Daily News Thailand

ช้างแอฟริกา

- เลนซ์ซูม

นักอนุรักษ์มีความหวังกับรายงาน เรื่องการเพิ่มขึ้นของจ�านวนประชาก­รช้าง แอฟริกา และอัตราการล่าที่ลดลง อันเป็น ผลมาจากควา­มพยายามของ­หน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง ซึ่งดูเหมือนจะเป็นสัญญาณที่ดี รวมถึง การออกกฎหม­ายที่เข้มงวดในหลาย­ประเทศ เพื่อยับยั้งการค้าอันเป็นแรงกระตุ้นให้เกิด การล่า

หนึ่งในโครงการ­ที่เผยให้เห็นความคืบ หน้าสา�คัญคือปฏิบัติการในเขตอนุรักษ์เซโลส กาเมของแทน­ซาเนีย พื้นที่ที่เรียกได้ว่าเป็น “กราวนด์ ซีโร่” ของการล่า ซึ่งหมายความ ว่านี่คือจุดหนึ่งที่เกิดการล่าอย่างรุนแรงมาก ที่สุดของแอฟริกา

ทีมงานได้ใช้เวลาร่วมปีในการใส่ ปลอกคอติดตามตัวด้วยระบบจีพีเอสซึ่งมีน้า� หนักราว 12 กิโลกรัม ให้กับช้าง 60 ตัว ทั้ง ในและพื้นที่โดยรอบเขตอ­นุรักษ์แห่งนี้ ซึ่ง หากสามารถค­วบคุมการล่าในแทนซาเนียได้ ก็ยังพอมีหวังได้ว่าจะยับยั้งการล่าที่เกิดขึ้นใน บริเวณอื่นของแอฟริกาได้

อย่างไรก็ตาม แม้จ�านวนการล่าดู เหมือนจะลดลงขณ­ะที่จา�นวนประชากร­ช้าง เพิ่มขึ้นในเขตอนุรักษ์แห่งนี้ แต่ผู้เชี่ยวชาญ มองว่า มันยังคงเร็วไปที่จะกล่าวได้ว่าสถาน การณ์ได้กลับพลิกฟื้นคืนมาแล้ว เพราะนักล่า ได้เปลี่ยนเป้าหมายย้ายท�าเลไปที่อื่น ขณะ เดียวกันก็ยังมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการล่า เพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย โดยได้อานิสงส์ของ ช่องโหว่ที่เกิดจากการทุจริต

อัตราการสูญเสียยังคงล้�าหน้าอัตรา การเกิดใหม่อยู่ไกลโข นอกจากนี้ ถิ่นที่อยู่ อาศัยของช้างยังถูกรุกรานอย่างหนักจากการ ขยายพื้นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ คริส โธเลส ผู้เชี่ยวชาญจากอง­ค์กรเซฟดิเอเลเฟ่นใน เคนยาซึ่งเป็นประเทศที่มีจ�านวนประชาก­ร ช้างเพิ่มขึ้น กล่าวว่า ยังอีกไกลกว่าจะถึงจุด ที่จะพอวางใจไ­ด้

หลายประเทศ­ยกระดับมาตรการทา­ง กฎหมายเพื่อเข้มงวดเรื่องการลักลอบค้าสัตว์ ป่า โดยเฉพาะกลุ่มงาช้างและนอแรด โดย สหรัฐได้มีการแบนงาช้างมาตั้งแต่ปี 2559 ยกเว้นชิ้นที่มีอายุเกินกว่า 100 ปี ขณะที่จีน และอังกฤษห้ามไม่ให้มีการค้าขายงาช้าง

ประชากรช้างในแอฟริกาลดลงจาก จา�นวนหลายล้านตัวเมื่อช่วงปี 2443 มาอยู่ที่ อย่างน้อย 415,000 ตัว ในปัจจุบัน กฎหมาย ห้ามไม่ให้มีการค้าขายงาช้างในเชิงพาณิชย์ ระหว่างประเทศเริ่มน�ามาบังคับใช้เมื่อราวปี 2533 แต่การค้าขายงาช้างภายในประ­เทศบาง ประเทศยังคงกระทา�ได้

หนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโต ของการล่า คือความต้องการของตล­าดงาช้าง ในจีน รายงานระบุว่า ช้างสะวันนาแอฟริกา ลดจา�นวนลงราวร้อยละ 30 ระหว่างปี 25502557 มาอยู่ที่ราว 352,000 ตัว ส่วนใน แทนซาเนีย ข้อมูลจากรัฐบาลเผยว่า ประชากร ช้างลดลงร้อยละ 60 มาอยู่ที่ 43,000 ตัว ระหว่างปี 2552-2557 โดยการล่าส่วนใหญ่ เกิดขึ้นในเขตเซโล­สและมิคูมิ

อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าอัตราการ ล่าชะลอตัวลง โดยจ�านวนของเมื่อปีที่แล้ว มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 20 ของตัวเลขเมื่อ 4 ปีก่อน ขณะที่ในภาพรวมขอ­งการล่าช้าง แอฟริกา อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่าง ประเทศเกี่ยวกับชนิดพันธ์ุพืชป่าและสัตว์ป่า ที่ใกล้สูญพันธ์ุ หรือไซเตส เผยว่า ตัวเลขลด ลงไปอยู่ในระดับเดียวกับเมื่อช่วงก่อนปี 2551 ก่อนที่มันจะพุ่งถึงจุดสูงสุดในปี 2554

แม้จะเป็นแนวโน้มที่ดี แต่ผู้เชี่ยวชาญ ชี้ว่า นั่นเป็นผลมาจากกา­รที่จา�นวนช้างเหลือ ไม่มากพอสา�หรับการล่า ในภูมิภาคเซโลสขอ­ง แทนซาเนีย ช้างบางกลุ่มขยายพื้นที่หากินออก ไปไกลเกินกว่าบริเวณที่เป็นพื้นที่คุ้มครอง ซึ่ง ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่พวกมันจะถูกล่า

ขณะเดียวกัน ความเข้มงวดของ กฎหมายที่เพิ่มขึ้นทุกวันกลับยิ่งท�าให้เกิด การกักตุนสินค้า และยังมีการปรับเปลี่ยนรูป แบบการค้า โดยเฉพาะใน­ส่วนของงาช้างที่ถูก แปรรูปเป็นเครื่องประดับชิ้นเล็กซึ่งทา�ให้ยาก ต่อการตรวจจับ

ถึงกระนั้น พื้นที่ป่าอันกว้างใหญ่ของ แทนซาเนียนับเป็นหนึ่งในความหวังและ อนาคตของสัตว์สายพันธ์ุนี้ เอ็ดวาร์ด โคฮี จากสถาบันวิจัยสัตว์ป่าแทนซาเนีย กล่าวว่า มันจะกลายเป็นเขตอนุรักษ์ช้างที่ส�าคัญใน อนาคตอีก 50-100 ปี นับจากนี้ ซึ่งอัตรา การเติบโตของประช­ากรมนุษย์เพิ่มสูงอย่าง รวดเร็ว.

 ??  ??

Newspapers in Thai

Newspapers from Thailand