังคาร มนุษย์อวกาศบางคน­บนสถานีอวกาศมีอาการตาพร่า อย่างหนัก น่าจะเพราะขอ­งเหลวที่สะสมในสมอง­ไปกด ดวงตา รูปการณ์ในฝันร้ายคือการที่มนุษย์อวกาศลงจอด บนดาวอังคารด้วยสายตาพร่ามัวและกระดูกเปราะ แล้ว เกิดขาหักทันที

รังสีคือภัยอีกชนิดหนึ่ง สถานีอวกาศมีสนามแม่ เหล็กโลกช่วยปกป้องได้มาก แต่ในการเดินทางสู่ดาว อังคาร มนุษย์อวกาศจะเสี่ยงต่อรังสีจากการลุกจ้าของ ดวงอาทิตย์และรังสีคอสมิก รังสีคอสมิกสามารถทำา­ลาย ดีเอ็นเอและเซลล์สมอง ซึ่งหมายความว่ามนุษย์อวกาศ อาจไปถึงดาวอังคารในสภาพ­โง่ลงเล็กน้อย สิ่งหนึ่งที่เป็น ไปได้คือ การหุ้มส่วนอยู่อาศัย (habitat module) ใน ยานด้วยชั้นน้ำาหนา หรือต้นไม้ที่ปลูกในดิน เพื่อเป็นฉาก กั้นรังสีส่วนหนึ่ง

เพียงแค่การจัดหาน้ำาดื่มและอากาศห­ายใจให้ มนุษย์อวกาศอย่างเพียงพอก็เป็นความท้าทาย วันหนึ่งที่ ศูนย์อวกาศจอห์นสัน ผมพบ เคนนี ทอดด์ ตำาแหน่งของ เขาเรียกว่า ผู้จัดการบูรณาการปฏิบัติการสถานีอวกาศ เขาอยู่ที่สำานักงานข้ามคืนเพื่อคอยดูแลเที่ยวบินส่ง สัมภาระหนึ่งในหลายเที่ยวที่ไม่ปรากฏเป็นข่าว แต่มีความ สำาคัญขั้นวิกฤติ

น้ำาบนสถานีอวกาศบางส่วนมาจากปัสสาวะและ เหงื่อที่กรองและนำา­กลับมาใช้ใหม่ แต่ตัวกรองอาจถูกอุด ตันด้วยแคลเซียมจากกระดูกที่ผุกร่อนของมนุษย์อวกาศ และบางทีน้ำาก็มีจุลชีพปนเปื้อน “การทำางานกับปัสสาวะ มีแต่เรื่องจุกจิกมากครับ” ทอดด์บอก ตัวฟอก คาร์บอนไดออกไซ­ด์จากอากาศก็เสียได้เหมือนกัน เช่น เดียวกับอุปกรณ์เกือบทุกอย่างบนสถานี ในวงโคจรใก­ล้ โลก สิ่งเหล่านี้ไม่สำาคัญนัก เพราะนาซาส­ามารถส่งอะไหล่ ขึ้นไปทดแทนได้ ยานอวกาศไป­ดาวอังคารจะนำาเ­ฉพาะ อะไหล่เท่าที่มันบรรทุกไปได้ ทอดด์บอกว่า อุปกรณ์ช่วย ชีวิตทั้งหมดจึงต้องไว้ใจได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันยิ่ง ขึ้นไปอีก หรือเท่ากับห้ามเสียนั่นเอง

นั่นไม่ได้แปลว่าเขาไม่ต้องการส่งคนไปดาว อังคาร และไม่ได้วิจารณ์นักฝันที่พร้อมจะขึ้นจรวด “คุณ ต้องเริ่มที่ไหนสักแห่ง คุณต้องเริ่มที่การฝัน และบางทีใน ฝันนั้น อะไรก็เป็นจริงได้” ทอดด์บอก.

 ??  ??

Newspapers in Thai

Newspapers from Thailand